คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อโกง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จฐานฉ้อโกง: จำเลยมีสิทธิฟ้องได้หากข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนว่าเงินที่ให้เป็นการซื้อขายหรือลงทุน
เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยมอบเงินจำนวน60,000 บาทให้โจทก์เพื่อการซื้อหวาย หรือเพื่อการลงทุนเข้าหุ้นส่วนทำไม้กันแน่ คงฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยและจำเลยยังไม่ได้รับเงินคืน การที่จำเลยใช้สิทธิทางศาลฟ้องโจทก์ฐานฉ้อโกงจึงไม่เป็นฟ้องเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือ พ.ร.บ.จัดหางาน
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของจำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่า จำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ตามฟ้อง
โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงานคนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1ปิดไว้ก็ตาม แต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ.มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการรับปากช่วยฝากเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก ศาลฎีกายืนยันผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยตกลงกับ ร.ว่าถ้าให้เงิน60,000บาทบุตรของร.จะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ร. ได้ต่อรองเหลือ 50,000 บาทและ ร.ได้มอบเงินแก่จำเลยจนครบถ้วนแล้วแต่ต่อมาบุตรของร.สอบเข้าเรียนไม่ได้ เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ก็เป็นการหลอกลวง ร.ทั้งไม่ปรากฏว่าร. ได้ให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการสอบคัดเลือกให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรของ ร.จึงเป็นการหลอกลวงร. เพื่อต้องการได้เงินจาก ร.เท่านั้นไม่ถือว่าร. ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดร. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงและได้รับเงินไปจากผู้เสียหายหรือไม่ เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายบุหรี่เงินเชื่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
จำเลยทั้งสองเคยติดต่อซื้อบุหรี่จำนวนมากจาก ณ. ซึ่งซื้อมาจากร้านสหกรณ์ในราคาถูกกว่าท้องตลาด ณ. เป็นลูกค้าซื้อบุหรี่เงินเชื่อประเภทขายส่งของร้านสหกรณ์มานาน ในวันเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองได้มอบเงินให้ ณ. ไปซื้อบุหรี่ด้วยความหวังว่าจะได้บุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเช่นเคย แต่ ณ. เป็นหนี้ค่าบุหรี่ร้านสหกรณ์จำนวน 98,282.20 บาท โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานการเงินของสหกรณ์รับเงินจาก ณ. แล้ว แทนที่จะมอบบุหรี่ตามจำนวนเงินที่มาขอซื้อ กลับนำเงินมาหักหนี้ที่ ณ.ค้างชำระอยู่ โดยเชื่อว่าเป็นเงินของ ณ. เอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่สามารถเรียกเงินคืนจาก ณ. ได้ จึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอันเป็นเท็จว่า จำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ได้นำเงินจำนวน56,205 บาท และ 45,000 บาท ตามลำดับ มาขอซื้อบุหรี่จากร้านสหกรณ์ด้วยตนเองไม่เกี่ยวกับ ณ. โจทก์รับเงินแล้วไม่ส่งมอบบุหรี่ตามจำนวนที่ขอซื้อเป็นการฉ้อโกงจำเลยทั้งสองเพื่อบีบบังคับให้โจทก์คืนเงิน เป็นเหตุให้โจทก์ถูกดำเนินคดีและต้องถูกควบคุมตัว ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นประกันภัย: เจตนาทุจริตฉ้อโกงไม่ใช่การลักทรัพย์
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส.และ พ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จาก บ. ซึ่ง บ.เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ.บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อโกงเช่ารถยนต์และการรับประกันภัย: กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิด
การที่คนร้ายอ้างว่าชื่อ ส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์โดยระบุโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบขออนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อบ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์ไปจากบ. แล้ว คนร้ายไม่นำมาคืนแสดงให้เห็นว่าคนร้าย มีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ. ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้น ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์ บ. หลงเชื่อว่าเป็นความจริงจึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีประสงค์จะเช่ารถยนต์ การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ความผิดฐาน ลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายจากฉ้อโกง แม้ใช้เอกสารปลอมเช่ารถ แต่เป็นการหลอกลวงตั้งแต่ต้น
กรมธรรม์ประกันภัยได้ระบุข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์หรือยักยอก และการที่คนร้ายอ้างว่าชื่อส.และพ. ไปขอเช่ารถยนต์คันที่จำเลยรับประกันไว้จากบ. ซึ่ง บ. เช่าซื้อมาจากโจทก์และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนและใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมแสดงต่อ บ. บ.ตกลงให้เช่า แต่เมื่อได้รับรถยนต์คันดังกล่าวไปจาก บ.แล้วคนร้ายไม่นำมาคืนนั้นเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนร้ายมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวง บ.ให้ส่งมอบรถยนต์แก่คนร้ายมาตั้งแต่ต้นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าคนร้ายดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีชื่อและภูมิลำเนาตามเอกสารปลอมมีความประสงค์จะเช่ารถยนต์บ.หลงเชื่อว่าเป็นความจริง จึงยินยอมส่งมอบรถยนต์ให้แก่คนร้ายไป ความจริงคนร้ายแสดงตนเป็นบุคคลอื่นและไม่มีความประสงค์จะเช่ารถยนต์แต่อย่างใด การกระทำของคนร้ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกอันจะเป็นข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวข้างต้นไม่ จำเลยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่าโดยทราบชื่อเจ้าของเดิมใน ภ.บ.ท.5 ย่อมถือเป็นการซื้อขายโดยสมัครใจ การอ้างสิทธิภายหลังไม่เป็นฉ้อโกง
โจทก์ร่วมทั้งสองทราบดีว่า ที่ดินที่ตนทำสัญญาซื้อจาก จ.นั้น ยังมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5)เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองชำระราคาครบแล้ว จ. จัดการให้จำเลยที่ 1เปลี่ยนชื่อในใบเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นชื่อโจทก์ร่วมที่ 1การซื้อขายดังกล่าวจึงเกิดจากความสมัครใจของคู่สัญญาตามความเป็นจริง การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้คัดค้านการซื้อขายมาแต่แรกไม่ยอมออกจากที่ดินอ้างว่าเป็นของตน เป็นการกล่าวอ้างสิทธิในทางแพ่งขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลักคือการได้เงิน: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง
การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของ ว.ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของ ว.ลงในใบถอนเงินของธนาคาร และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานธนาคารและรับเงินไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่จำเลยจะผิดกฎหมายบทใดเป็นอำนาจศาลจะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกันแต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของว.ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไปเป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลักส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกันทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย
of 94