พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การฉ้อฉล, นอกคำให้การ, และขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส. และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 76/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและตัวแทนในการซื้อขาย
จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1มอบหมายให้จำเลยที่ 4 ซื้อไม้จากโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดชำระราคาไม้แก่โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อไม้จากโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมาย จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อ-กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4345/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาระจำยอม การได้มาซึ่งภาระจำยอมโดยอายุความ และการกำหนดขอบเขตภาระจำยอม
โฉนดที่ดิน มีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว ย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373การที่จำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้เห็นว่าโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเอกสารมหาชนไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ใช้ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของญาติโจทก์ออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี โดยขออาศัยกันในระหว่างหมู่ญาติ หรือเป็นการเดินโดยถือวิสาสะ การใช้ทางพิพาทในระยะเวลา ดังกล่าวจึงไม่อาจได้ภารจำยอม แต่นับตั้งแต่ขายที่ดินซึ่งมี ทางพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไป และมีการโอนกันต่อ ๆ มา จนถึงจำเลยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี การใช้ทางพิพาทของโจทก์ เป็นไปโดยสงบและเปิดเผยมิได้ขออนุญาตผู้ใด ทางพิพาท จึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกติดลำแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าบ้านโจทก์มีท่าน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ แม้ในปัจจุบันจะไม่ค่อยมีผู้ใช้สัญจรไปมาก็ถือไม่ได้ว่าที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จน ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยจึงไม่เป็นทางจำเป็น โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมกว้าง 3.50 เมตรจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับความกว้าง แต่ต่อสู้ว่าไม่มีทางภารจำยอม ย่อมมีความหมายไปถึงว่า ไม่มีทางภารจำยอมแม้แต่เมตรเดียวด้วย การที่ศาลล่างวินิจฉัยถึงความกว้างของทางภารจำยอม จึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทางพิพาทอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินจำเลยทางทิศใต้เข้ามา 2.30 เมตร การสร้างรั้วหรืออาคารโดยเว้นทางพิพาทไว้ ย่อมทำให้จำเลยเสียที่ดินด้านสุดแนวเขตที่ดินทางทิศใต้ เว้นแต่จะกั้นรั้วหรือสร้างอาคารเป็นสองตอนซึ่งเป็นการ เพิ่มภาระแก่จำเลยและใช้ประโยชน์ไม่ได้เท่าที่ควร แต่หากย้ายทางพิพาทจากเดิมไปอยู่ตรงสุดแนวเขตที่ดิน ทางด้านทิศใต้แล้ว ย่อมไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันจำเลยก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าการย้ายภารจำยอม เป็นประโยชน์แก่จำเลยด้วย ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1392 และตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกเลิกคำสั่งห้าม ชั่วคราวก็ได้ขอให้ย้ายภารจำยอมไปทางด้านทิศใต้ สุดแนวเขตที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้ย้ายภารจำยอมไปสุดแนวเขตที่ดินจำเลยทางด้านทิศใต้ จึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การจดทะเบียนภารจำยอมถือว่าเป็นการอันจะเป็นเพื่อรักษาและใช้ซึ่งภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 แม้จะได้ภารจำยอมโดยอายุความ เจ้าของสามยทรัพย์ก็เรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภารจำยอมแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้องถือเป็นข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีฝิ่นอันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 จำนวน 3 ห่อ หนัก 4,825 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17,69 เป็นการบรรยายฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 17 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เว้นแต่ได้รับอนุญาต"ซึ่งการมีฝิ่นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายมีโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าฝิ่นดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่หนึ่งร้อยกรัมขึ้นไปดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 วรรคสอง ซึ่งมีโทษตามมาตรา 69 วรรคสี่ หนักกว่าโทษตามมาตรา 69 วรรคสองดังนั้นแม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า ฝิ่นที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมก็ตามศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 