พบผลลัพธ์ทั้งหมด 304 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินจากการมอบหมายให้ซื้อของ – อายุความสิบปี
โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปซื้อแร่ให้โจทก์ เมื่อไม่ได้มีการซื้อแร่ด้วยประการใดก็ต้องคืนโจทก์ เพราะเป็นเงินของโจทก์มอบให้จำเลยไปจัดการแทน หาใช่เป็นเงินที่จำเลยออกแทนโจทก์ไปก่อนตามความหมายของคำว่าทดรองไม่ มูลหนี้ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกเอาทรัพย์ที่มอบให้จำเลยไว้คืนจากจำเลย ซึ่งมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรรมการผู้จัดการของโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความโดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยมูลคดี โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกัน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่ากรรมการผู้จัดการของโจทก์ลงชื่อในใบแต่งทนายความโดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยมูลคดี โจทก์ฟ้องคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนเงินค่าธรรมเนียมเมื่อยื่นอุทธรณ์และการพิพากษากลับคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ผู้อุทธรณ์ชนะคดี ผู้อุทธรณ์ชอบที่จะขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่วางไว้ต่อศาลเมื่อยื่นอุทธรณ์คืนได้ ศาลชั้นต้นยังไม่คืนผู้อุทธรณ์อุทธรณ์คำสั่งได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนเงินจำนวนที่จำเลยวางศาลไว้นี้ โจทก์ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงบริษัทประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน แม้ฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 ข้อ 7 ว่า "การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละสองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท..............." ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วย แต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ขัดต่อกฎกระทรวงออกตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิตเป็นโมฆะ ผู้กู้ต้องคืนเงิน
กฎกระทรวงฉบับที่ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2510 ข้อ 7 ว่า 'การให้กู้ยืมแก่พนักงานของบริษัทโดยมีผู้ค้ำประกันนั้น บริษัทจะให้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ สองของราคาสินทรัพย์ของบริษัทตามบัญชีงบดุลที่มีอยู่ในวันสิ้นปีบัญชีครั้งสุดท้าย จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมแต่ละรายต้องไม่เกินหกเท่าของจำนวนเงินเดือนที่พนักงานผู้นั้นได้รับจากบริษัทในเดือนสุดท้ายก่อนเดือนที่จะให้กู้ยืม และไม่เกินสองหมื่นบาท ' ฉะนั้น การที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทโจทก์กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท นั้น จึงขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว สัญญากู้ระหว่างบริษัทโจทก์และจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดด้วยแต่จำเลยที่ 1 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเบื้องต้นยังไม่เป็นสัญญา จำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
เอกสารว่ารับเงินมัดจำแล้ว จะทำสัญญาก่อสร้างให้ถูกต้องในวันที่ 20 ฯ และชำระเงินอีกจำนวนหนึ่ง ดังนี้โจทก์จำเลยเถียงกันเรื่องรายละเอียดได้ตกลงกันแล้วหรือไม่กรณีจึงเป็นที่สงสัย ยังไม่นับว่ามีสัญญากัน จำเลยต้องคืนมัดจำและเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อ: การคืนเงินค่าเช่าซื้อหลังจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยหักค่าประโยชน์ที่โจทก์ได้รับ
กรณีที่ถือได้ว่าผู้เช่าและเจ้าของทรัพย์สินมีเจตนาเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 เงินที่ผู้เช่าชำระให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเป็นค่าเช่าไปแล้วนั้นต้องหักค่าที่ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อออกเสียก่อน ที่เหลือจึงคืนแก่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากข้าราชการ กรณีปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยระเบียบ ไม่ใช่ค่าเสียหาย แต่เป็นหน้าที่คืนเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลนักเรียนไทยประจำสถานฑูตในต่างประเทศ มีหน้าที่ควบคุมฝ่ายการเงินและการบัญชีเสมือนเป็นหัวหน้ากองคลังเมื่อทางราชการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบเงิน แล้วแจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยเบิกจ่ายใช้เงินไม่ชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยได้แสดงหลักฐานการเบิกจ่ายใช้เงินดังกล่าวให้ทางราชการตรวจสอบ โดยอ้างว่าได้เบิกจ่ายใช้ไปโดยสุจริตและชอบด้วยระเบียบแล้ว แม้เงินนั้นจำเลยจะได้ถอนจากธนาคารไปในระหว่าง พ.