พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการช่วยเหลือข้าราชการ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า ส่วนร้านค้าขององค์การสงเคราะห์ ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการ และจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งผู้จัดการ แต่มิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อร้านค้า อ.ส.ค.มิใช่ราชการของกรมไปรษณีย์โทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลขจึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของร้านค้า อ.ส.ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานอนาจารและทำร้ายร่างกาย: การประทุษร้ายร่างกายเป็นการกระทำกรรมเดียวกับอนาจาร และไม่อยู่ในอำนาจควบคุมตามหน้าที่ราชการ
การใช้กำลังกายกอดรัดและบีบเคล้นนมของผู้เสียหายจนฟกช้ำ เป็นการประทุษร้ายร่างกายที่เกลื่อนกลืนเป็นกรรมเดียวกับการกระทำอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ไม่เป็นมูลความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม มาตรา 296 อีกบทหนึ่งต่างหาก
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
การที่โจทก์เป็นข้าราชการผู้น้อย (ตำแหน่งหัวหน้าแผนก) อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลย (ตำแหน่งอธิบดี) ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนนั้น หาใช่ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยพิเศษข้าราชการตายมิใช่เงินมรดก แต่เงินสะสมถือเป็นมรดกของผู้ตาย
เงินช่วยพิเศษซึ่งจ่ายให้ในกรณีข้าราชการตายในระหว่างรับราชการเป็นจำนวนสามเท่าของอัตราเงินเดือน ในอัตราที่ถือจ่ายอยู่เมื่อถึงแก่ความตายนั้น มิใช่เงินเดือนของข้าราชการ แต่เป็นเงินพิเศษอีกส่วนหนึ่งซึ่งทางราชการจ่ายให้เมื่อข้าราชการผู้นั้นถึงแก่ความตายแล้ว จะตกได้แก่ผู้ใด ต้องเป็นไปตามที่พระราชกฤษฎีกาบัญญัติไว้ จึงมิใช่มรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะมิใช่เป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย
เงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย
เงินสะสมเป็นเงินที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกเดือน โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการผู้นั้นออกจากราชการ เงินสะสมจึงเป็นมรดกของข้าราชการซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะเป็นเงินที่ผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย หากแต่ทางราชการยังไม่ได้จ่ายให้ เพราะยังไม่ถึงคราวที่จะต้องจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสะสมข้าราชการมีสภาพเป็นเงินเดือน จึงไม่อยู่ในบังคับคดี
เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการ จึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จะยึดหรืออายัดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินสะสมข้าราชการเป็นเงินเดือน จึงไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดี
เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จะยึดหรืออายัดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งบรรจุ/ไล่ออกข้าราชการเป็นอำนาจบริหาร ศาลไม่สามารถแทรกแซงได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังจำเลย ที่ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาว่า ปฏิบัติการไม่ชอบในการจ่ายเงินของทางราชการ โดยให้โจทก์พักราชการระหว่างสอบสวนก็ดี คำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการไว้ก่อนและให้ยับยั้งการขอบำเหน็จบำนาญไว้จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุดก็ดี และคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการฐานมีมลทินมัวหมองก็ดี ล้วนเป็นคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ออกโดยอาศัยอานาจแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ชอบที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ประกอบด้วยกฎกระทรวง และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งดังกล่าวของกระทรวงการคลังเป็นโมฆะ และสั่งบังคับกระทรวงการคลังให้สั่งโจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหาได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหาร และมิใช่หน้าที่ของศาลที่จะสั่งได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งบรรจุ/สั่งออกจากราชการเป็นอำนาจบริหาร ศาลไม่สามารถแทรกแซงได้
คำสั่งของกระทรวงการคลังจำเลย ที่ตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาว่า ปฏิบัติการไม่ชอบในการจ่ายเงินของทางราชการโดยให้โจทก์พักราชการระหว่างสอบสวนก็ดีคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการไว้ก่อนและให้ยับยั้งการขอบำเหน็จบำนาญไว้จนกว่าเรื่องจะถึงที่สุดก็ดี และคำสั่งให้โจทก์ออกจากราชการฐานมีมลทินมัวหมองก็ดี ล้วนเป็นคำสั่งของกระทรวงการคลังที่ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน อันเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับ ฉะนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ชอบที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนประกอบด้วยกฎกระทรวง และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการนั้น โจทก์จะนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า คำสั่งดังกล่าวของกระทรวงการคลังเป็นโมฆะ และสั่งบังคับกระทรวงการคลังให้สั่งโจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมหาได้ไม่เพราะเป็นอำนาจของทางราชการฝ่ายบริหาร และมิใช่หน้าที่ของศาลที่จะสั่งได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 818/2499 และคำพิพากษาฎีกาที่ 568/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438-439/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งกรณีทุจริตเงินภาษี และความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของผู้อื่น
กระทรวงการคลังฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยฐานละเมิดเกี่ยวกับเงินภาษีอากรของกรมสรรพากรซึ่งถูกยักยอกไป.อายุความเริ่มนับแต่วันที่อธิบดีกรมสรรพากรรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน.
