คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความน่าเชื่อถือ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 210 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐาน: การจำวันเวลาเหตุการณ์สำคัญ
ลักษณพะยาน พะยานฐานที่ของจำเลยไม่แสดงเหตุผล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานบุคคลในคดีพนัน: คำซัดของพยานร่วมกับจำเลย
เล่นจับยี่กีของกลางที่ค้นได้ในตัวจำเลยให้คืนไป ลักษณพะยานอย่างไรเรียกว่าคำซัดของจำเลยด้วยกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีหนี้สินรุงรังและมีผลต่อความน่าเชื่อถือในการเป็นตัวแทนประกันชีวิต มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สาเหตุที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งตามระเบียบของจำเลยที่ 1 ว่าด้วยการพนักงานสำหรับฝ่ายขาย พ.ศ.2541 ข้อ 37.2 กำหนดว่า จำเลยที่ 1 อาจมีความจำเป็นต้องให้พนักงานออกจากงานในกรณีที่พนักงานมีหนี้สินรุงรัง และจำเลยที่ 1 มีสิทธิเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฎหมายได้ บุคคลที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต้องเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้น โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีหนี้สินรุงรังตามความหมายของระเบียบดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ทำหน้าที่ตัวแทนประกันชีวิตซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลที่จะเข้าทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รู้ว่าโจทก์ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็จะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวไม่เชื่อถือในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1 ไปด้วย การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อที่โจทก์อ้างว่ามูลหนี้ที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายเป็นมูลหนี้ที่ ส. และโจทก์ ผิดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคาร ก. ซึ่งต่อมาธนาคารได้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ซึ่งมีกรรมการของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการของธนาคารและบริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวอันแสดงว่าจำเลยที่ 1 ทราบอยู่แล้วว่าโจทก์มีหนี้สินอยู่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะรับโจทก์เข้าทำงานนั้น เมื่อธนาคารและบริษัทบริหารสินทรัพย์กับจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกัน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์มีหนี้สินขณะจำเลยที่ 1 รับโจทก์เข้าทำงาน และข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยกเว้นไม่นำกรณีที่โจทก์มีหนี้สินรุงรังมาเป็นเหตุเลิกจ้างนั้น ก็เป็นความเข้าใจของโจทก์ฝ่ายเดียว
ข้อที่โจทก์อ้างว่าระเบียบของจำเลยที่ 1 ว่าด้วยการพนักงานสำหรับฝ่ายขาย พ.ศ.2541 ข้อ 37.2 วางเกณฑ์ไว้สูงกว่าคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ที่กำหนดเอาไว้ว่าต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย โจทก์ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้วโจทก์ยังมีคุณสมบัติเป็นตัวแทนประกันชีวิต ระเบียบดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อโจทก์นั้น เมื่อระเบียบดังกล่าวใช้กับพนักงานของจำเลยที่ 1 ทุกคน ไม่ได้เลือกบังคับใช้เฉพาะโจทก์ เงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 จะเลิกจ้างลูกจ้างตามระเบียบดังกล่าวเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมใช้บังคับได้ และขณะที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ก็ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์จะอ้างว่าระเบียบดังกล่าวไม่เป็นธรรมย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีแม้พ้น 10 ปี และผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม
ในคดีอาญา ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันในคดีนี้มีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องในคดีนี้จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีค้าประเวณี หากมีเหตุให้สงสัยว่าจำเลยไม่ได้จัดหาผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่ง ม. และเด็กหญิง จ.ภ. เพื่อให้กระทำการค้าประเวณี เมื่อข้อเท็จจริงมีเหตุให้สงสัยตามสมควรว่า ในวันเกิดเหตุตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบจำเลยอาจจะไม่ได้จัดส่ง ม. และเด็กหญิง จ.ภ. ไป แต่จัดส่ง จ.ร. ไป ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น จำเลยก็ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดในคดีนี้ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าส่ง จ.ร. ไปค้าประเวณี ก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้องและประสงค์ให้ลงโทษเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน: การเบิกความของผู้เสียหายที่ได้ฟังพยานก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและผลกระทบต่อคำวินิจฉัย
