พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331-8332/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีเช็คหลายฉบับ ศาลไม่เกินคำขอแม้ไม่ได้ขอให้นับโทษต่อกัน
ป.วิ.อ.มาตรา 158 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการขอให้นับโทษจำคุกในแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในแต่ละกระทง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องระบุวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้งเจ็ดฉบับต่างวันกัน และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอให้ศาลพิพากษานับโทษจำคุกแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในคำฟ้องแต่ละสำนวน ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในแต่ละสำนวนทุกกรรมเป็นกระทงความผิดและรวมโทษในแต่ละสำนวนได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5122-5123/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน และการนับโทษกระทงความผิด
จำเลยออกเช็ค 5 ฉบับ โจทก์นำคดีมาแยกฟ้องเป็น 2 สำนวน สำนวนแรก 2 ฉบับ สำนวนที่สองอีก 3 ฉบับ โดยแต่ละสำนวนโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยต่อ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน โดยเรียงกระทงลงโทษ มีผลเสมือนเป็นการนับโทษต่อจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19854/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์นำสืบการนับโทษคดีอาญา และอำนาจศาลวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
การที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ระบุในคำฟ้อง ซึ่งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อนั้น เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบและต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาหมายเลขดำดังกล่าวศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 หรือไม่ประการใด แม้คดีนั้นจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและก็ไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีดังกล่าวด้วย ปัญหาว่าจะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษในคดีอื่นได้หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19246/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษพร้อมกันหลายสำนวน โดยไม่ต้องแถลงซ้ำ
โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้กับคดีอาญาอื่นอีกสี่สำนวนของศาลชั้นต้นในวันเดียวกัน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้กับในคดีอื่นอีกสามสำนวนติดต่อกันไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจแถลงต่อศาลชั้นต้นได้ว่าคดีอื่นอีกสามสำนวนนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ อย่างไร ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าความปรากฏต่อศาลและคู่ความชัดแจ้งแล้วว่าคดีอื่นอีกสามสำนวนนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาให้นับโทษจำเลยติดต่อกันได้ โดยไม่จำต้องให้โจทก์แถลงต่อศาลซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14517-14520/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมสำนวนคดีและการลงโทษจำคุกกระทงละเดือน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเนื่องจากนับโทษต่อกันเกินคำขอ
ศาลสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาคดีที่โจทก์แยกฟ้องมารวมสี่สำนวน โดยโจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษจำเลยติดต่อกัน จึงนับโทษต่อกันไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำคุกจำเลยกระทงละ 1 เดือน รวม 9 กระทง จำคุก 9 เดือน นั้น มีผลเท่ากับนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันทั้งสี่สำนวน จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา: ศาลฎีกายกเรื่องนับโทษเนื่องจากขาดหลักฐาน และยืนอำนาจฟ้องของโจทก์
หลังจากสืบพยานเสร็จ ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์เพิ่งทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการต้องโทษของจำเลยและขอแก้ไขฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3221/2546 ของศาลอาญา และคำขอท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้นับโทษจำเลยเรียงติดต่อกับโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาสั่งคำร้องของโจทก์ในวันนัดฟังคำพิพากษาและในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก่อนอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องได้ เช่นนี้ แม้จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องขอแก้ไขฟ้องของโจทก์ กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ขอแก้ไขฟ้องดังกล่าว เมื่อโจทก์มิได้แสดงให้ปรากฏต่อศาลว่า จำเลยเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวตามคำร้องของโจทก์จริงหรือไม่ และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหรือไม่เพียงใด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีอื่นที่อาจนำโทษในคดีนี้ไปนับติดต่อได้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2539 เจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั่วราชอาณาจักร และปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนให้บริการช่วยเหลือประชาชน เมื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อ. พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดอาญาทั่วราชอาณาจักรตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจสอบสวน เป็นการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในกรมตำรวจให้เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การที่ระเบียบดังกล่าวกำหนดลักษณะความผิดที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามไว้ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่กรมตำรวจมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามเท่านั้น การที่ผู้บังคับการกองปราบปรามมีคำสั่งที่ 288/2538 แต่งตั้งพนักงานสอบสวนกองปราบปรามทำการสอบสวนคดีนี้ โดยผู้บัญชาการสอบสวนกลางอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบแล้ว จึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบกรมตำรวจ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาเปลี่ยนโทษเป็นกักขังก็ยังคงทำได้ตามหลักกฎหมาย
บทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 22 เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกว่า ให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น การที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแม้จะพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น แม้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษเป็นกักขัง ก็ยังสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ป.อ.
บทบัญญัติมาตาม 22 วรรคหนึ่งแห่ง ป.อ. นั้น เป็นบทกำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับโทษจำคุกจำเลยว่าให้เริ่มนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โดยมีข้อยกเว้นในกรณีที่ศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ซึ่งการที่ศาลมีคำพิพากษาให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีอาญาอื่น ย่อมมีความหมายว่าคำพิพากษาได้กล่าวถึงเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกไว้เป็นอย่างอื่น โดยไม่ให้เริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้นนั่นเอง ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 891/2550 ของศาลชั้นต้น ที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีคำพิพากษาให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทน ก็ไม่เป็นการต้องห้ามที่ศาลจะกำหนดเวลาเริ่มการบังคับโทษจำคุกจำเลยในคดีนี้เป็นอย่างอื่นด้วยการให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกับโทษในคดีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีอาญาเดิม แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ตรวจสอบตัวบุคคล แต่จำเลยยอมรับ
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏความในเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปีจริง ถือได้ว่าความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว และจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษจำคุกและผลของการรอการลงโทษ/กำหนดโทษต่อการล้างมลทินในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
คดีอาญาที่ศาลเพียงแต่ลงโทษปรับและจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วคดีถึงที่สุด ถือว่า จำเลยเป็นผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้ว
คดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกและปรับแต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญากับอีกคดีที่ศาลรอการกำหนดโทษ กรณีของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550
คดีอาญาที่ศาลลงโทษจำคุกและปรับแต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญากับอีกคดีที่ศาลรอการกำหนดโทษ กรณีของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่ผู้ต้องโทษตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550