พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องควบคู่กับการอุทธรณ์คำพิพากษา หากไม่อุทธรณ์เนื้อหาคำพิพากษาด้วย อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณานอกจากจะอุทธรณ์ได้เมื่อศาลพิพากษาแล้ว จะต้องมีการอุทธรณ์คำพิพากษานั้นด้วย ซึ่งหมายความว่า ผู้อุทธรณ์นอกจากจะโต้แย้งว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ชอบอย่างไรแล้ว จะต้องโต้แย้งในเนื้อหาของคำพิพากษาว่าไม่ถูกต้องอย่างไรด้วย โดยในส่วนหลังนี้ต้องบรรยายให้ได้ความครบถ้วนตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง จึงจะเป็นอุทธรณ์ที่จะพึงรับไว้พิจารณา ซึ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำในอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์โต้แย้งแต่เพียงว่าศาลชั้นต้นไม่ควรงดสืบพยานเพียงประการเดียว แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า เนื้อหาคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ขัดกับข้อเท็จจริงหรือขาดข้อเท็จจริงใดที่สมควรจะมีอยู่ หรือมีข้อกฎหมายสารบัญญัติใดที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาจบรรยายว่าพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนัก หรือหากมีการสืบพยานต่อไป พยานโจทก์จะมีน้ำหนักพอให้ลงโทษจำเลยได้เพราะอย่างไร เป็นต้น ดังนี้ กรณีฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทร้างถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน ไม่ต้องชำระบัญชี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัทผู้ร้องเป็นบริษัทร้างซึ่งนายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียน ตามมาตรา 1273/3 แห่ง ป.พ.พ. บริษัทผู้ร้องย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนโดยผลแห่งกฎหมาย และเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 6 ว่าด้วยการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้างมิใช่การเลิกบริษัทที่จะต้องมีการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วนที่ 8 ซึ่งจะต้องดำเนินการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 5 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทผู้ร้องจึงไม่ถูกต้อง หลังจากนั้นผู้คัดค้านยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ทำให้คดีกลับเข้ามาสู่การพิจารณาของศาลอีก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ดังกล่าว เมื่อความปรากฏต่อศาลฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทผู้ร้องนั้นเสียได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ผู้คัดค้านย่อมมิใช่ผู้มีส่วนได้เสีย หามีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4129/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จ-ฟ้องเท็จ: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพัน-ขาดเจตนา-ไม่มีมูลฟ้อง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 เป็นเรื่องที่ผู้กระทำความผิดนำเอาความอันเป็นเท็จไปเบิกความต่อศาลในคดีใดคดีหนึ่งซึ่งความเท็จนั้นต้องเป็นข้อสำคัญแก่คดีที่เข้าเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกความอันเป็นเท็จไว้ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.1554/ 2562 ของศาลชั้นต้น แล้วจำเลยที่ 3 นำคําเบิกความที่จำเลยที่ 1 เคยเบิกความอันเป็นเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว ไปยื่นในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.242/2563 ของศาลชั้นต้น โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าเบิกความรับรองยืนยันข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือว่า ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: หน่วยงานรัฐรับผิดละเมิดเจ้าหน้าที่ – ผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
การที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้วมาฟ้องคดีนี้ แม้จำเลยที่ 2 คดีนี้และจำเลยในคดีก่อนจะเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน แต่จำเลยในคดีก่อนและจำเลยที่ 2 คดีนี้ ต่างเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ พ. (จำเลยซึ่งในคดีนี้) เป็นเจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของ พ. ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน และในคดีก่อนได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม ศาลมีอำนาจออกหมายบังคับคดีแม้คำขออาจไม่ถูกต้องสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแก่จำเลยทั้งสี่ได้ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 โจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีทั้งเป็นศาลที่มีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีรวมตลอดถึงมีอำนาจในการทำคำวินิจฉัยชี้ขาดหรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี ต่อมาศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 ตามหมายบังคับคดีมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำพิพากษาซึ่งจะขอให้มีการบังคับคดี จำนวนที่ยังไม่ได้รับชำระตามคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีซึ่งขอให้ออกหมายนั้น รวมตลอดถึงหมายเลขคดี ชื่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี และชื่อคู่ความทั้งหมดถูกต้องครบถ้วนตรงตามสำนวนคดีนี้ จึงเชื่อว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจสอบคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ และได้ออกหมายบังคับคดีโดยถูกต้องแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามอ้างว่าคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่ใช่คำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีในสำนวนคดีนี้นั้น สำเนาคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในสำนวนคดีนี้ ทั้งหากจะฟังว่าโจทก์ยื่นคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีผิดพลาดไป ก็พอเข้าใจเจตนาของโจทก์ได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในสำนวนคดีนี้ มิใช่ประสงค์ที่จะบังคับคดีเอาแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นจำเลยในสำนวนคดีอื่น การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์ในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นใช้อำนาจออกหมายบังคับคดีตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว โดย ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่งตอนท้ายบัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งตามที่เห็นสมควรได้ โดยไม่จำต้องสั่งยกคำขอหรือให้โจทก์แก้ไขคำขอออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียก่อน ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาต้องระบุข้อเท็จจริง เหตุผลการวินิจฉัย หากไม่ครบถ้วน ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ศาลแรงงานจะต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นหนังสือ และต้องมีส่วนสำคัญ 3 ประการ ประการแรก ต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาจะได้นำข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานได้ฟังไว้นั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายต่อไปหากมีการอุทธรณ์หรือฎีกาในประเด็นนั้น ประการที่สอง จะต้องแสดงคำวินิจฉัยให้ปรากฏตามประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานจดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง และประการที่สาม คำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางนำมาใช้วินิจฉัยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางอ้างถึงเหตุต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้รับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาอย่างชัดแจ้ง คงปรากฏเฉพาะเพียงการนำคำพยานโจทก์และพยานจำเลยมาเรียงต่อกัน แล้วศาลแรงงานกลางวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย โดยไม่ปรากฏถึงเหตุผลของคำวินิจฉัยว่ามีข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดขึ้นจริงหรือไม่ และเหตุใดศาลแรงงานกลางจึงเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยเช่นนั้น คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเช่นนี้ จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาในการรับฟังพยานหลักฐาน และเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด ต้องบังคับตามความเป็นจริงของพื้นที่ครอบครองจริง ไม่ยึดติดกับรูปแผนที่พิพาทที่ไม่ถูกต้อง
ในชั้นเดิมที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดโดยตรง เพื่ออธิบายว่ากรณีจะต้องบังคับตามรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.3 และ จ.20 หรือต้องบังคับให้มีเนื้อที่ 326 ตารางวา เพื่อที่จะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่คำร้องในชั้นนี้เป็นการร้องขอให้ศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นกำหนดวิธีการบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบมาตรา 360 ตามลำดับชั้นศาล จึงเป็นคนละกรณีกัน คำร้องในครั้งก่อนศาลฎีกายังไม่ได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวด้วยการบังคับคดีในการรังวัดแบ่งแยก การยื่นคำร้องของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป
การบังคับคดีให้เป็นไปโดยถูกต้องตรงความเป็นจริง ไม่เป็นการแก้ไขคำพิพากษาอันถึงที่สุดในสาระสำคัญซึ่งจะเป็นผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไป