พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,003 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่ได้โอนทะเบียน การนำรถไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลักทรัพย์
โจทก์ร่วมตกลงซื้อรถยนต์ตู้กับจำเลยในราคา 310,000 บาท ซึ่งในสัญญาข้อ 3 ระบุว่า จำเลยตกลงรับชำระราคารถยนต์จำนวน 200,000 บาท ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ส่วนจำนวนที่เหลือจะชำระให้จำเลยในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้แต่ประการใดจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453, 458
ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้คันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
(ประชมใหญ่ครั้งที่ 9/2553)
ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ตู้คันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับให้ชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์แก่จำเลยเพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
(ประชมใหญ่ครั้งที่ 9/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9603/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนทันทีเมื่อทำสัญญาซื้อขาย แม้ยังไม่ชำระเงินครบ การนำรถยนต์ไปโดยพลการถือเป็นการลักทรัพย์
โจทก์ร่วมซื้อรถยนต์ตู้จากจำเลยในราคา 310,000 บาท จำเลยรับชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2540 สัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้ย่อมโอนให้แก่โจทก์ร่วมตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และ 458 แม้จะได้ความว่าโจทก์ร่วมยังค้างชำระค่ารถยนต์ตู้อยู่ก็ตาม หากโจทก์ร่วมเพิกเฉยไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าว ถือว่าโจทก์ร่วมผิดสัญญา จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีทางแพ่งเพื่อขอให้โจทก์ร่วมชำระหนี้ให้ครบถ้วน จำเลยหามีสิทธิที่จะติดตามเอารถยนต์ตู้คันที่ขายไปนั้นคืนมาโดยพลการได้ไม่
การที่จำเลยบอกกับ ท. ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท. มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท. มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553
การที่จำเลยบอกกับ ท. ซึ่งเป็นเพียงคนขับรถยนต์ตู้ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ร่วมว่าจะมาเอารถยนต์ตู้ไป ท. มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตู้และมิใช่ผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมให้จำเลยกระทำการเช่นนั้น จึงเป็นการบอกกล่าวให้รับทราบเท่านั้น และ ท. มิได้มอบกุญแจรถยนต์ตู้เพื่อให้จำเลยนำรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยขับรถยนต์ตู้ไปจากที่จอดรถ จึงเป็นการเอารถยนต์ตู้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไปโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยจะอ้างว่าสืบเนื่องมาจากโจทก์ร่วมไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างก็ตาม แต่ก็เป็นการใช้อำนาจบังคับชำระหนี้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ร่วมค้างชำระราคารถยนต์เพียงประมาณ 20,000 บาท แต่จำเลยจะให้โจทก์ร่วมชำระเงินแก่จำเลยถึง 100,000 บาท ดังนั้น การที่จำเลยเอารถยนต์ตู้ไปจากโจทก์ร่วมเพื่อเรียกร้องให้โจทก์ร่วมชำระหนี้นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2553
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9421/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลความคำพิพากษาให้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายเฉพาะส่วนและการบังคับคดี
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ระบุให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด และการแปลหรือตีความคำพิพากษาของศาลที่มีใจความว่า ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ให้โจทก์จำเลยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและให้โจทก์ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยภายใน 30 วัน นับแต่วันฟังคำพิพากษานั้น ถูกต้องตรงตามสาระสำคัญของสัญญาอันเป็นการซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนไม่ใช่เป็นการซื้อขายที่ดินทั้งแปลงการแปลหรือตีความคำพิพากษาดังกล่าวมุ่งหมายเพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้ถูกต้องโดยไม่มีผลเป็นการแก้เนื้อหาคำวินิจฉัยเดิมของศาลชั้นต้นและไม่ใช่เป็นกรณีที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป แม้คำพิพากษาดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่การแปลคำพิพากษาที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และเป็นการแก้ไขมาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับหลัง สัญญาเป็นอันสิ้นผลเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีความเข้าใจตรงกันและมีเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันว่า