แม้ก่อนสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหาย ทนายจำเลยแถลงว่า ขณะสืบพยานโจทก์ปาก ว. ผู้เสียหายนั่งอยู่ในห้องพิจารณา ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ขอคัดค้านการสืบพยานปากผู้เสียหาย ตามที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบโดยยังไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะกรณีดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยแล้วจึงอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบและบันทึกเหตุผลในการอนุญาตไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหลังจากที่ดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานปากผู้เสียหายเบิกความเป็นที่เชื่อฟังได้หรือไม่ ก็ต้องให้ผู้เสียหายเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังคำเบิกความดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หรือไม่ต่อไป แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายซึ่งได้ฟังคำเบิกความของ ว. แล้วก็ตาม แต่หากปรากฏว่าคำเบิกความของผู้เสียหายอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของ ว. พยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ คำเบิกความของผู้เสียหายก็เป็นการผิดระเบียบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13294/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิง: การรับฟังพยานหลักฐาน, ความน่าเชื่อถือ, และการแก้ไขกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสองครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยกระทำที่บ้านพักผู้เสียหาย การกระทำแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่คล้ายกัน ลักษณะการเบิกความของผู้เสียหายเป็นการเบิกความที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันระหว่างการกระทำความผิดในครั้งแรกและครั้งหลังของจำเลย การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยโดยละเอียดในครั้งแรก แล้วเบิกความถึงการกระทำความผิดในครั้งหลังต่อเนื่องไปในคราวเดียวกันว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้ง เมื่อฟังคำเบิกความย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายถูกจำเลยกระทำชำเรารวมสองครั้ง ด้วยพฤติการณ์ที่เหมือนกัน ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้โอนคดีของจำเลยในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในครั้งแรกไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดชุมพรแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากขณะกระทำผิดในครั้งแรกจำเลยอายุ 17 ปี ยังถือเป็นเยาวชนอยู่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่เกี่ยวกับรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยต้องรับฟังแยกกันจนถือว่าเหตุการณ์ครั้งหลังโจทก์นำสืบโดยไม่มีรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยและเป็นการนำสืบไม่สมตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานบอกเล่าและพยานหลักฐานอื่นเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น และอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 18 บัญญัติให้ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้ จำเลยฎีกาว่า การสอบสวนไม่ชอบเพราะ ร. เป็นพนักงานสอบสวนสัญญาบัตร 1 ซึ่งเป็นผู้สอบสวนประจักษ์พยานโจทก์ทั้งหมด แต่ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดให้คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนเป็นพนักงานสอบสวนสัญญาบัตร 3 นั้น เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในเขตอำนาจของสถานีตำรวจภูธรอำเภอหาดใหญ่ที่ ร. ประจำอยู่ ร. จึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ ส่วนระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นระเบียบซึ่งกำหนดวิธีการบริหารภายในของราชการตำรวจ มิได้ทำให้อำนาจการสอบสวนที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. ต้องเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18538/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยาน, การแปลคำเบิกความของพยานชาวต่างชาติ และบทบาทของล่าม
ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่...พยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย...และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลจัดหาล่าม...ให้ถามตอบหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร" จากบทบัญญัติดังกล่าวบ่งชี้ว่า "ผู้ที่จะเป็นล่ามจะเป็นบุคคลใดก็ได้ที่มีความสามารถในการเป็นล่ามแต่จะต้องมิใช่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการหรือศาลซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการสอบสวนหรือซักถามพยานนั้น ได้ความว่าในการสอบสวน จ. และ ม. ผู้ทำการสอบสวนคือร้อยตำรวจตรี ค. ส่วนร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่าม และในการที่ จ. เบิกความต่อศาล ร้อยตำรวจโท ธ. ก็เป็นเพียงล่าม ดังนี้ ร้อยตำรวจโท ธ. จึงเป็นเพียงล่ามที่พนักงานสอบสวน และศาลเป็นผู้จัดหาล่ามให้แก่ จ. และ ม. ตามกฎหมาย แม้ทนายจำเลยได้แถลงคัดค้านเรื่องที่ร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามดังกล่าวในวันสืบพยานโจทก์ แต่ทนายจำเลยก็มิได้แสดงเหตุแห่งคำคัดค้านว่าร้อยตำรวจโท ธ. เป็นล่ามแปลไม่ถูกต้องอย่างไร การที่ร้อยตำรวจโท ธ. ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลในชั้นสอบสวนจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังถ้อยคำของพยานที่แปลนั้นเป็นพยานหลักฐานแต่อย่างใด ส่วนการพิจารณาสืบพยานบุคคลปาก จ. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลนั้น ปรากฏว่าร้อยตำรวจโท ธ. ผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนก่อนแปลคำเบิกความของ จ. ต่อศาลแล้ว การให้การและเบิกความของ จ. ซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12299/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย และการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (1) (8) ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก โจทก์ร่วมทั้งสองมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าปัญหาดังกล่าวสำหรับโจทก์ร่วมทั้งสองยุติลง โจทก์ร่วมทั้งสองไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาโจทก์ร่วมทั้งสองมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 21