พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดเวลาโอนที่ดินและความผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่ง จ.ตาของจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นที่ดินเนื้อที่ 55 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา ในราคาไร่ละ30,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 1,365,000 บาท จะชำระให้ภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวซึ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เรียบร้อยแล้ว ต่อมาหลังทำสัญญา 3 เดือน เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 3595แต่ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ การขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนก็ได้ จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว เมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อจ่าสิบตำรวจ ภ.ให้โจทก์มารับโอนที่ดิน แต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อนเพื่อที่จะให้ทางธนาคารมาดู จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 10,000 บาท แสดงว่าจำเลยก็มิได้ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ทั้งหลังจากถมที่ดินเสร็จแล้วจ่าสิบตำรวจ ภ.ได้มาดูที่ดินและแจ้งกับจำเลยว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอนที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ไม่ได้มารับโอนที่ดิน เมื่อจำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์แจ้งว่ายังไม่พร้อม แต่จะนัดหมายใหม่ประมาณปลายเดือนมีนาคม2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้ ครั้นครบกำหนดแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้กำหนดวันโอนที่ดินดังกล่าวกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนจึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยไม่ได้ไปตามกำหนดนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การกำหนดชำระหนี้ไม่แน่นอน & การผิดสัญญาของผู้ซื้อ
ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 2 ระบุว่า "ส่วนเงินที่ค้าง ชำระเป็นเงิน 1,365,000 บาท ผู้จะซื้อให้สัญญาว่าจะชำระเงินภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อผู้จะซื้อได้รับโอนกรรมสิทธิ์ น.ส.3 ก. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว" ได้ความว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์นั้น การออก น.ส.3 ก. จะแล้วเสร็จเมื่อไรยังไม่ทราบ แสดงว่าการขอออก น.ส.3 ก. ดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน ก็ได้ ดังนั้น จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ มารับโอนที่ดินแต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อน จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดิน แสดงว่าจำเลยก็มิได้ ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ หลังจากถมที่ดิน เสร็จแล้วโจทก์แจ้งว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอน ที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ แต่ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ ไม่มารับโอนโดยอ้างว่ายังไม่พร้อมและจะนัดใหม่ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม 2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้เมื่อครบกำหนดโจทก์ก็มิได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลย มิได้กำหนดวันโอนที่ดินกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มา รับโอนจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่ไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์และตกเป็น ผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำค่าขึ้นศาลมาวางภายในกำหนดทำให้ศาลไม่รับฎีกา และคำสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับมีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฎชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกา โดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกาที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้นในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลามาเป็นเวลานานถึง 1 เดือนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีรายชื่อพยานตามกำหนด และประเด็นอำนาจฟ้องที่สละสิทธิ์ การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่าระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้าที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุสุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบจึงชอบแล้ว
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น
แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้น โดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อที่ดินที่ ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลยครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วนที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วมกัน และการยื่นบัญชีระบุพยานที่ไม่ทันกำหนด
จำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอยื่นบัญชี ระบุพยานขณะที่โจทก์ได้สืบพยานไปจนจบแล้ว โดยอ้างว่า ระยะเวลายื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกได้สิ้นสุดไปก่อนหน้า ที่ทนายจำเลยคนปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ ซึ่งมิได้เป็นเหตุ สุดวิสัย หากอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบย่อมจะทำให้ โจทก์เสียเปรียบ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยาน เข้าสืบจึงชอบแล้ว แม้จำเลยจะได้ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นประเด็นไว้ แต่ในวันชี้สองสถานซึ่งศาลชั้นต้นได้ทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็น ข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์และจำเลยได้แบ่งแยกกันครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วหรือไม่เท่านั้นโดยจำเลยมิได้คัดค้านอันเป็นการสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบถึงประเด็นดังกล่าว และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อที่ดิน ป.ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อนเป็นที่ดินที่ไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ที่โจทก์และจำเลย ครอบครองอยู่ การที่โจทก์และจำเลยได้ครอบครองที่ดินพิพาทของตนในคดีนี้เป็นส่วนสัดโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่วันที่โจทก์จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว โดยไม่มีใครรบกวน โจทก์และจำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในส่วน ที่ตนครอบครองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ละเลย ไม่ดำเนินคดีภายในกำหนด & การใช้ดุลพินิจของศาล
