คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: ศาลฎีกาแก้คำสั่งอนุญาตเลิกจ้างเป็นลงโทษภาคทัณฑ์เนื่องจากความผิดไม่ร้ายแรง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้องตำแหน่งซ่อมงาน แผนกบรรจุหีบห่อ และเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ให้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และตรวจคุณภาพของผ้า แม้งานที่ผู้ร้องสั่งให้ทำไม่ใช่งานในหน้าที่ของผู้คัดค้านโดยตรง แต่เป็นงานที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างอาจมอบหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างทำได้เป็นการพิเศษ การที่ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ผู้ร้องไม่ได้กำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
โทษทางวินัยของผู้ร้องมี 4 ขั้น คือภาคทัณฑ์ พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ปลดออก และเลิกสัญญาจ้าง เมื่อความผิดทางวินัยของผู้คัดค้านไม่ถึงกับเป็นความผิดร้ายแรง จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านอันเป็นโทษขั้นสูงสุด แต่เห็นสมควรให้ผู้ร้องลงโทษภาคทัณฑ์ผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ชัดเจน นายจ้างต้องระบุเหตุผลการเลิกจ้างอย่างละเอียด จึงจะสามารถอ้างเหตุในภายหลังได้
โจทก์ระบุเหตุในหนังสือเลิกจ้างไว้เพียงว่าจำเลยที่ 2 ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นพนักงาน ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างว่าการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 นั้นประพฤติตนในรายละเอียดอย่างไรจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่งจนถึงเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 เมื่อโจทก์ไม่ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยที่ 2 มีสัมพันธ์ในทางชู้สาวอันเป็นเหตุผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน โจทก์จึงยกเหตุมีสัมพันธ์ในทางชู้สาวเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ตามมาตรา 17 วรรคสาม (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003-3004/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และอำนาจการสืบพยานของศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยานเองไม่ว่าจะเป็นพยานที่คู่ความฝ่ายใดอ้างหรือที่ศาลแรงงานเรียกมาตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ดังนั้นการที่โจทก์ซักถามพยานได้ก็เนื่องจากโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานภาค 2 นั่นเอง
โจทก์เป็นผู้ซักถามพยานโจทก์ด้วยตนเอง 6 ปาก แล้วตัวโจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานปากสุดท้ายโดยศาลแรงงานภาค 2 เป็นผู้ซักถามโจทก์เอง เป็นกรณีศาลแรงงานภาค 2 อนุญาตให้โจทก์เข้าเบิกความเป็นพยานศาลได้โดยไม่ฟังว่าคำเบิกความของโจทก์ผิดระเบียบ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2666/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกหลังถูกเลิกจ้าง ยุติสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย แม้จะอ้างเหตุเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุว่าโจทก์ทุจริตค่าน้ำมันรถ โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างต่อผู้บังคับบัญชาระดับบริหารตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ระหว่างพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทำหนังสือขอลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยด้วยความสมัครใจและรับเงินช่วยเหลือ 100,000 บาท จากจำเลย
แม้หนังสือลาออกของโจทก์ (ที่กระทำขึ้นภายหลังจากจำเลยมีหนังสือเลิกจ้าง) ไม่เป็นเหตุให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับพฤติกรรมของโจทก์ที่ตกลงยินยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย 100,000 บาท ไปแล้วในภายหลังโดยปราศจากข้อโต้แย้งคัดค้านอื่นใดทั้งสิ้น เป็นกรณีที่โจทก์ยินยอมกับจำเลยเพื่อยุติเรื่องการเลิกจ้างที่อ้างเหตุว่าโจทก์ทุจริตค่าน้ำมันรถ เท่ากับโจทก์ไม่ประสงค์จะเรียกร้องเกี่ยวกับการเลิกจ้างอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, และการหักเงินรางวัลอายุงาน
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อโจทก์ต้องไปทำงานในต่างจังหวัด หากโจทก์กลับเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จ่ายเงินทั้งสองประเภทให้แก่โจทก์เป็นสวัสดิการ ไม่ใช่จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักจึงไม่เป็นค่าจ้าง
โจทก์แจ้งความประสงค์ให้จำเลยที่ 1 แบ่งจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน จำเลยที่ 1 ตกลง เกิดเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างในการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามกำหนดนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปคือวันที่ 15 สิงหาคม 2547 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทันทีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2547 รวม 18 วัน
