พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8520/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จคดีอาญาและการเบิกความเท็จ ศาลพิจารณาว่าเป็นการฟ้องโดยสุจริตและไม่มีมูล
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องโจทก์เป็นความผิดอาญาในข้อหาบุกรุกที่ดิน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1โต้แย้งกันในที่ดินพิพาทโดยต่างอ้างว่าตนเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท และโจทก์ได้ว่าจ้างรถแบกโฮเข้าไปขุดที่ดินพิพาทดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์จึงสืบเนื่องมาจากที่จำเลยที่ 1เข้าใจโดยสุจริตในขณะนั้นว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และการที่โจทก์จ้างรถแบกโฮเข้าไปขุดดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวย่อมเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 และก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 อีกด้วย การฟ้องคดีของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฟ้องโดยสุจริตตามที่จำเลยที่ 1 เชื่อว่าตนเองมีสิทธิตามกฎหมาย มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วนำข้อความซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จไปฟ้องโจทก์แต่อย่างใด ส่วนข้อหาลักทรัพย์เสาปูนซิเมนต์จำนวน18 ต้นนั้น แม้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นอ้างแต่ว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 เป็นพิรุธชวนให้สงสัยจึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่โจทก์กับพวก โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าคำฟ้องของจำเลยที่ 1 ในข้อหาลักทรัพย์เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อกลั่นแกล้งกล่าวหาโจทก์และคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด คดีสำหรับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8366/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่มิชอบ ศาลต้องดำเนินการใหม่เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งมีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความไม่ขอต่อสู้คดี โดยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยไม่ได้ตั้งทนายความให้แก่จำเลย เมื่อถึงวันนัด ศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์ไปสองปาก โดยจำเลยไม่มีทนายความต่อมาศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาแล้วทั้งหมดและมีหนังสือตั้งทนายความให้แก่จำเลย กับเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้พยานโจทก์ทั้งสองปากที่เบิกความตอบโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนเพราะเป็นการผิดระเบียบไปแล้ว เข้าเบิกความตอบคำซักถามของโจทก์ใหม่ เพียงแต่ให้ทนายจำเลยถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองปากนี้ต่อไปเลยเท่านั้น ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นการไม่ชอบและการที่ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนี้ต่อมาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวและเห็นควรแก้ไขโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง: ข้อจำกัดและขอบเขตการพิจารณาของศาลสูง
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้มาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์คดีอาญา: การโอนสิทธิก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ซื้อย่อมเป็นเจ้าของได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสอง และริบรถยนต์ของกลาง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์เพราะพอใจในโทษของตนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเฉพาะตัวของจำเลยที่ 2 ย่อมถึงที่สุด แต่จะถือว่าประเด็นในเรื่องการริบรถยนต์ของกลางถึงที่สุดตามโทษของจำเลยที่ 2 ทำนองเดียวกับคดีแพ่งที่มีการถึงที่สุดเป็นประเด็น ๆ ไปหาได้ไม่ เพราะปัญหาในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงโทษจำเลยตลอดจนริบทรัพย์สินล้วนเป็นปัญหาที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้ทั้งสิ้น แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง และมาตรา 213 คำพิพากษาเกี่ยวกับรถยนต์ของกลางจึงยังไม่ถึงที่สุด
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางจึงยังเป็นของบริษัทเงินทุน ท. อยู่ยังไม่ได้ตกเป็นของแผ่นดิน การที่ผู้ร้องซื้อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด ผู้ร้องย่อมเป็นเจ้าของแท้จริงในรถยนต์ของกลางได้โดยชอบ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังในวันที่ 25 มกราคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาคดีนี้ย่อมถึงที่สุดในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางคืนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเป็นการยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางจึงยังเป็นของบริษัทเงินทุน ท. อยู่ยังไม่ได้ตกเป็นของแผ่นดิน การที่ผู้ร้องซื้อสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางและจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 และคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด ผู้ร้องย่อมเป็นเจ้าของแท้จริงในรถยนต์ของกลางได้โดยชอบ เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ฟังในวันที่ 25 มกราคม 2542 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา คำพิพากษาคดีนี้ย่อมถึงที่สุดในวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2542 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางคืนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 จึงเป็นการยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาที่คดีแพ่งต้องถือตามต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยตรง และคดีมีทุนทรัพย์ที่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามดังที่บัญญัติไว้ในป.วิ.อ. มาตรา 46 ต้องเป็นเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้โดยตรงในคดีอาญาแล้ว เมื่อคีดดังกล่าวศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเพียงว่ามีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ ยังฟังไม่แจ้งชัดว่าเป็นของโจทก์ ตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเท่ากับว่าคดีดังกล่าวศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นเนื้อประมาณ 50 ตารางวา โดยมีเจตนายึดถือเป็นของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่เป็นเนื้อประมาณ 50 ตารางวา โดยมีเจตนายึดถือเป็นของจำเลย ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8269/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีมีทุนทรัพย์