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 มีเจตนารมณ์ให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรืออีกนัยหนึ่งบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ในอันที่ศาลจะพิจารณาว่าโจทก์ยังประสงค์จะดำเนินคดีในกรณีดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งโดยปกติศาลย่อมจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยอาศัยเหตุจากการละเว้นของโจทก์ดังกล่าวเว้นแต่จะมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและกรณีเป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลเป็นผู้ส่งเองเมื่อศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้โจทก์ทราบโจทก์ย่อมไม่ทราบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยที่ 1ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง นอกจากนี้เมื่อโจทก์มาขอดูสำนวนจึงทราบว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ และได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งถือได้ว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ต่อปีพฤติการณ์ของโจทก์ในคดีนี้จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งที่โจทก์ยื่นฟ้องว่า"รับคำฟ้องหมายส่งสำเนาให้จำเลย ให้โจทก์จัดการนำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ส่งไม่ได้ มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง"เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะหาบ้านไม่พบ และตามแบบพิมพ์ท้ายคำขอท้ายฟ้องซึ่งทนายโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาคำฟ้องโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วยสองฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" จึงต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นแต่โจทก์กระทำเพียงเสียค่าธรรมเนียมในการส่งหมายให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้นำส่งเอง โจทก์จึงมีหน้าที่ติดตามขวนขวายให้ได้ทราบผลการส่งหมายเอง ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้อง แจ้งผลการส่งหมายให้โจทก์ทราบอีก เมื่อโจทก์เพิกเฉย มิได้แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในเวลาที่ ศาลชั้นต้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนอง: การผิดนัดชำระดอกเบี้ยทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ก่อนครบกำหนด
แม้ตามสัญญาจำนองที่ดินจะระบุว่า สัญญาจำนองมีกำหนดเวลา5 ปี แต่ก็มีข้อตกลงในสัญญาจำนองเกี่ยวกับการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้จำนองตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป ดังนั้น การที่จำเลยผู้จำนองจะไม่ต้องถูกบังคับจำนองก่อนครบเวลา 5 ปี จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาจำนองคือต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เป็นรายเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เลย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนองทั้งหมดโจทก์ย่อมมีอำนาจบอกกล่าวทวงถามและฟ้องบังคับจำนองได้ โดยไม่จำต้องรอให้ครบกำหนดเวลา 5 ปี เสียก่อน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บังคับจำนองกับที่ดินโฉนดเลขที่ 3382 เป็นการคลาดเคลื่อนไป โดยที่ดินแปลงที่จำเลยนำมาจำนองไว้กับโจทก์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 3386 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระราคาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดหลังศาลยกคำร้องเพิกถอน การชำระเงินภายในกำหนดเป็นหลักสำคัญ
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 85 ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สินมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป เจ้าพนักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินมัดจำไม่เกินร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลา ไม่เกิน 15 วันก็ได้นั้น เป็นระเบียบหรือข้อกำหนดที่วางไว้สำหรับกรณีที่ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดได้ในตอนแรกปรากฏว่าเมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อทรัพย์ได้แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2ก็ปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯ ข้อ 85 ทุกประการโดยได้ชำระราคาค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนตามระเบียบแล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถจะโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ประมูลซื้อมาได้เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับเงินค่าซื้อทรัพย์คืนไปจำนวน 1,045,000 บาท ก็ตาม แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีอำนาจทวงถามเงินค่าซื้อทรัพย์ที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับคืนไปเมื่อผู้คัดค้านที่ 2 นำเงินจำนวนดังกล่าววางชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ภายในกำหนดครบถ้วนแล้วจึงถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2ได้ชำระเงินค่าซื้อทรัพย์โดยถูกต้องไม่มีเหตุที่จะนำทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายในกำหนดเวลาสิบปี: การดำเนินการขอให้บังคับคดีถือเป็นไปตามกฎหมาย แม้การบังคับคดีจะล่าช้า
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีภายใน 10 ปี: การยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีถือเป็นการดำเนินการภายในกำหนดเวลา แม้การบังคับคดีจะเกินกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่12 พฤศจิกายน 2528 การที่โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 และ ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2538 โดยโจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันเดียวกันนั้น ถือได้ว่าโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาอันเป็นการ ดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนดเวลา สิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา การที่เจ้าพนักงานบังคับคดี จะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของ เจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดี เกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้ บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว