พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังพักงานและอนุมัติใบลาออกย้อนหลัง ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ ระหว่างสอบสวนโจทก์ยื่นใบลาออกจำเลยยังไม่อนุญาตเพราะการสอบสวนยังไม่เสร็จ หลังจากโจทก์ยื่นใบลาออก 5 เดือน จำเลยสั่งพักงานโจทก์และระงับการจ่ายเงินเดือนกับเงินอื่นใดของโจทก์ ต่อมาอีก 6 เดือน ก็ย้ายโจทก์ไปสำนักงานใหญ่ พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะให้โจทก์ลาออก หากแต่จะเอาตัวโจทก์ไว้สอบสวนหาความผิด ถ้าผิดก็จะลงโทษทางวินัย ใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลโดยโจทก์ไม่จำต้องถอนใบลานั้น และเมื่อจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์ทางวินัยโดยตัดเงินเดือน 10% ของอัตราที่รอการพิจารณาไว้มีกำหนด 6 เดือน และในคำสั่งฉบับเดียวกันยังอนุญาตให้โจทก์ลาออกนับแต่วันที่จำเลยเริ่มตัดเงินเดือนโจทก์ คำสั่งนี้จึงขัดแย้งกันอยู่ในตัวเพราะหากโจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วจำเลยจะลงโทษโจทก์ได้อย่างไร ดังนี้ การที่จำเลยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ลาออกย้อนไปถึงวันพักงานจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์ในวันที่จำเลยมีคำสั่งนั่นเอง เมื่อความผิดของโจทก์มีเพียงถูกตัดเงินเดือน 10% จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้ และจำเลยต้องจ่ายเงินประเภทต่าง ๆ ระหว่างที่โจทก์ถูกพักงานจนถึงเลิกจ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาจำกัดเฉพาะสิ่งที่ระบุในคำพิพากษา ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหายเมื่อบังคับคดีไม่ได้มิได้
ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า ให้จำเลยยอมรับการไถ่ถอนที่ดินทั้งสองแปลงตามฟ้องในราคา 64,000 บาท จากโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแทนเพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้เนื่องจากจำเลยโอนที่ดินให้แก่บุตรแล้ว จึงเป็นการบังคับจำเลยนอกเหนือจากคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเช่นนั้น
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ห้ามสั่งชดใช้ค่าเสียหายหากคำพิพากษาไม่ได้ระบุไว้
ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า ให้จำเลยยอมรับการไถ่ถอนที่ดินทั้งสองแปลงตามฟ้องในราคา 64,000 บาทจากโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแทนเพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้เนื่องจากจำเลยโอนที่ดินให้แก่บุตรแล้ว จึงเป็นการบังคับจำเลยนอกเหนือจากคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเช่นนั้น
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และผลผูกพันของข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
บุตรโจทก์กับบุตรจำเลยเป็นเพื่อนกันได้พากันขับรถพาเพื่อนออกไปเที่ยวโดยมีบุตรโจทก์เป็นผู้ขับ หลังจากพาเพื่อนกลับมาแล้วบุตรโจทก์ได้ขับรถออกไปกับบุตรจำเลยอีก โดยจำเลยไม่ทราบและไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อแสดงให้เห็นว่าบุตรจำเลยจะทำหน้าที่ขับรถแทนบุตรโจทก์ หลังจากนั้นบุตรจำเลยโดยความประมาทเลินเล่อขับรถโจทก์ไปประสบอุบัติเหตุเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบุตรจำเลยตามสมควรแก่หน้าที่ในขณะนั้นแล้ว จำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ด้วย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ แม้จะใช้ความระมัดระวังแล้ว แต่การตกลงชดใช้ค่าเสียหายผูกพันตามกฎหมาย
บุตรโจทก์กับบุตรจำเลยเป็นเพื่อนกันได้พากันขับรถพาเพื่อนออกไปเที่ยวโดยมีบุตรโจทก์เป็นผู้ขับ หลังจากพาเพื่อนกลับมาแล้วบุตรโจทก์ได้ขับรถออกไปกับบุตรจำเลยอีก โดยจำเลยไม่ทราบและไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อแสดงให้เห็นว่าบุตรจำเลยจะทำหน้าที่ขับรถแทนบุตรโจทก์หลังจากนั้นบุตรจำเลยโดยความประมาทเลินเล่อขับรถโจทก์ไปประสบอุบัติเหตุเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบุตรจำเลยตามสมควรแก่หน้าที่ในขณะนั้นแล้วจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ด้วย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากสิ่งปลูกสร้างชำรุด: เจ้าของต้องชดใช้ค่าเสียหายจากท่อระบายน้ำแตก
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของจำเลย มิใช่ให้รับผิดจากการทำละเมิดของลูกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบถึงฐานะความเกี่ยวพันของลูกจ้าง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายเกิดจากท่อระบายน้ำจากดาดฟ้าโรงแรมชำรุดบกพร่องหรือบำรุงรักษาไม่เพียงพอ จำเลยซึ่งเป็นทั้งผู้ครองและเจ้าของดาดฟ้าโรงแรมและท่อระบายน้ำดังกล่าว จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ผู้รับประกันภัย ซึ่งได้ใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 434 ประกอบด้วยมาตรา 880
