คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันการทำงาน - ลูกหนี้ร่วม - การตีความสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองต่างยอมตนเข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานของด. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นหนี้รายเดียวกันแต่ค้ำประกันต่างวาระและสัญญาคนละฉบับกันก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันโจทก์จะอ้างว่าคู่กรณีมีเจตนาต้องการให้จำเลยทั้งสองแยกรับผิดเป็นคนละจำนวนกันซึ่งให้มีผลบังคับเป็นอย่างอื่นจากบทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1715/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการค้ำประกัน, ภูมิลำเนา, เหตุล้มละลาย: การพิจารณาคำฟ้องขอให้ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะผู้ส่งออกเพื่อจัดซื้อและเตรียมส่งสินค้าออกไปต่างประเทศโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วยมิใช่ฟ้องบังคับจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยตรงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่2ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30วันแม้ไม่มีผู้รับหนังสือก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่2หลบเลี่ยงไม่ยอมรับถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วพฤติการณ์ของจำเลยที่2ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา 112 ตรี ไม่ครอบคลุมกรณีผิดเงื่อนไขการค้ำประกันตามมาตรา 19 ทวิ/19 ตรี
การที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา112ตรีนั้นมีได้2กรณีคือกรณีที่มิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา112ทวิกับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา40เท่านั้นไม่รวมถึงกรณีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา19ตรีทั้งสาระสำคัญของมาตรา40กับมาตรา19ตรีก็แตกต่างกันกล่าวคือตามมาตรา40นั้นกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรทั่วๆไปแต่มาตรา19ตรีเป็นเรื่องการค้ำประกันการนำเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา19ทวิที่เกี่ยวกับสิทธิในการขอคืนอากรขาเข้าและเป็นกรณีสำหรับเฉพาะสินค้าหรือสิ่งของบางประการหรือบางกรณีดังนั้นบทบัญญัติตามมาตรา40จึงมิได้ใช้บังคับกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีเมื่อการจะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีมิได้ระบุถึงกรณีตามมาตรา19ทวิและ19ตรีจึงไม่อยู่ในข่ายที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มตามมาตรา112ตรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกเหนือจากมาตรา 733 และอายุความบังคับคดี ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นได้ แม้ว่าจะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ก็ตามแต่หนี้ที่ น.ลูกหนี้ค้างชำระแก่โจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้อง น. โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ น. อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์จำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจำนองนอกเหนือจากมาตรา 733 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการหลุดพ้นจากความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา733บัญญัติไว้ได้เช่นในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใดผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนแต่หนี้ที่น. ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันสัญญาค้ำประกันที่ทำต่อหน้าศาล แม้มีลายมือชื่อจำกัด
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมีคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยได้นำตัว ช.มาทำสัญญาค้ำประกันตามที่ตกลงกันจึงให้ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันเสนอมาในวันนี้ด้วยแล้วแม้หนังสือสัญญาค้ำประกันคงมีแต่เพียงลายมือชื่อของ ช. กับจ่าศาลลงไว้เท่านั้นก็ถือได้ว่า ช. ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในศาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา274แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันยังไม่ระงับ หนี้หลักยังไม่สิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัตตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน4,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระ ให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่การปลดหนี้ หากเกิดจากการถูกหลอกลวงให้มอบเอกสารคืน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน 4,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน4,000,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนหนังสือค้ำประกันด้วยกลอุบายหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลดหนี้ค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืนนั้นเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้อุบายหลอกลวงจึงมิใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340
of 61