คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยสุจริต แม้ทราบการซื้อขายแล้ว หากมีเหตุเชื่อว่ามีการฉ้อฉล ไม่เป็นละเมิด
แม้จำเลยที่ 2 รู้ว่า พ. ขายทรัพย์พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่เมื่อมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่า พ. สมคบกับโจทก์ฉ้อฉลจำเลยการที่จำเลยนำยึดทรัพย์พิพาทในการบังคับคดีจึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2873/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยสุจริตของผู้ซื้อช่วง ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 แม้ผู้ขายช่วงจะกระทำการฉ้อฉล
ที่ดินของลูกหนี้โอนขายแก่ ส. ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ซื้อที่ดินรับโอนโฉนดจาก ส. โดยสุจริตและชำระราคาที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกันให้แก่ ส. แล้วย่อมได้รับความคุ้มครองตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์นำยึดที่ดินของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองเช่าโมฆียะจากความสำคัญผิดและฉ้อฉล การคืนเงินมัดจำเมื่อบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยประกาศโฆษณาจะทำการก่อสร้างตลาดและตึกแถวให้ประชาชนเช่า โจทก์จึงไปจองเช่าตึกแถวบริเวณรอบนอกตลาดกับจำเลย ต่อมาจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะก่อสร้างตึกแถวขึ้นอีกแถวหนึ่งภายในบริเวณตลาดซึ่งบังหน้าตึกแถวที่โจทก์จองเช่าไว้ ทำให้ทำเลการค้าของโจทก์เสียไป โจทก์ขอเลิกสัญญากับจำเลย และขอเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีประเด็นเรื่องสัญญาจองเช่าตึกแถวเป็นโมฆียะด้วยหรือไม่แต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติแห่งทรัพย์ และจำเลยฉ้อฉลโจทก์ สัญญาจองเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมยกทรัพย์เนื่องจากความเสียหายจากคำหมิ่นประมาทและการฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ด่าโจทก์ว่าโจทก์ประพฤติตัวไม่ดี เคยมีชู้ ถือได้ว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) โจทก์ถอนคืนการให้ได้และเมื่อจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่พิพาทที่โจทก์ยกให้นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อไปเพื่อจะไม่ให้โจทก์เรียกคืนโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 หาจำเป็นที่โจทก์จะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยรู้ว่ามีการสั่งห้ามจ่าย และนำไปใช้ระบุเท็จเพื่อฉ้อฉล ถือเป็นการคบคิดฉ้อฉล
จำเลยที่ 1 ออกเช็คให้ ม. เป็นการชำระหนี้ค่าสินค้าที่จำเลยที่ 1 ซื้อจาก ม. ม. โอนเช็คให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 สั่งห้ามธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเพราะ ม. ผิดสัญญาซื้อขาย แต่เพื่อที่จะให้ได้เงินตามเช็ค จำเลยที่ 2 จึงโอนเช็คให้โจทก์โดยอ้างว่าเป็นการชำระราคาที่ดินที่ซื้อจากโจทก์ ซึ่งไม่เป็นความจริง ดังนี้การโอนเช็คระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นการโอนโดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกอันเกิดจากการฉ้อฉลของผู้จัดการมรดกต่อทายาท
ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายทรัพย์มรดกอันเกิดจากการฉ้อฉลของผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดกโอนขายทรัพย์มรดกให้แก่ผู้อื่นโดยไม่สุจริตหรือสมยอมกันดังนี้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้และเป็นฝ่ายต้องเสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: ทายาทโดยชอบธรรม, ผู้จัดการมรดก, และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
ผู้คัดค้านร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกอ้างว่าศาลเพิกถอนคำสั่งเพราะสั่งไปโดยผิดหลง โดยผู้ร้องแถลงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดความจริงศาลชั้นต้นยกคำร้อง ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ถูกต้อง มิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกมาเสนอศาล และฉ้อฉลทรัพย์มรดกไว้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้ ประเด็นที่จะวินิจฉัยในคำร้องฉบับหลังนี้เป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกับคำร้องฉบับแรกไม่เป็นการร้องซ้ำ
ทายาทที่จะร้องต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกเท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629
ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้อยู่กินร่วมกันกับสามีจนสามีถึงแก่ความตาย เมื่อมีทรัพย์สินได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยา ย่อมถือว่า เป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ ร่วมกัน จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้เรื่องเงื่อนไขเช็คและการโอนเช็คโดยฉ้อฉล ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดใช้เงินตามเช็ค
ตามคำให้การของจำเลยว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไขว่า โจทก์จะไปขึ้นเงินตามเช็คได้ต่อเมื่อ ว. โอนกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ให้แก่จำเลย เพราะจำเลยออกเช็คเพื่อใช้หนี้แทน ป. น้องชายของจำเลย แต่จำเลยกลับนำสืบว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่พ.เจ้าหนี้คนหนึ่งของป.โดยพ. ได้ทราบข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าว ต่อมา ว. ไม่ยอมโอนอู่ซ่อมรถยนต์ให้จำเลยจำเลยจึงแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินแล้ว พ. กลับโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อให้โจทก์นำเช็คมาฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องจำเลยต่อสู้ว่าพ. ผู้ทรงคนก่อนโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ผู้ทรงคนปัจจุบันด้วยคบคิดกันฉ้อฉล ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงนอกประเด็นพิพาท รับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2777/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินสมรสระหว่างคดีหย่าเพื่อฉ้อฉล ศาลเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรสซึ่งรวมทั้งที่ดินแปลงที่พิพาท ระหว่างพิจารณาคดีจำเลยได้ขอให้ทางราชการออก น.ส.3. และโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องไปในวันเดียวกัน โดยไม่รอฟังผลคำชี้ขาดของศาลเสียก่อน พฤติการณ์ของจำเลยกับผู้ร้องส่อให้เห็นเจตนาร่วมกันที่จะฉ้อฉลโจทก์ เพื่อมิให้ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้หย่าขาดจากกัน ผู้ร้องจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท
of 30