ศ.2501 ถึง 2505แต่ใน พ.ศ.2506 จำเลยก็ได้นำเงินเข้าฝากธนาคารบางส่วนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้เอาเงินของทางราชการไปเป็นส่วนตัวตั้งแต่วันที่ถอนเงิน เพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาเงินดังกล่าวแทนทางราชการอยู่ จะถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารหาได้ไม่ และเมื่อทางราชการได้ตรวจสอบใบสำคัญในการใช้จ่ายเงินที่จำเลยเบิกมาจากธนาคารแล้วเห็นว่ามีบางรายการจำเลยใช้จ่ายไปโดยไม่ชอบได้สั่งให้จำเลยใช้เงินคืน จึงต้องถือว่าเงินที่สั่งให้ใช้คืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ จำเลยจะต้องคืนตามที่ทางราชการกำหนดให้เมื่อนับแต่นั้นถึงวันฟ้องยังไม่พ้น 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหาย จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม: การคืนเงินค่าประกันภัยที่จ่ายไปแล้วในการเช่าซื้อรถ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวขอซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยระบบเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ได้ชำระเงินมัดจำโดยสั่งจ่ายเช็คฉบับละ 5,000 บาทหลายฉบับ ต่อมาได้สั่งจ่ายเช็คอีก 2 ฉบับ มอบให้โจทก์แทนเช็คฉบับก่อนเช็ค 2 ฉบับนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ลงนามเป็นผู้สั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินตามเช็คจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าประกันรถที่เช่าซื้อจากโจทก์คันละ 5,000 บาทให้โจทก์เป็นผู้ไปประกันแล้วเอาสัญญาประกันภัยมามอบให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงจ่ายเช็คของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ไป 6 ฉบับๆ ละ 5,000 บาทโจทก์นำเช็ค 4 ฉบับเบิกเงินจากธนาคารไปแล้ว แต่ไม่นำสัญญาประกันภัยมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่นำเงินเข้าบัญชีจำเลยที่ 1 จึงถูกตำรวจเรียกตัวไป แต่ตกลงกันได้โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินให้โจทก์ตามเช็ค 2 ฉบับอีก 6,000 บาท จะจ่ายภายใน 3 วัน โจทก์มิได้ประกันภัยและนำสัญญาประกันภัยรถยนต์มาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้ง ขอให้โจทก์คืนเงิน 24,000 บาท เงิน 24,000 บาทที่จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งเรียกคืนนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเนื่องจากจำเลยที่ 2 จ่ายเป็นเช็คให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถไปจากโจทก์โดยเป็นเงินที่จำเลยที่ 2 จ่ายเป็นค่าประกันภัยรถที่เช่าซื้อจากโจทก์ คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินของกลางในคดีปล้นทรัพย์: เงินของกลางไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนของผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปล้นเอาธนบัตร 4,000 บาทของเจ้าทรัพย์ไปต่อมาจับจำเลยได้และได้ธนบัตรรวม 1,780 บาทจากจำเลยที่ 2เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษและคืนธนบัตร 1,780 บาทของกลางแก่เจ้าทรัพย์และให้จำเลยคืนหรือใช้ธนบัตรอีก 2,220 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่เจ้าทรัพย์ด้วย เมื่อเงินของกลาง 1,780 บาทนี้ผู้เสียหายมิได้เป็นเจ้าของ แม้จะเป็นของคนร้ายที่ร่วมปล้นซึ่งต้องใช้คืนผู้เสียหายอยู่แล้วการที่จะพิพากษาให้คืนแก่ผู้เสียหายนั้น ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 49, 50 และเมื่อเงินของกลางนี้ไม่อาจถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนอันผู้เสียหายจะพึงได้รับด้วยการที่ศาลสั่งคืนให้แล้วก็ย่อมไม่ต้องนำไปหักออกจากจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง จำนวนเงิน 1,780 บาทนี้จึงกลับไปรวมอยู่ในจำนวนค่าเสียหาย 4,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องว่าผู้เสียหายพึงได้รับค่าสินไหมทดแทน ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 4,000 บาท แก่ผู้เสียหายธนบัตรของกลาง 1,780 บาทให้คืนจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกลักมา ผู้ขายต้องคืนเงินให้ผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินหลุดไปเนื่องจากสิทธิของเจ้าของเดิม
ปากกาหมึกซึมเป็นของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกคนร้ายลักไปจากโกดังเก็บสินค้าที่สนามบิน จำเลยรับซื้อปากกาเหล่านั้นไว้โดยรู้ว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์แล้วเอามาขายให้โจทก์ซึ่งรับซื้อไว้โดยสุจริตภายหลังตำรวจมายึดเอาปากกาไปจากโจทก์แล้วคืนให้เจ้าของไปตามคำพิพากษาของศาล ถือว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันหลุดไปจากโจทก์เพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิ จำเลยผู้ขายต้องคืนเงินค่าปากกาให้โจทก์ผู้ซื้อ