พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2483
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง: การยื่นสมัครโดยรู้ว่าขาดคุณสมบัติและผลทางกฎหมาย
พฤตติการณ์ที่ถือว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งยื่นใบสมัคร์โดยรู้ว่าไม่มีพื้นความรู้พอ อายุความในมาตรา 25 , + ใช้สำหับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต้องขอให้เพิกถอนการสมัคร์รับเลือกตั้ง จะใช้บังคับแก่กรณีที่อัยยการฟ้องขอให้ลงโทษไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน แม้เวลานานแล้ว ก็ไม่สามารถรอการลงอาญาได้
จำเลยเคยต้องคำพิพากษามาครั้งหนึ่งเป็นเวลานานตั้ง 10 กว่าปีมาแล้วบัดนี้มากระทำผิดขึ้นอีก ศาลพิพากษาลงโทษเช่นนี้จะรอการลงอาญามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกหลายสำนวนเป็นครั้งเดียวเพื่อพิจารณาคุณสมบัติการมีอาวุธปืน
การที่จำเลยต้องคำพิพากษารวม 3 สำนวนโดยให้นับโทษติดต่อกันไปนั้น ถือว่าจำเลยรับโทษครั้งเดียว ไม่ทำให้ขาดคุณสมบัติในการที่จะได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนอันจะเป็นความผิดตามกฎหมายข้างต้น+
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7574/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากขาดคุณสมบัติจากคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เป็นโทษจำคุกรอการลงโทษ
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานและเหตุที่พนักงานจะต้องพ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 มาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2550 ซึ่งมีผลใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจและพนักงานทุกคนตามวันที่บทกฎหมายดังกล่าวกำหนด กฎหมายดังกล่าวมิใช่เป็นบทกฎหมายกำหนดความผิดที่มีโทษในทางอาญาที่จะต้องใช้ขณะกระทำความผิดและต้องห้ามมิให้ใช้บังคับย้อนหลังไปก่อนการกระทำความผิด
เมื่อมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับในวันที่ 6 กันยายน 2550 โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยจึงต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว คือ ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้วแต่กรณีเกิน 5 ปี เมื่อโจทก์กระทำความผิดกฎหมายอาญา และคดีถึงที่สุดในวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โจทก์จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นพนักงานตามมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติม อันเป็นเหตุให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งพนักงานตามมาตรา 11 (3) จำเลยยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ได้ คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยชอบแล้ว
เมื่อมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับในวันที่ 6 กันยายน 2550 โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยจึงต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าว คือ ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่ เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษหรือพ้นระยะเวลาการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษแล้วแต่กรณีเกิน 5 ปี เมื่อโจทก์กระทำความผิดกฎหมายอาญา และคดีถึงที่สุดในวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โจทก์จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นพนักงานตามมาตรา 9 (5) ที่แก้ไขเพิ่มเติม อันเป็นเหตุให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งพนักงานตามมาตรา 11 (3) จำเลยยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ได้ คำสั่งเลิกจ้างของจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติทนายความหลังล้มละลาย: ผลต่อกระบวนการยุติธรรมและการแจ้งนัด
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 35 (7) กำหนดให้ผู้ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความต้องไม่เป็นบุคคลผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าเมื่อปรากฏต่อคณะกรรมการสภาทนายความว่า ทนายความผู้ใดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 35 ให้ทนายความผู้นั้นพ้นสภาพการเป็นทนายความและให้คณะกรรมการทนายความจำหน่ายชื่อทนายความผู้นั้นออกจากทะเบียนทนายความ อันมีผลให้ทนายความผู้นั้นขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) เมื่อยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการสภาทนายความได้จำหน่ายชื่อ ณ. ออกจากทะเบียนทนายความ ณ. จึงยังไม่ขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 ดังนั้นกระบวนพิจารณาของศาลที่ ณ. เป็นทนายความจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้ ณ. ทนายความจำเลยที่ 2 ได้โดยชอบจึงถือว่าฝ่ายจำเลยที่ 2 ทราบนัดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคุณสมบัติข้าราชการ: โจทก์ไม่ได้แจ้งประวัติอาญาที่มีการล้างมลทิน ทำให้คณะกรรมการฯ ไม่นำกฎหมายมาพิจารณา
โจทก์พยายามปฏิเสธว่าโจทก์ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน โดยไม่มีการหยิบยกข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนและได้พ้นโทษแล้ว เข้าเงื่อนไขหรือองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ขึ้นอ้างเป็นประโยชน์แก่ตนต่อคณะกรรมการฯ ผู้แทนจำเลยที่ 1 ในระหว่างสอบสวนคุณสมบัติของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เคยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อคณะกรรมการฯ ผู้แทนจำเลยที่ 1 คณะกรรมการฯ ผู้แทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ทราบและไม่ได้นำ พ.ร.บ.ล้างมลทินฯ ดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาให้ กรณีจึงหาเป็นความผิดของคณะกรรมการฯ ผู้แทนจำเลยที่ 1 ไม่ มติของคณะกรรมการฯ ผู้แทนจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ข้อมูลยาเสพติดต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ จึงจะได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ผู้กระทำความผิดจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยเหตุสองประการ กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และข้อมูลนั้นจะต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ลำพังเพียงการให้ข้อมูลแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นประโยชน์ธรรมดาที่มิได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หรือเป็นประโยชน์แต่มิใช่ข้อมูลที่สำคัญ ผู้ให้ข้อมูลหาได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าวไม่ การที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ติดต่อผู้ที่จำหน่ายยาเสพติดให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถจับกุมผู้ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าขายยาเสพติดให้ตนได้ คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15348/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างข้าราชการระดับสูงที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาคุณสมบัติผู้บริหารและผลกระทบต่อองค์กร
แม้ศาลแรงงานกลางจะรับฟังข้อเท็จจริงว่า สาเหตุที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จะไม่ใช่เพราะโจทก์ขาดประสิทธิภาพในการทำงานถึงขนาดต้องเลิกจ้างก็ตาม แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ขาดวุฒิภาวะในการเป็นผู้บริหารระดับสูง ใช้อารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้เพื่อนร่วมงานไม่อาจทำงานร่วมกับโจทก์ได้ ศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงมาแล้วว่า มีพนักงานในแผนกของโจทก์ 2 คน ในจำนวน 4 คนลาออก เพราะไม่สามารถทนร่วมงานกับโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นผู้บริหารระดับสูงของจำเลยที่ 1 คุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารและความสามารถในการบังคับบัญชาบริหารจัดการภายในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ การที่โจทก์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเลิกจ้างโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นไปโดยมีเจตนากลั่นแกล้ง จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12355/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างต้องพิจารณาคุณสมบัติสหภาพแรงงานแต่ละราย สหภาพแรงงานรวมกันไม่ได้
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคสอง บัญญัติถึงสัดส่วนกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน 1 คน ในกรณีที่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการเกิน 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน ดังนี้สัดส่วนของคณะกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนเพียงใดต้องพิจารณาคุณสมบัติของสหภาพแรงงานแต่ละรายไป ไม่อาจนำจำนวนสมาชิกของหลายสหภาพแรงงานมารวมคำนวณสัดส่วนของกรรมการลูกจ้าง
จำเลยมีลูกจ้างประมาณ 1,500 คน โจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงานมาลาพลาสซึ่งมีสมาชิกประมาณ 24 คน อันเป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานมาลาพลาสจึงนำจำนวนสมาชิกของตนไปรวมกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานอื่นเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานเกิน 1 ใน 5 แล้วแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมาลาพลาส 1 คน ไม่ได้ จำเลยใช้สิทธิตรวจสอบจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไปยังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 45 วรรคสาม ที่บัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้รับคำตอบจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการว่าการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับที่ประชุมสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน มีมติแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างตามลำดับของกรรมการสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างเกลียดชังมากที่สุด เป็นการลงมติโดยไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์จึงไม่เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานโดยชอบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
จำเลยมีลูกจ้างประมาณ 1,500 คน โจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงานมาลาพลาสซึ่งมีสมาชิกประมาณ 24 คน อันเป็นสหภาพแรงงานที่มีสมาชิกไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด สหภาพแรงงานมาลาพลาสจึงนำจำนวนสมาชิกของตนไปรวมกับจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานอื่นเพื่อให้มีจำนวนสมาชิกของสหภาพแรงงานเกิน 1 ใน 5 แล้วแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างให้มีจำนวนมากกว่ากรรมการอื่นที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานมาลาพลาส 1 คน ไม่ได้ จำเลยใช้สิทธิตรวจสอบจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานไปยังพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 45 วรรคสาม ที่บัญญัติให้นำมาตรา 15 วรรคสามและวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้รับคำตอบจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการว่าการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างของสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับที่ประชุมสหภาพแรงงานทั้ง 4 สหภาพแรงงาน มีมติแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างตามลำดับของกรรมการสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างเกลียดชังมากที่สุด เป็นการลงมติโดยไม่สุจริต ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์จึงไม่เป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานโดยชอบ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องขออนุญาตจากศาลแรงงานก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8624/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินนิคมสร้างตนเองที่ได้มาจากการพิจารณาคุณสมบัติทายาทหลังสมาชิกเสียชีวิตเป็นสินสมรสได้
การที่ทายาทจะเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองแทนสมาชิกที่ตายก่อนได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินได้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 30 นั้น ต้องผ่านการพิจารณาคัดเลือกทายาทโดยธรรมจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกทายาทโดยธรรมว่ามีคุณสมบัติตามมาตรา 22 ก่อน ซึ่งเป็นการพิจารณาคัดเลือกทายาทจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของทายาท จึงไม่ใช่สิทธิตกทอดแก่ทายาทในทันทีที่สมาชิกตาย ภายหลังที่ ม. ถึงแก่ความตาย จำเลยและ บ. ไปยื่นคำร้องต่อนิคมสร้างตนเองลำตะคลอง เพื่อขอรับสิทธิการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแทน ม. และคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกทายาทพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเลยและ บ. มีคุณสมบัติครบถ้วน ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงประกาศจัดสรรที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้จำเลยและ บ. ในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย หลังจากที่จำเลยได้สิทธิครอบครองตามประกาศดังกล่าวจำเลยได้ทำกินกับโจทก์ในที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะไม่มีชื่อในเอกสารสิทธิและไม่ได้เป็นผู้ได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิกของนิคมสร้างตนเองลำตะคลองก็ตาม แต่โจทก์ในฐานะภริยาของจำเลยก็ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะทำกินหาผลประโยชน์จากที่ดินพิพาทรวมทั้งผลประโยชน์ที่หาได้จากที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทย่อมเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลย แม้ที่ดินพิพาทจะอยู่ในเงื่อนไขว่า ภายในห้าปีนับแต่ได้สิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์จะโอนแก่ผู้อื่นไม่ได้ก็ตาม แต่ก็มิใช่ข้อห้ามโดยเด็ดขาด เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจำเลยก็ได้สิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์เช่นเดียวกับสิทธิครอบครองหรือกรรมสิทธิ์โดยทั่วไป อันเป็นผลมาจากการที่จำเลยได้สิทธิดังกล่าวมาตั้งแต่ยังเป็นสามีภริยากับโจทก์นั่นเอง เมื่อที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาในระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งจะต้องนำมาแบ่งให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) และมาตรา 1533