แผนรางวัลอายุงานเป็นสภาพการจ้างที่ผูกพันจำเลยที่ 1 กับพนักงานที่รวมถึงโจทก์ด้วย ตามระเบียบแผนรางวัลอายุงานจำเลยที่ 1 มีสิทธิลดเงินรางวัลอายุงานลงได้เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการเลิกจ้างในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอันเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพราะการเลิกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าชดเชยไปหักออกจากเงินรางวัลอายุงานที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19494-19500/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังเล่นการพนันนอกเวลางาน แม้มีผลกระทบชื่อเสียง แต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รวม 7 คน สวมชุดพนักงานของจำเลยเล่นการพนันหลังจากเลิกงาน ณ สถานที่ภายนอกที่ทำการของจำเลย แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม แม้การกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลยอยู่บ้าง แต่ผู้เสื่อมเสียจากการกระทำนั้นโดยตรงคือโจทก์รวม 7 คน นั่นเอง ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากแจ้งเหตุตามกฎหมาย
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น นายจ้างสามารถที่จะเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือหรือบอกเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าหากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะเลิกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจานายจ้างจะต้องระบุหรือแจ้งเหตุผลนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาด้วย ในขณะที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างด้วยวาจาโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเกิดจากการที่โจทก์กับพวกได้จัดตั้งบริษัททำกิจการค้าแข่งกับจำเลย ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้ระบุเหตุตามมาตรา 119 (2) (4) แก่โจทก์ในขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1902-1904/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพักงาน-เลิกจ้าง: การพักงานโดยจ่ายค่าจ้างไม่ถือเป็นการลงโทษ การละทิ้งหน้าที่ต้องมีเหตุร้ายแรงและตักเตือนก่อน
การพักงานไม่เกิน 7 วัน โดยไม่จ่ายค่าจ้างเป็นโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้าง การที่ผู้ร้องมีคำสั่งพักงานผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างและเป็นกรรมการลูกจ้างโดยจ่ายค่าจ้างให้ไม่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการสั่งให้ผู้คัดค้านทั้งสองหยุดทำงานชั่วคราวเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตลงโทษผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแรงงานภาค 1 การกระทำของผู้ร้องไม่เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
การละทิ้งหน้าที่ที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกรณีร้ายแรงต้องเป็นกรณีลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติที่สำคัญให้นายจ้างแล้วไม่ปฏิบัติเป็นเวลานาน เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 มีหน้าที่สำคัญอย่างไร หากออกไปจากการปฏิบัติหน้าที่แล้วจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องอย่างไร การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ออกไปบอกพนักงานของบริษัทรับเหมาค่าแรงให้ไปรวมตัวกันที่โรงอาหารซึ่งเป็นเวลาช่วงบ่ายใกล้เลิกงานแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ละทิ้งหน้าที่แต่ยังไม่ถึงขนาดหรือมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านที่ 1 ตามคำร้องของผู้ร้อง เมื่อศาลแรงงานภาค 1 เห็นว่าผู้ร้องควรลงโทษด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือเสียก่อน ศาลแรงงานภาค 1 ก็สามารถอนุญาตให้ลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ด้วยการตักเตือนเป็นหนังสือซึ่งเป็นโทษที่อยู่ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้อง และเป็นโทษสถานเบากว่าการเลิกจ้างได้ ถือเป็นการใช้ดุลพินิจตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์สมัครใจลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินในใบรับเงินที่มีข้อความว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และได้จ่ายเงินเดือน ค่าเสียหายแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า กับค่าชดเชย ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดจากจำเลยอีก ใบรับเงินฉบับนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันโจทก์ว่าหลังจากโจทก์ได้รับเงินทั้งสามจำนวนอันเป็นเงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว โจทก์สละสิทธิที่จะเรียกเงินอื่นใดตามกฎหมายซึ่งมีความหมายรวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13587/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของนายจ้าง
จำเลยผู้เป็นนายจ้างมอบหมายให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างไปทำความเข้าใจกับพนักงานของจำเลยเรื่องจำเลยย้ายสถานประกอบกิจการไปจังหวัดสมุทรสาครและให้พนักงานแสดงความประสงค์ว่าจะย้ายไปยังที่ทำงานใหม่หรือไม่ แต่โจทก์แจ้ง ส. ผู้จัดการโรงงานว่าจำเลยจะเล่นงานและบีบให้ ส. ออกจากงาน กับบอก ท. พนักงานแผนกบัญชีว่าหากลงชื่อในใบแสดงความประสงค์ย้ายไปทำงานที่สำนักงานใหม่แล้วไม่ยอมไป เมื่อถึงเวลาย้ายจะถูกจำเลยฟ้องคดี พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการเล็งเห็นผลได้ว่าอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพนักงานกับจำเลย ทำให้เกิดความปั่นป่วนในหมู่พนักงานอันจะส่งผลกระทบต่อการย้ายสถานประกอบกิจการของจำเลยโดยตรงที่อาจเกิดความยุ่งยากมากขึ้น โจทก์ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายให้ทำความเข้าใจกับพนักงานไม่สมควรกระทำเช่นนี้ โจทก์กระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2)
of 205