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์. ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้ว. ต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด.
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก. แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด. อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา. รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน. อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน. อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง. คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี. สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง.
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก. แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง. ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน.
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์. เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง.ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม. และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์. จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์.
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท. มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน.หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด. และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร. จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้. ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์.
เมื่อปรากฏการทุจริตยักยอกเงินภาษีอากร และกรมสรรพากรได้ตั้งกรรมการขึ้นสอบสวนพฤติการณ์. ย่อมถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากร ได้รู้ถึงการละเมิดแล้ว. ต่อมาสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งได้เสนอรายงานให้อธิบดีกรมสรรพากรทราบเรื่องการทุจริตและการจับกุมผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่าจะสมคบกันทุจริต ซึ่งมีจำเลยรวมอยู่ในพวกที่ถูกจับด้วยนั้น. และต่อมาบุคคลเหล่านี้ก็ได้ถูกผู้ว่าคดีฟ้องกล่าวโทษเป็นคดีอาญาขึ้น. ต้องถือว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานจากสรรพากรจังหวัด.
คณะกรรมการซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรตั้งขึ้นสอบสวนการทุจริตรายงานว่าตรวจพบการทุจริตเพิ่มเติมอีก. แต่กรรมการเห็นไม่ลงรอยกันในตัวผู้ต้องรับผิด. อธิบดีกรมสรรพากรจึงสั่งให้รองอธิบดีพิจารณา. รองอธิบดีพิจารณาแล้วเสนอความเห็นว่าควรให้กองวิทยาการ กรมตำรวจ พิสูจน์ลายมือผู้ทุจริตให้แน่นอนก่อน. อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้นำเข้าประชุมปรึกษา กรรมการในที่ประชุมก็เห็นไม่ตรงกัน. อธิบดีกรมสรรพากรจึงตั้งกรรมการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง. คณะกรรมการพิจารณาแล้ว เสนอรายงานต่ออธิบดี. สำหรับการทุจริตครั้งหลังนี้ถือได้ว่าอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่งรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ได้รับรายงานของคณะกรรมการชุดหลัง.
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจากผู้ที่มิได้กระทำผิดทางอาญานั้น อยู่ในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก. แม้จะมีการฟ้องผู้กระทำละเมิดเป็นคดีอาญาด้วย แต่ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้ว. ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดอาญาตามมาตรา 448 วรรคสอง. ต้องใช้อายุความตามวรรคแรก เช่นเดียวกัน.
จำเลยซึ่งถูกฟ้องคดีอาญาว่ายักยอกเงินของโจทก์. เมื่อศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาว่า คดียังไม่พอจะให้ศาลชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง.ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตาม. และหากข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งฟังไม่ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้มีการยักยอกเงินของโจทก์. จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินที่มีผู้ยักยอกไปให้แก่โจทก์.
จำเลยเป็นหัวหน้าส่วนราชการแผนกสรรพากรประจำอำเภอมีตำแหน่งสมุหบัญชีโท. มีหน้าที่รับผิดชอบในเงินภาษีอากรตลอดจนตรวจนับเงินสดและเช็คที่มีผู้นำมาชำระค่าภาษีอากรทุกวัน.หากจำเลยไม่ปล่อยปละละเลยและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิด. และถ้าไม่ปลีกตัวออกจากการเป็นกรรมการถือกุญแจเก็บรักษาเงินผลประโยชน์ตามระเบียบของกรมสรรพากร. จำเลยอื่นก็จะไม่มีโอกาสยักยอกเอาเงินภาษีอากรของโจทก์ไปได้. ดังนี้ จำเลยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นชดใช้เงินให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกเงินของข้าราชการ: พิจารณาบทมาตรา 147, 151, และ 157
จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดมีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงินของราชการส่วนจังหวัดและราชการส่วนอื่น ๆ โดยเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินที่ตนรับไว้ในตำแหน่งหน้าที่เป็นประโยชน์ส่วนตน ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ไม่ใช่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 147 แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการทุจริตยักยอกเงิน เบียดบังทรัพย์ในหน้าที่ ความผิดตามมาตรา 147 ไม่ใช่ 151 หรือ 157
จำเลยเป็นเสมียนตราจังหวัดมีหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงินของราชการส่วนจังหวัดและราชการส่วนอื่นๆ โดยเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกเงินที่ตนรับไว้ในตำแหน่งหน้าที่เป็นประโยชน์ส่วนตน ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 ไม่ใช่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรา 147 แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157 อีก