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่คดีแพ่งจะต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยไว้ในคดีอาญาแล้ว เมื่อคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเพียงว่ามีเหตุให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ดินพิพาทอาจเป็นของจำเลยก็ได้ ยังฟังไม่ได้แจ้งชัดว่าเป็นของโจทก์ตามพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงเท่ากับว่าคดีดังกล่าวศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงรับฟังเป็นยุติในคดีนี้ไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นของโจทก์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วครอบครองอยู่ประมาณ 50 ตารางวา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้องดังนี้ กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทโดยล้อมรั้วครอบครองอยู่ประมาณ 50 ตารางวา ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วออกไปและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยล้อมรั้วบริเวณที่ดินที่จำเลยครอบครอง ไม่ได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้ยกฟ้องดังนี้ กรณีเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่พิพาทขณะโจทก์ยื่นฟ้องมีราคา 10,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088-8089/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิเรียกร้องคดีอาญาจากการประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งเกี่ยวกับเช็ค
มูลหนี้ตามเช็คทั้งสองสำนวนนี้เป็นมูลหนี้รายเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งและศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้ว ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ตามเช็คทั้งสองสำนวนนี้เป็นอันระงับไป โจทก์คงมีแต่สิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เท่านั้น แม้จำเลยที่ 2จะมิได้ถูกฟ้องและยอมความในคดีแพ่งด้วยก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เพราะมูลหนี้ดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเพียงฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8047/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
อำนาจฟ้องในคดีอาญาเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252
เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งมีคำพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงทำให้บริษัทโจทก์เป็นอันเลิกกันโดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) และโจทก์ย่อมหมดอำนาจที่จะทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ต่อไปอีก การจัดการรวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจัดการแต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 , 24 ทั้งมาตรา 1247 ก็บัญญัติไว้ว่า การชำระบัญชีบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายนั้น ให้จัดทำไปตามบทกฎหมายล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ ดังนั้นกรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่กลับมีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้อีกโดยอาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เพราะมาตรา 1251 ก็ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้แล้วว่าบริษัทในเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี คดีนี้บริษัทโจทก์เลิกกันเพราะเหตุล้มละลาย กรรมการบริษัทโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ชำระบัญชีและไม่มีอำนาจมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 1252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาที่มีจำเลยเป็นชาวต่างด้าว จำเป็นต้องมีล่ามสาบานตนและลงลายมือชื่อในคำแปลตามกฎหมาย
ตามคำให้การจำเลย คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตลอดจนรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ณ ที่ใดเลยว่า ร. ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจ ไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปลและก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7399/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญาที่มีโทษสูง ศาลต้องพิสูจน์พยานหลักฐานประกอบเพื่อให้มั่นใจในความผิดจริงของผู้ต้องหา
บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า สำหรับความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง ศาลก็ยังต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์ให้เป็นที่พอใจก่อนว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตามที่ให้การรับสารภาพจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญาที่มีอัตราโทษสูงมิให้ต้องรับโทษหนักหรือเกินกว่าความผิดที่ตนเองกระทำ อย่างไรก็ดี พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ เพียงแต่ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยให้เป็นที่พอใจศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลจะลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานนั้น เพราะเป็นกรณีที่โจทก์เพียงแต่นำสืบพยานหลักฐานให้เห็นเป็นเค้ามูลเพื่อประกอบคำรับสารภาพของจำเลยเท่านั้น