คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การแจ้งความเท็จ การกำหนดประเด็นและภาระการพิสูจน์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจรอันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา172ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญาคำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา10ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(3)โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา51วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่260ของโจทก์ที่1กับบ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญาได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000บาทจำเลยให้การว่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่260โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใดโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน400,000 บาทหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ค่าเสียหายเพียงใดและกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากคดีแพ่ง ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนคำสั่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน 23 แปลง ของจำเลยที่ 2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้อง แต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนที่ดินหลังการขายทอดตลาด แม้มีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมจากศาลคดีแพ่ง
การที่จำเลยทั้งสามนำที่ดินจำนวน23แปลงของจำเลยที่2ที่ผู้ร้องซื้อจากการขายทอดตลาดรวมอยู่ด้วยมาเป็นหลักประกันการทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่2ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นและศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้นแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่2ทำไว้ต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวจะมีผลจนกว่าจำเลยที่2จำชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ที่ดินที่จำเลยที่2นำมาเป็นหลักประกันศาลชั้นต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใดๆเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นที่ดินดังกล่าวยังมิได้ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือกฎหมายอื่นจึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่2ที่นำมาเป็นหลักประกันไวต่อศาลออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลาดและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300และเมื่อกรมสรรพากรมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่ผู้ร้องแต่เจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเช่นนี้ย่อมเห็นได้ชัดแจ้งว่าผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)กรณีไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ความประมาททางละเมิดและการรับผิดชอบของจำเลย
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46กำหนดให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองโจทก์ทั้งสองเป็นบิดามารดาของอ. ผู้ตายในคดีอาญาจึงต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ทั้งสองข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองด้วยเมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังไม่อาจรับฟังได้ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่1ดังนั้นคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาจำเลยที่1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเมื่อจำเลยที่1ซึ่งกระทำแทนจำเลยที่2มิได้ประมาทจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยจะมิได้ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่3ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่งและการกำหนดทุนทรัพย์ที่ถูกต้อง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่า ฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่ ส่วนรายละเอียดที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายข้อความเหล่านั้นมา ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพัน ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัย จึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย และปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ปัญหาอื่น ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน 20 ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน 90 ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง, การบรรยายฟ้อง, และการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นข้อเท็จจริง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่า ฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่ ส่วนรายละเอียดที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายข้อความเหล่านั้นมา ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งและผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพัน ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัย จึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย และปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน แต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ปัญหาอื่น ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(3) ประกอบด้วยมาตรา 247 จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน 20 ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน 90 ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่ง ต้องมีประเด็นวินิจฉัยชัดเจนในคำพิพากษาคดีอาญา
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46นั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์3ประการคือคำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุดข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งและผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาเมื่อคำพิพากษาคดีอาญาในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ภาค3ซึ่งเป็นศาลชั้นที่สุดมิได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองเพียงแต่วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองขาดเจตนาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์เท่านั้นดังนั้นปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัยจึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำข้อเท็จจริงจากคดีอาญามาใช้ในคดีแพ่งต้องเป็นประเด็นที่วินิจฉัยถึงที่สุด และการพิจารณาประเด็นข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172กำหนดแต่เพียงว่าฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้นหาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่ส่วนรายละเอียดที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายข้อความเหล่านั้นมาฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46นั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์3ประการคือคำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุดข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้งและผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพันต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตามแต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัยจึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายและปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยปัญหาอื่นๆตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา240(3)ประกอบด้วยมาตรา247 จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน20ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน20ไร่แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน90ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, มูลคดี, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: ข้อวินิจฉัยสำคัญในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่า จำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์ โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 2 (2), 4 (1) โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ คู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไป นอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้
แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่ 1 ในบัญชีระบุพยาน โดยไม่มีชื่อโจทก์ที่ 2 ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตาม แต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ระบุพยาน และมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กัน และทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยาน ดังนี้ โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, เอกสารต่างประเทศ, การระบุพยาน: หลักเกณฑ์การรับคำฟ้องและพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยที่1ก็ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง แม้ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยทั้งสามมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจศาลชั้นต้นคือศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตามแต่ตามฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบได้ความด้วยว่าจำเลยทั้งสามโอนเงินมัดจำและชำระค่าซื้อสินค้าบางส่วนให้โจทก์โดยผ่านบัญชีของกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนี้ต้องถือว่ามูลคดีคือเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้มีอำนาจฟ้องเกิดขึ้นในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา2(2)(1)โจทก์จึงมีอำนาจเสนอคำฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศคู่ความส่งต่อศาลได้โดยไม่จำต้องทำคำแปลเป็นภาษาไทยยื่นต่อศาลเสมอไปนอกจากศาลสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามเมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทั้งสองทำคำแปลศาลก็รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองได้ แม้ตามบัญชีระบุพยานของโจทก์มีชื่อโจทก์ที่1ในบัญชีระบุพยานโดยไม่มีชื่อโจทก์ที่2ในบัญชีระบุพยานด้วยก็ตามแต่เมื่อบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ระบุชื่อโจทก์ที่1เป็นผู้ระบุพยานและมีเครื่องหมายไปยาลน้อยซึ่งเป็นเครื่องหมายละคำที่เป็นที่รู้กันและทนายโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันลงชื่อเป็นผู้ระบุพยานดังนี้โจทก์ทั้งสองได้ระบุพยานโดยชอบแล้ว
of 122