วรรคสี่ ซึ่งเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'เงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า' ไม่รวมถึงค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างมีข้อความว่า "อัตราการจ่ายเงินจำนวนเท่ากับอัตราเงินเดือนหรือค่าจ้างปกติในขณะนั้นหนึ่งเดือนทุกเวลาหนึ่งปีเต็มที่ผู้นั้นได้ทำงานกับบริษัทโดยติดต่อกัน หักด้วยเงินชดเชยการบอกเลิกจ้างล่วงหน้าหรือเงินทดแทนอื่นใดในการสูญเสียงาน ซึ่งพนักงานผู้นั้นมีสิทธิได้รับตามข้อความในสัญญาจ้างหรือกฎหมาย" คำว่า "เงินชดเชยการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า" นั้นมีความหมายชัดเจนว่าหมายถึงเงินที่ให้แทนการบอกเลิกจ้างล่วงหน้า ไม่อาจแปลว่าเป็นเงิน "ค่าชดเชย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า และความผิดตามกฎหมาย
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านพมดงรักฯ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตรว์ป่า พ.ศ.2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ และตำบลละลายตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาจากแนวเขตแผนที่ แม้ไม่ได้ระบุชื่อตำบลโดยตรง
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพนมดงรัก ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณ ที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูงตำบลบักดอกอำเภอขุนหาญ และตำบลละลา ตำบลบึงมะลูอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุงอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจฟ้องจากหนังสือมอบอำนาจ: การฟ้องคดีละเมิดทรัพย์สิน
หนังสือมอบอำนาจข้อ 6 ระบุว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจเรียกร้องทวงถามให้ชำระหนี้ แจ้งบังคับจำนองหรือจำนำดำเนินคดี ฟ้องร้อง แก้ต่างทั้งคดีแพ่งคดีอาญา ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในกิจการดังกล่าวให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำได้ซึ่งสาขาที่กล่าวข้างต้นมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ และข้อ 9ระบุว่าให้มีอำนาจดูแลและรักษาผลประโยชน์และทรัพย์สินทุกอย่างของผู้มอบอำนาจ จึงเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของผู้มอบอำนาจที่อยู่ในความดูแลรักษาของผู้รับมอบอำนาจด้วย หาใช่เพียงมอบอำนาจให้ดำเนินการสาขาเฉพาะการธนาคารพาณิชย์ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่ ผู้รับมอบอำนาจจึงใช้หนังสือมอบอำนาจนี้ฟ้องคดีละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าวแทนผู้มอบอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเฉลี่ยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง: ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอเฉลี่ยทรัพย์ เว้นแต่ศาลเห็นว่าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น คำว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาในที่นี้หมายความถึง ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ถูกยึดทรัพย์อยู่ในคดีที่มีการขอเฉลี่ยทรัพย์ ถ้าไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ผู้ขอก็ขอเฉลี่ยจากเงินที่ขายทรัพย์ได้ หาได้หมายความถึงลูกหนี้ตามคำพิพากษาคนอื่นในคดีที่ผู้ขอเฉลี่ยชนะคดีหรือบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการสละเครื่องหมายการค้าและผลกระทบต่อการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้โจทก์และจำเลยที่ 1 สละแล้วนั้นย่อมหมายความรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใดในเครื่องหมาย-การค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมสละแล้วด้วย เครื่องหมายการค้าอักษร-โรมันคำว่า "CARGLO" ของโจทก์ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้รับจดทะเบียนเฉพาะคำเท่านั้น ไม่รวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้า ดังนั้นรูปลักษณะภาชนะบรรจุสินค้า รวมทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและคำบรรยายที่ภาชนะดังกล่าว โจทก์และจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวการที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้ามีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ"ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมาย-การค้า "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าอักษรโรมันคำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" และ "DINCO" หรือ"ดิงโก้" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอยจึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมาย-การค้า "DINCO" หรือ "ดิงโก้" ของจำเลยที่ 1 เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้" ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เอาชื่อรูปรอยประดิษฐ์ในทางการค้าของโจทก์มาใช้ และเลียนเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์