พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ที่พิพาทเกิน 200,000 บาท ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ2,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000บาทซึ่งมีจำนวนไม่เกิน200,000บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่งและการกำหนดทุนทรัพย์ที่ถูกต้อง
การบรรยายฟ้องในคดีแพ่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 กำหนดแต่เพียงว่า ฟ้องต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น หาต้องบรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเหมือนกับฟ้องในคดีอาญาไม่ ส่วนรายละเอียดที่จะต้องนำพยานเข้าสืบเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกันแม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายข้อความเหล่านั้นมา ฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพัน ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัย จึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย และปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ปัญหาอื่น ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน 20 ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน 90 ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย
การจะนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการคือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นต้องเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและคำพิพากษาคดีอาญาต้องวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ที่จะถูกข้อเท็จจริงในคดีอาญามาผูกพัน ต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ว่าที่ดินพิพาทจะเป็นของโจทก์หรือจำเลยไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้แม้โจทก์และจำเลยคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้ก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีนี้ คดีอาญายังไม่ได้วินิจฉัย จึงนำข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมารับฟังเป็นยุติในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์นำเอาข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีอาญามารับฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมาย และปัญหานี้ต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่เมื่อคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ปัญหาอื่น ๆ ตามคำฟ้องของโจทก์ต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 240 (3) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยให้การสู้คดีอ้างสิทธิครอบครองที่ดินจำนวน 20 ไร่ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงถือตามราคาที่ดินจำนวน 20 ไร่ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นและจำเลยทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกามาในราคาที่ดินจำนวน 90 ไร่ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เกินมาให้โจทก์และจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา: ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาท จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์คดีล้มละลาย: มูลค่าหุ้น 75,000 บาท
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดในคดีล้มละลาย
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง75,000บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกา คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวา ขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลย จำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท อันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่
ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน และอำนาจศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะ ซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่า โจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ 2 ตารางวาขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลยจำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตาม แต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียว หาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่ ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 70,000 บาท และจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ 375 บาทดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท และทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง และมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดี เป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลยต่อมาจำเลยได้รื้อรั้วไม้ขัดแตะซึ่งกั้นแนวเขตออกแล้วนำสังกะสีมาล้อมเป็นรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ3ตารางวาขอให้พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยซ่อมแซมรั้วไม้ขัดแตะโดยเปลี่ยนรั้วสังกะสีในแนวเดิมมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์และฟ้องแย้งว่าโจทก์ปลูกสร้างบ้านใหม่โดยชายคาบ้านรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยประมาณ2ตารางวาขอให้บังคับโจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไปซึ่งโจทก์ทั้งสามได้ให้การแก้ฟ้องแย้งว่าโจทก์ทั้งสามปลูกสร้างบ้านในเขตที่ดินของโจทก์มิได้รุกล้ำที่ดินของจำเลยจำเลยสร้างรั้วสังกะสีรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทำให้ชายคาบ้านโจทก์ทั้งสามล้ำแนวรั้วสังกะสีที่จำเลยทำขึ้นใหม่จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นกรณีพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วสังกะสีออกไปจากที่พิพาทและจำเลยจะมีคำขอให้โจทก์รื้อถอนชายคาบ้านในส่วนที่รุกล้ำออกไปจากที่พิพาทมาด้วยก็ตามแต่คำขอให้รื้อถอนดังกล่าวจะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้นเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีคดีนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์อย่างเดียวหาใช่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยไม่ ที่พิพาทมีเนื้อที่ครึ่งตารางวาซึ่งโจทก์ตีราคาที่พิพาทตารางวาละ70,000บาทและจำเลยตีราคาที่พิพาทตารางวาละ375บาทดังนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน50,000บาทและทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งและมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยอุทธรณ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้โดยพิพากษาคดีมาก็ดีและที่โจทก์ฎีกาต่อมาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสามมาก็ดีเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: จำเลยฎีกาประเด็นนอกเหนือคำให้การ และข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์ที่พิพาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่า โจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้น จำเลยให้การแต่เพียงว่า รถยนต์มีสภาพเก่า และโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่า จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้น จำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้ เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้น เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกเหนือคำให้การ และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
ที่จำเลยฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์และค่าติดตามรถยนต์คันที่เช่าซื้อนั้นจำเลยให้การแต่เพียงว่ารถยนต์มีสภาพเก่าและโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ผู้ใดเช่าจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์ส่วนค่าติดตามรถยนต์จำเลยเป็นผู้แจ้งโจทก์ให้ไปรับรถยนต์เองมิใช่กรณีที่โจทก์ติดตามยึดนั้นจำเลยมิได้ให้การว่าสัญญายังมิได้เลิกกันโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาได้เพราะเป็นข้อฎีกาที่นอกเหนือจากคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่าค่าขาดประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดสูงเกินไปนั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นกัน