คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดทางอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์: การใช้กำลังประทุษร้ายและองค์ประกอบความผิด
คดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้ลงโทษจำคุก จำเลยสามปี เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ และในการ วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
การที่จำเลยทั้งสองมีไม้ตะพดเป็นอาวุธร่วมกันลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ ๑ ใช้ไม้ตะพดตีผู้เสียหาย จำเลยที่ ๒ ใช้มือตบตีพวกของเจ้าทรัพย์นั้น เป็นการกระทำที่ครบ องค์ประกอบความผิดฐานชิงทรัพย์แล้ว หาใช่เป็นเพียงความผิด ฐานลักทรัพย์เท่านั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การครอบครองที่ดินโดยสุจริตและพฤติการณ์ที่ทำให้เข้าใจผิด
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จำเลยไม่มีความผิด (อ้างฎีกาที่ 1462/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1862-1863/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ หากเข้าใจโดยสุจริต ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
จำเลยได้ครอบครองที่พิพาทถึง 30 ปี ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่และได้รับ น.ส.3. ต่อมาทางราชการได้รังวัดปักหลักเขตทำเลเลี้ยงสัตว์สาธารณะ. จำเลยได้ฟ้องเจ้าพนักงานเป็นคดีแพ่ง. เมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน จำเลยยอมรับว่าที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ และฝ่ายเจ้าพนักงานยินยอมให้จำเลยครอบครองที่พิพาทไปก่อน. โดยจะดำเนินการให้ทางราชการถอนสภาพที่พิพาทนั้น เปิดโอกาสให้จำเลยจับจองครอบครองที่พิพาท. แม้จะยังมิได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เพิกถอนที่ดินดังกล่าวก็ตาม.ก็เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่. จึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา. จำเลยไม่มีความผิด.(อ้างฎีกาที่ 1462/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมปล้นทรัพย์โดยมีส่วนร่วมในการขับรถและสนับสนุนการกระทำผิด
เมื่อฟังว่า จำเลยเป็นคนพาพวกปล้นไปว่าเช่ารถจากผู้หนึ่ง โดยออกอุบายว่าจะจ้างไปบรรทุกหวาย. หลังจากที่ได้หยุดรถรับพรรคพวกจนครบแล้วจำเลยก็เข้าทำหน้าที่ขับเอง. และยังได้หยุดรถแจกอาวุธกัน. ต่อจากนั้นจำเลยก็ขับไปยังบ้านที่เกิดเหตุ.เมื่อเสียงปืนดังขึ้นเจ้าของรถเห็นท่าไม่ดีจะขับรถกลับ. จำเลยเองกลับเป็นผู้ใช้กรรไกรขู่ไม่ให้เจ้าของรถลงจากรถ. แล้วจำเลยเลื่อนรถเข้าไปคอยพรรคพวก และพาหนีกลับจนกระทั่งรถน้ำมันหมด.จำเลยจึงทิ้งรถไปกับพวกคนร้าย. ต้องถือว่าตามพฤติการณ์จำเลยได้ร่วมกระทำความผิดด้วยโดยแบ่งหน้าที่รับเป็นผู้ขับรถให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดทางอาญา แม้ผู้อื่นไม่ลงมือทำ ผู้ใช้ก็มีความผิดตามกฎหมาย
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจ ดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม) ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิต กฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52 (1) มาใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ยาทำให้มึนเมาเพื่อชิงทรัพย์ ถือเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยใช้ยาทำให้ผู้เสียหายมึนเมา เป็นเหตุให้ตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะขัดขืนได้ ดังนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อจำเลยได้กระทำการดังนั้นเพื่อให้เป็นความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวและเป็นการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำผิดทางอาญาและผลกระทบของการโอนครอบครองต่อความผิดฐานบุกรุกป่าคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแผ้วถางทำลายป่าคุ้มครองและยึดถือเอาโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อได้ความว่าที่พิพาทนี้ได้มีการโอนการครอบครองต่อ ๆ กันมาอันเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าจำเลยเข้าครอบครองโดยชอบ หาได้จงใจฝ่าฝืนกฎหมายไม่ ขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา จึงลงโทษตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า ฯ กับประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้ และเป็นคนละประเด็นกับข้อที่ว่า แม้มีผู้เคยมีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนและโอนต่อ ๆ มา เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้เป็นป่าคุ้มครอง ก็ไม่ทำให้ที่นั้นหมดสภาพเป็นป่าคุ้มครอง (อ้างฎีกาที่ 922/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยการแสดงข้อความเท็จเพื่อยืมเงิน การทำสัญญาและการชำระคืนหลังเกิดเหตุ ไม่กระทบความผิดทางอาญา
การที่จำเลยร่วมกันแสดงข้อความอันเป็นเท็จเป็นเหตุให้ได้เงินยืมของทางราชการไป อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาโดยครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยทำสัญญายืมเงินให้กรมตำรวจไว้ตามระเบียบ ตลอดจนเมื่องเรื่องปรากฏความจริงขึ้น และจำเลยมิได้ส่งใช้เงินคืนกรมตำรวจ กรมตำรวจจึงได้หักเงินเดือนจำเลยใช้เงินยืม ก็เป็นเรื่องภายหลังการที่หลอกลวงได้รับเงินยืมสำเร็จไปก่อนแล้ว เมื่อเรื่องปรากฏความจริงขึ้นภายหลัง กรมตำรวจจึงถือปฏิบัติไปตามสัญญายืมอันเป็นความรับผิดที่จำเลยมีอยู่ในทางแพ่งควบคู่กับความรับผิดทางอาญา หาทำให้การที่จำเลยร่วมกระทำผิดทางอาญากลับไม่เป็นความผิดไปอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความก่อนหรือหลังเกิดความผิดทางอาญา และความยินยอมของผู้เสียหายเป็นเหตุยกเว้นความผิด
การยอมความในความผิดอันยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสอง และ39(2) นั้น เป็นการกระทำภายหลังที่ความผิดได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่การที่จะกระทำกันไว้ล่วงหน้าก่อนการกระทำความผิด ข้อตกลงล่วงหน้าก่อนมีการกระทำความผิดจะถือเป็นการยอมความตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้
บุคคลจะตกลงกันไว้ก่อนว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญา ถ้าหากจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นต่อไปข้างหน้านั้น ข้อตกลงนั้นหามีผลก่อให้เกิดหนี้ที่จะผูกพันคู่กรณีให้จำต้องงดเว้นไม่ฟ้องคดีอาญาเช่นว่านั้นแต่ประการใดไม่ เพราะอำนาจฟ้องคดีอาญาจะมีอยู่หรือไม่นั้น มิได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายลักษณะหนี้ในทางแพ่ง หากอยู่ภายในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาอีกส่วนหนึ่ง
ข้อตกลงว่าจะไม่ฟ้องคดีอาญานั้น อาจถือเป็นความยินยอมให้กระทำการที่ตามปกติต้องด้วยบทบัญญัติว่าเป็นความผิดได้มีหลักทั่วไปเป็นเหตุยกเว้นความผิดอาญาตามนัยฎีกาที่616/2482 และ 787/2483 ว่า ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้เสียหายให้ผู้ใดกระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้น ถ้าความยินยอมนั้นไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรมอันดีและมีอยู่จนถึงขณะกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดนั้นแล้ว ความยินยอมนั้นเป็นข้อยกเว้นมิให้การกระทำนั้นเป็นความผิดขึ้นได้
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย แม้ไม่ผูกพันโจทก์ให้ยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่โจทก์ก็ได้ยินยอมให้จำเลยออกเช็คโดยจะไม่ฟ้องเป็นความผิดอาญา เป็นความยินยอมที่มีอยู่จนถึงขณะที่จำเลยออกเช็ค โดยรู้ว่าไม่มีเงินในธนาคาร อันเป็นการกระทำโดยเจตนาที่เป็นองค์ความผิดประการหนึ่งซึ่งจำเลยได้กระทำลงตามความยินยอมของโจทก์ ความผิดกรณีนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือได้ว่าความยินยอมของผู้เสียหายในการกระทำฐานนี้ไม่ขัดต่อความสำนึกในศีลธรรม การกระทำที่โจทก์ฟ้องจึงไม่เป็นความผิดในทางอาญา(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: การฝากกระเป๋าถือชั่วคราวไม่ถือเป็นการสละการครอบครอง
ผู้เสียหายฝากกระเป๋าถือแก่จำเลยเพื่อเข้าห้องส้วม ขณะผู้เสียหายเข้าห้องส้วมจำเลยได้เปิดกระเป๋าถือเอาสร้อยกับธนบัตรของผู้เสียหายไปเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งกำลังโดยสารอยู่ในเรือประจำทางเหตุเกิดที่ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทางพิจารณาไม่แน่ว่าขณะเกิดเหตุเรือแล่นอยู่ในเขตตำบลปากพนังตามฟ้องหรือแล่นเข้าไปในเขตตำบลหูล่องกับตำบลบ้านเกิงซึ่งติดต่อกันแล้วคงได้ความเพียงว่า เหตุเกิดในเรือโดยสารซึ่งเดินจากอำเภอปากพนังไปอำเภอหัวไทรดังนี้ ยังไม่พอถือเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องจนถึงขนาดจะยกฟ้อง
of 34