คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคแรก เนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และเรียกที่ดินพิพาทคืน หากไม่สามารถคืนได้ก็ให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าที่ดินของโจทก์ทั้งสองรวมเป็นเงิน 226,400 บาท ดังนี้เป็นการฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนคดีของโจทก์ทั้งสองเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์ที่ 1 ผู้เดียวฎีกา ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงเหลือเพียงราคาที่ดินของโจทก์ที่ 1 เรียกคืนจำนวน133,200 บาท ไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ที่ 1 ยื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้น โดยเชื่อว่าศาลชั้นต้นขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจำนวนหนึ่งในสี่ส่วนของที่ดินทั้งสองแปลงเป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทของป.ในฐานะผู้จัดการมรดก ส่วนของ น.จึงมีเพียงหนึ่งในห้าส่วนของที่ดินที่ น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นรวมทั้งโจทก์ที่ 1 ด้วย การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวย่อมหมายความเฉพาะส่วนของน. ไม่รวมส่วนที่น.ถือกรรมสิทธิ์แทนทายาทอื่นในฐานะผู้จัดการมรดก และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตนั้นล้วนแต่เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – จำนวนทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท – การโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 290, 500 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าป.มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย จำเลยที่ 2 จึงรับผิดไม่เกินครึ่งหนึ่งของค่าสินไหม-ทดแทนทั้งหมด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งในข้อเท็จจริงและจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มาตรา 18 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้แย้งข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ศาลฎีกาไม่รับพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 290,500 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 2ฎีกาว่า ป. มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย จำเลยที่ 2 จึงรับผิดไม่เกินครึ่งหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นการโต้แย้งในข้อเท็จจริงและจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 18 แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาศาลฎีกาก็วินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วไม่อาจฎีกาได้
ฎีกาจำเลยที่ว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามฟ้องจำเลยได้ปฏิบัติชอบด้วยขั้นตอนในระเบียบและกฎหมายหรือไม่ก็ดี การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะทับที่หนองน้ำสาธารณะหรือไม่ก็ดี แม้กระทั้งในข้อที่ว่าการกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาพิเศษเพราะมิได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดและว่าจำเลยมิได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็ดี ล้วนเป็นปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างตัดสินแล้ว และมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาทหากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และ 94นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการเช่าอสังหาริมทรัพย์กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาททั้งที่โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง จึงเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองมิได้เช่าที่พิพาท ซึ่งเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาท เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีต่ำกว่าสองแสนบาท และเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาท หากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94 นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และประเด็นข้อพิพาทไม่ได้รับการยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกานั้น จะนำดอกเบี้ยของต้นเงินนับแต่วันฟ้องถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248(วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา) จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่ พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาทไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคตอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดดอกเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฎว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคมถึงกิมเช็ง ทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาทเอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาท กิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่นเฮียเอา4หมื่นเหลือนอกนั้นให้แป๊ว,ณีไปเพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือนร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1740 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน250,000 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และข้อพิพาทเป็นเรื่องข้อเท็จจริง
ทุนทรัพย์ในชั้นร้องขัดทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ผู้ร้องฎีกาว่าตามพฤติการณ์ต้องฟังว่า รถยนต์พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น ผู้ร้องรับโอนมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและรับโอนมาโดยไม่มีพิรุธ เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาทั้งสิ้นซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องมาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อเท็จจริงเกินกรอบและมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
of 50