คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่เกินกำหนดเวลา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ทายาทของเจ้ามรดกยึดถือไว้เพื่อนำมาจัดการตามอำนาจหน้าที่ เป็นการฟ้องคดีมรดก เมื่อฟ้องพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสี่ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเข้าครอบครองทำกินในที่ดินโดยยังไม่ได้แบ่งกัน ถือได้ว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นผู้มีสิทธิรับมรดก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของเจ้ามรดกจึงเป็นตัวแทนของทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเช่นนั้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่จดทะเบียน: โมฆะและผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทมาจาก ท. โดยมีข้อตกลงว่าให้บ้านพิพาทอยู่ในที่เดิมเพื่อให้ญาติพี่น้องอาศัยอยู่ไปก่อน แล้วจะไปจดทะเบียนในภายหลัง เห็นได้ชัดเจนว่าการซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างผู้ร้องกับ ท. นั้นมีเจตนาซื้อขายกันอย่างอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรคแรก บ้านพิพาทจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท.เมื่อท.ถึงแก่ความตาย กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทจึงเป็นมรดกของ ท. ตกทอดแก่จำเลยซึ่งมีสิทธิได้รับตามส่วนในฐานะทายาทคนหนึ่งของ ท.โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดมาขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของทายาทในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก แม้ผู้จัดการมรดกทำสัญญาจะขายทรัพย์สินไปแล้ว
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเพียงทำสัญญาจะขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าจะมีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 โจทก์ในฐานะทายาทผู้รับมรดกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์มรดกหลังทำสัญญาแบ่งทรัพย์ การโอนทรัพย์สินหลังสัญญาไม่เป็นความผิดยักยอก
ทรัพย์มรดกของ น. ที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนโอนมาเป็นของจำเลยก็ดี จดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นก็ดี มิได้ตกเป็นของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาแบ่งปันทรัพย์ ทั้งการกระทำดังกล่าวของจำเลยล้วนเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของน.แล้ว จึงเป็นการจัดการทรัพย์สินส่วนที่เป็นมรดกตกเป็นของจำเลยเอง หาใช่เป็นการจัดการทรัพย์มรดกของน. ที่ตกเป็นของโจทก์ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้จัดการมรดก: การไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกนานเกินไปถือละเลยหน้าที่
หน้าที่สำคัญของผู้จัดการมรดกคือ รวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ หากผู้ร้องเห็นว่า ตนมีสิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวเพียงผู้เดียวก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากฝ่ายที่โต้แย้งโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องไม่ยินยอมแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ เป็นเวลาประมาณ 2 ปี นับแต่ศาลมีคำสั่งให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน จึงถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมจะล่าช้า ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทได้ จึงมีเหตุสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้จัดการมรดกที่แบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม ไม่เป็นผู้เสียหาย
การที่ ป.เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์หนึ่งส่วนที่เหลือให้ผู้จัดการมรดกแบ่งปันให้แก่ผู้ใช้นามสกุล "ส.ตันสกุล"ตามที่เห็นสมควร ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้ง จ. เป็นผู้จัดการมรดกแล้วจ. โอนทรัพย์มรดกเป็นของตน โดยมิได้จัดการโอนทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือดังกล่าวให้โจทก์ซึ่งใช้นามสกุล ส.ตันสกุล นั้นแสดงว่าจ.ไม่เห็นสมควรที่จะแบ่งปันทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือดังกล่าวให้โจทก์อันเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดในพินัยกรรม จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของ ป. ไม่มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกของ ป. ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในการครอบครองทรัพย์มรดก vs. อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
จำเลยทั้งสองเป็นบุตรและเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ที่บ้านของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิอยู่ในบ้านของผู้ตายซึ่งเป็นทรัพย์มรดกได้ โจทก์ทั้งสามไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารออกไปจากบ้านดังกล่าว แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายมีอำนาจจัดการมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมายรวมทั้งมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นทายาทส่งมอบโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อจัดการต่อไปตามหน้าที่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาท และการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกิน 10 ปี ไม่ตัดสิทธิทายาทตามพินัยกรรม
การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว จึงยื่นคำร้องขอจัดการมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดก การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าว ถือได้ว่าครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1754 วรรคท้าย มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมของเจ้ามรดกหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4945/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
ที่ดินทรัพย์มรดกที่ผู้ตายได้มาระหว่างอยู่กินกับผู้คัดค้านและทำมาหาได้ร่วมกัน หลังจากผู้ตายหย่ากับภริยาคนเดิมแล้วผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมีพฤติการณ์เป็นปรปักษ์ต่อผู้คัดค้านและ ส. ซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้รับรองแล้ว และปฏิเสธบุคคลทั้งสองว่าไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกซึ่งขัดกับพยานหลักฐานที่มีอยู่ ผู้คัดค้านแสดงความตั้งใจที่จะแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยความชอบธรรม หากผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวหรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะมีข้อขัดแย้ง และเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ผู้ร้องจึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก สมควรให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
of 49