ถ้าการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิก มิได้หมายความถึงว่าต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท ย. ก่อน จึงจะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิกดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การที่ข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่าหากการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นสินค้าของโจทก์ให้ถือว่าใบสั่งสินค้าเป็นอันยกเลิกนั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง เมื่อต่อมาการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูก ปรส. ชำระบัญชี ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะการประมูล
พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา16 (3) บัญญัติให้คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. มีอำนาจหน้าที่กำหนดวิธีการชำระบัญชีและขายทรัพย์สินของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ซึ่งต่อมา ปรส. ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 (3) แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ออกประกาศลงวันที่ 2 มิถุนายน 2541 เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการขายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินที่ไม่อาจแก้ไขหรือฟื้นฟูฐานะหรือการดำเนินงานได้จำนวน 56 ซึ่งสินเชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม ซี ซี จำกัด (มหาชน) เป็นสินทรัพย์หลักของบริษัทหนึ่งในจำนวน 56 บริษัทดังกล่าว และประกาศดังกล่าว ข้อ 2.1 ระบุว่าการจำหน่ายสินทรัพย์หลัก ให้กระทำโดยวิธีเปิดเผย หรือวิธีการอื่นตามที่ ปรส. กำหนด เมื่อพิจารณาประกาศดังกล่าวต่อไปมีข้อความระบุถึงผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์หลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ 3.2 ระบุว่า ผู้ประมูลและผู้ซื้อสินทรัพย์หลักต้องมีฐานะและสิทธิตามกฎหมายและมีศักยภาพทางการเงินเหมาะสมเพียงพอแก่การเข้าร่วมกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์ โดยที่ ปรส. มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลและผู้ซื้อ และในข้อ 4.1.5 (2) ระบุว่า หากผู้ชนะการประมูลต้องการโอนสิทธิที่จะทำสัญญาขายมาตรฐานให้ผู้อื่น ผู้ชนะการประมูลจะต้องให้การค้ำประกันที่ไม่อาจเพิกถอนได้ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำสัญญาขายมาตรฐาน ความข้อนี้สอดคล้องกับสัญญาซื้อขายข้อ 13 (8) ที่ว่า ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องร่วมการประมูลและไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชนะการประมูล อีกทั้งผู้ซื้อเพียงแต่รับมอบสิทธิที่จะเข้าทำสัญญาซื้อขายเท่านั้น โจทก์จึงสามารถเข้าเป็นผู้ซื้อในสัญญาซื้อขาย ที่ทำกับ ปรส. ได้ โดยสัญญาซื้อขายดังกล่าวรวมถึงการขายสินเชื่อที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ค้างชำระแก่บริษัทเจ้าหนี้เดิมด้วย อีกทั้งในขณะทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวโจทก์จดทะเบียนมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มต้นเมื่อพ้น 120 วันจากวันที่ทำสัญญาซื้อขาย
หลังจากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์ทั้งสองแล้ว จึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองไปรับเงินค่าทดแทนซึ่งปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองตกลงยอมรับเงินดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลงยินยอมระหว่างผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนกับเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายสระบุรี - หนองคาย (เขตแดน) ตอนเลี่ยงเมืองนครราชสีมาฯ ฉบับลงวันที่ 1 เมษายน 2540 อันถือว่าวันที่ทำสัญญาซื้อขายคือวันที่ 1 เมษายน 2540 ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: เจตนาในการโฆษณาถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา แม้ไม่มีข้อตกลงระบุชัดเจน
ในโครงการอาคารชุด ร. จำเลยจัดทำภาพจำลองอาคารและแผ่นโฆษณาระบุว่าจำเลยจะก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถของอาคารชุดเพื่อจูงใจลูกค้าให้ซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่จำเลยประกาศโฆษณาอันมีผลทำให้โจทก์ผู้จะซื้อเข้าใจได้ในขณะทำสัญญาว่าจำเลยตกลงจะดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดโดยมีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถควบคู่ไปกับการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าด้วย การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและขอเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วคืน ก็เพราะจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่และอาคารศูนย์การค้าตามที่จำเลยได้พรรณนาไว้ การทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างจำเลยผู้จะขายกับโจทก์ผู้จะซื้อเกิดจากเจตนาของจำเลยที่เสนอจะก่อสร้างอาคารชุดที่จะขายติดกับอาคารศูนย์สรรพสินค้าในโครงการอาคารชุดและโจทก์แสดงเจตนาสนองรับเข้าทำสัญญาเพราะเห็นว่าห้องชุดที่จะซื้อมีอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่อยู่ติดกับอาคารชุดนั้น อันจะทำให้โจทก์ได้รับความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าต่างๆตามที่ต้องการและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ดังนี้ แม้ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจะไม่ได้ระบุข้อความว่าจำเลยต้องก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดและก่อสร้างศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด แต่จำเลยก็ต้องผูกพันและมีหน้าที่ต้องก่อสร้างสระว่ายน้ำและศูนย์สรรพสินค้าดังกล่าวตามเจตนาที่เสนอโดยประกาศโฆษณาไว้ต่อโจทก์ เพราะแผ่นโฆษณาแสดงภาพจำลองอาคารชุดและอาคารศูนย์สรรพสินค้าถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย
เมื่อปรากฏตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยผู้จะขายตกลงว่าจะพยายามดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จภายในปี 2541 ในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผลความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยยอมที่จะคืนเงินที่โจทก์ผู้จะซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อเมื่อจำเลยยังดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าไม่เสร็จและมิได้ก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยแล้วให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่โจทก์กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จึงเท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินอันจะต้องใช้คืนนั้นนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยได้รับไว้นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2545 อันเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 อันเป็นวันผิดนัดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ 246 และ142
เมื่อปรากฏตามสัญญาจะซื้อจะขายว่า จำเลยผู้จะขายตกลงว่าจะพยายามดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดพร้อมจดทะเบียนอาคารชุดให้เสร็จภายในปี 2541 ในกรณีที่จำเลยผู้จะขายไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผลความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยยอมที่จะคืนเงินที่โจทก์ผู้จะซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อเมื่อจำเลยยังดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าไม่เสร็จและมิได้ก่อสร้างสระว่ายน้ำขนาดใหญ่บนลานจอดรถของอาคารชุดภายในกำหนดเวลาตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุความล่าช้าที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจำเลย จำเลยจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยแล้วให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่โจทก์กลับมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระแก่จำเลยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือ จึงเท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องให้จำเลยชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินอันจะต้องใช้คืนนั้นนับแต่เวลาที่จำเลยได้รับไว้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2545 แต่จำเลยเพิกเฉย จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยได้รับไว้นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 กันยายน 2545 อันเป็นวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2545 อันเป็นวันผิดนัดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบ 246 และ142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าโฆษณาที่ไม่สมบูรณ์ และผลของการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด
หนี้ที่จะหักกลบลบหนี้กันได้นั้นต้องเป็นหนี้อย่างเดียวกัน และต้องเป็นหนี้ที่ไม่มี ข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 344 พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างได้แก่ใบเสร็จรับเงินซึ่งโดยปกติเป็นเอกสารแสดงการรับเงิน จึงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ ส่วนใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้เป็นเอกสารที่บริษัท ท. มีไปถึงจำเลย จึงเป็นหลักฐานที่แสดงว่าหนี้ค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นหนี้ที่จำเลยพึงชำระแก่บริษัท ท. โดยเฉพาะเจาะจง มิได้พึงชำระให้แก่โจทก์ แม้โจทก์และบริษัท ท. เป็นบริษัท ในเครือเดียวกัน แต่ก็เป็นนิติบุคคลคนละรายกันตามกฎหมาย หากจะมีการโอนหนี้ของ บริษัท ท. ให้แก่โจทก์ก็จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวไปยังจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ หรือจำเลยต้องยินยอมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำ ดังกล่าว และที่โจทก์อ้างว่ามีการสรุปยอดหนี้กันแล้ว คงเหลือจำนวนเงินที่โจทก์จะต้อง ชำระให้แก่จำเลยอีก 257,000 บาท ก็เป็นเพียงเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ส่วนที่โจทก์อ้างว่า พนักงานของจำเลยส่งโทรสารไปยังโจทก์แจ้งว่าโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 574,000 บาท ก็ปรากฏในเอกสารดังกล่าวว่ามีผู้ลงนาม ในตอนท้ายเป็นชื่อเล่นว่า ม. โดยไม่ปรากฏว่ามีชื่อจำเลยอยู่ และไม่ปรากฏว่าส่งไปจากที่ใด ส่วนจำเลยนำสืบปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าจำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้ทำโฆษณา แสดงว่าจำเลยยังมีข้อต่อสู้ในเรื่องหนี้ค่าโฆษณาที่โจทก์จะขอหักกลบลบหนี้กับจำเลย โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ค่าโฆษณาของบริษัท ท. ไปหักกลบลบหนี้กับเงินที่โจทก์จะต้องชำระ ในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่พร้อมในการโอนกรรมสิทธิ์และการคืนเงินมัดจำในสัญญาซื้อขาย
จำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2546 อันเป็นวันนัดโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินส่วนที่เหลือ จำเลยทั้งสองอยู่ในสภาพพร้อมที่จะโอนทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และได้ไปที่สำนักงานที่ดินจริง ทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทจึงยังติดจำนองอยู่กับธนาคาร จำเลยทั้งสองไม่มีความพร้อมที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ได้ หากโจทก์สามารถนำเงินส่วนที่เหลืออยู่มาชำระได้ในวันดังกล่าว อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาต่างตอบแทนที่จะมีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระหนี้ตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงความพร้อมในส่วนของตนย่อมไม่อาจอ้างเอาแต่เพียงวันที่กำหนดในสัญญามาเป็นประโยชน์แก่ตนได้
เมื่อเลยกำหนดวันนัดโอนแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงให้โจทก์ชำระเงินค่างวดแก่ธนาคารแทนต่อมาอีกถึง 3 งวด แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ยึดถือเอาวันนัดโอนในสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หลังจากโจทก์ชำระเงินค่างวดแทนจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจะต้องกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปรับโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จำเลยทั้งสองจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาโดยถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 อันจะเป็นเหตุให้มีสิทธิริบเงินมัดจำของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้นำทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์
เมื่อเลยกำหนดวันนัดโอนแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงให้โจทก์ชำระเงินค่างวดแก่ธนาคารแทนต่อมาอีกถึง 3 งวด แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ยึดถือเอาวันนัดโอนในสัญญาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ดังนั้น หลังจากโจทก์ชำระเงินค่างวดแทนจำเลยทั้งสองครั้งสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะเลิกสัญญา จำเลยทั้งสองจะต้องกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระเงินส่วนที่เหลือและไปรับโอนกรรมสิทธิ์ หากโจทก์ไม่ดำเนินการภายในกำหนด จำเลยทั้งสองจึงจะสามารถบอกเลิกสัญญาโดยถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 อันจะเป็นเหตุให้มีสิทธิริบเงินมัดจำของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยทั้งสองได้นำทาวน์เฮาส์และที่ดินพิพาทไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนจำเลยทั้งสองพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3701/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินส่วนต่างราคาที่ดินจากการรังวัด ไม่ถือเป็นการผิดสัญญาซื้อขาย และสิทธิเรียกร้องค่าปรับ
ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่าหลังจากโจทก์ทราบผลการรังวัดที่ดินพิพาทที่รับโอนมาว่ามีเนื้อที่น้อยกว่าที่ระบุในสัญญาและได้ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว และฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 26 คืนเงินตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามส่วน จำเลยที่ 1 ได้นำเงินไปคืนให้โจทก์แล้ว แม้จะส่งคืนล่าช้าหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่โจทก์ทวงถามก็เป็นเรื่องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามหนังสือทวงถามซึ่งจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 26 ผิดสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาได้ เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้วคดีสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยไม่สืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบแล้ว