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกจ้างในสัญญาชดใช้ค่าเสียหาย: ความรับผิดจำกัดเฉพาะการกระทำโดยประมาทหรือยักยอกเท่านั้น
แม้ลูกจ้างจะมีข้อตกลงกับนายจ้างว่าลูกจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือสูญหายของสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้าก็ตาม แต่การตกลงเช่นนี้คู่กรณีย่อมคำนึงถึงความสามารถที่คู่กรณีจะรับผิดชอบได้ คงไม่มีเจตนาที่จะให้รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด ๆซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจและความสามารถของคู่กรณี เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติธรรมชาติโจรกรรมหรือเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น เมื่อสินค้าของนายจ้างหายไปโดยมิได้เกิดจากการยักยอกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างแล้วลูกจ้างก็ไม่ต้องรับผิดตามข้อตกลงนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิด: ใช้ราคาทรัพย์สินขณะละเมิด ไม่ใช่ตอนซื้อใหม่
การใช้ราคาทรัพย์สินที่เสียหายเพราะการละเมิด จะต้องชดใช้ตามสภาพของทรัพย์ในขณะที่ทำละเมิด ไม่ใช่ในขณะที่ซื้อใหม่
ผู้ต้องเสียหายไม่ต้องนำสืบถึงราคาเดิมของทรัพย์ การนำสืบเพียงว่าที่ได้รับความเสียหายนั้นหากจะกระทำให้คืนสู่สภาพเดิม จะต้องเสียค่าใช้จ่าย คือค่าสิ่งของและค่าแรงงานคิดเป็นเงินเท่าใดก็ถือได้ว่าได้นำสืบถึงความเสียหายแล้ว
ผู้ต้องเสียหายไม่ต้องนำสืบถึงราคาเดิมของทรัพย์ การนำสืบเพียงว่าที่ได้รับความเสียหายนั้นหากจะกระทำให้คืนสู่สภาพเดิม จะต้องเสียค่าใช้จ่าย คือค่าสิ่งของและค่าแรงงานคิดเป็นเงินเท่าใดก็ถือได้ว่าได้นำสืบถึงความเสียหายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อำนาจศาลในการสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย และดอกเบี้ย
คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปขององค์การโทรศัพท์ฯจึงไม่มีฐานะเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2 ส่วนกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามความหมายของกฎหมาย จึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างขององค์การโทรศัพท์ ฯ แต่หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรมศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรมแต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้างจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจพิจารณาและสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายได้
คณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปขององค์การโทรศัพท์ฯจึงไม่มีฐานะเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2ส่วนกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการขององค์การโทรศัพท์ฯ มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน ถือได้ว่าเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลตามความหมายของกฎหมาย จึงต้องรับผิดต่อลูกจ้างขององค์การโทรศัพท์ ฯ แต่หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเพื่อจัดระเบียบในการจ้างการใช้แรงงานและแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาและสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ได้มิใช่เป็นการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของฝ่ายบริหารส่วนมติของคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการของฝ่ายบริหารซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารเท่านั้นไม่อาจใช้บังคับในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายได้
หลังจากคณะกรรมการองค์การโทรศัพท์ ฯ มีมติให้ผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์ฯพ้นจากตำแหน่งแล้วจึงได้มีคำเสนอขององค์การโทรศัพท์ ฯเชิญให้เป็นที่ปรึกษาขององค์การโทรศัพท์ฯดังนี้เป็นการเลิกจ้างแล้วหาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่ไม่
เมื่อศาลแรงงานเห็นว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม แต่ทั้งสองฝ่ายไม่อาจทำงานร่วมกันได้ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่สั่งให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามที่ลูกจ้างฟ้องขอให้บังคับแต่ให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดนับแต่วันเลิกจ้าง จึงต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายอื่นลูกจ้างฟ้องเรียกให้ชำระพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างโดยมิได้ทวงถามก่อน ศาลพิพากษาให้ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง