คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บรรยายฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต การบรรยายฟ้อง และขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 39 พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ฯลฯ จำเลยนี้บังอาจทำไม้โดยตัดฟัน ฯลฯ ไม้เต็ง ฯลฯ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2505 ฯลฯ โดยมิได้รับอนุญาต ฯลฯ" ถือได้ว่าครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว หาจำต้องบรรยายโดยใช้คำว่า "ในป่า" ประกอบคำว่า "ทำไม้" หรือ"ตัดฟันไม้" ด้วยไม่
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 39 นั้น บังคับเฉพาะการนำไม้ที่ทำออกตามใบอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังที่ได้นำไปถึงที่อันระบุไว้ในใบอนุญาต หรือการนำไม้ที่ทำออกโดยไม่ต้องรับอนุญาตเคลื่อนที่ภายหลังไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกตามความในมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนการนำไม้หวงห้ามที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตเคลื่อนที่ หาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 39 ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1018/2496 และฎีกาที่ 341/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผาขยะลุกลาม: ฟ้องผิดฐานประมาทต้องอาศัยการบรรยายในฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยเผาขยะและใบไม้กิ่งไม้แห้งในสวนยาง ในลักษณะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่นขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 โดยมิได้บรรยายเรื่องประมาทมาด้วยเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นการเผาที่ไม่น่าจะเกิดอันตรายแก่ทรัพย์ผู้อื่นหากแต่เป็นการประมาทปราศจากการระมัดระวังเพลิงจึงลุกลามเข้าไปในสวนของผู้อื่น เช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 ไม่ได้(อ้างฎีกาที่ 546/2498) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 19/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดทางอาญา การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด และการแก้ฟ้อง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำนั้น หาต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายไม่ จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นความผิดก็ใช้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิด ถึงพ.ศ. 2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญา โจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้ เป็นเรื่องโจกท์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่ เพราะมีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดอาญา การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำผิด และการแก้ฟ้อง
การบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำนั้น หาต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายไม่จะบรรยายถ้อยคำอย่างใดพอให้เข้าใจได้ว่าจำเลยได้กระทำการที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดก็ใช้ได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อ พ.ศ.2498 ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญาซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลากระทำผิดถึงพ.ศ.2500 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแล้วและยกเลิกกฎหมายลักษณะอาญาโจทก์จึงขอแก้ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาดังนี้เป็นเรื่องโจทก์เข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเปลี่ยนใหม่ก็ต้องลงตามกฎหมายใหม่ แต่ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เสียไปไม่เพราะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 บัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานรับของโจร ไม่จำต้องระบุว่า 'รู้ว่าเป็นของร้าย' เพียงกล่าวว่า 'รับไว้จากคนร้าย' ก็เพียงพอ
การฟ้องความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ไม่จำต้องบรรยายว่า รับไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้ายอย่างในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 321 ฉะนั้น เมื่อโจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยบังอาจรับทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งถูกลักไปนั้นไว้จากคนร้ายผู้ได้ทรัพย์นั้นมาในการทำผิดฐานลักทรัพย์ ดังนี้ ก็ครบองค์ความผิดและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว เพราะการทำความผิดฐานนี้ต้องประกอบด้วยเจตนาตามมาตรา 59 อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานรับของโจร ไม่ต้องระบุว่า 'รู้ว่าเป็นของร้าย' หากมีเจตนา
การฟ้องความผิดฐานรับของโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 ไม่จำต้องบรรยายว่า รับไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นของร้ายอย่างในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 321 ฉะนั้น เมื่อโจทก์บรรยายเพียงว่าจำเลยบังอาจรับทรัพย์ของผู้เสียหายซึ่งถูกลักไปนั้นไว้จากคนร้ายผู้ได้ทรัพย์นั้นมาในการทำผิดฐานลักทรัพย์ ดังนี้ ก็ครบองค์ความผิดและชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว เพราะการทำความผิดฐานนี้ต้องประกอบด้วยเจตนาตามมาตรา 59อยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องฐานความผิดไม่ตรงกับพยานหลักฐาน ศาลต้องยกฟ้องแม้จำเลยกระทำผิดจริง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเรียกเงินจากบุคคลอื่นเพื่อนำมอบให้แก่ตำรวจผู้จะจับเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจตำรวจไม่ให้จับบุคคลอื่น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องตำรวจผู้จะจับใช้จำเลยไปเรียกเงินจากบุคคลอื่น เพื่อจะงดเว้นการจับกุม เมื่อจำเลยไปเรียกเงินก็เป็นผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานทุจริตมา ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทำให้ลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้จะมีความผิดตามกฎหมายอื่น
บรรยายฟ้องว่าจำเลยเรียกเงินจากบุคคลอื่นเพื่อนำมอบให้แก่ตำรวจผู้จะจับเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจตำรวจไม่ให้จับบุคคลอื่น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องตำรวจผู้จะจับใช้จำเลยไปเรียกเงินจากบุคคลอื่น เพื่อจะงดเว้นการจับกุม เมื่อจำเลยไปเรียกเงินก็เป็นผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานทุจริตมา ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานประมาทต้องระบุรายละเอียดการกระทำ หากโจทก์ฟ้องเฉพาะเจตนา ศาลลงโทษประมาทไม่ได้
ความผิดฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนากับความผิดฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสนั้น ลักษณะการกระทำแตกต่างกัน อันถือว่าเป็นสาระสำคัญ กล่าวคือ ในความผิดที่กระทำโดยประมาทโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยทราบว่า การกระทำของจำเลยเป็นประการใดจึงเรียกว่าจำเลยกระทำโดยประมาท จำเลยจะได้ต่อสู้คดีในฐานประมาทได้ด้วย มิฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าโดยเจตนา จะลงโทษฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสไม่ได้หากโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยฐานประมาททำให้คนรับอันตรายแก่กายถึงสาหัสด้วย โจทก์ก็ชอบที่จะบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเป็นท้องเรื่องมาในฟ้องอันเห็นได้ว่า หากจำเลยไม่เจตนาจำเลยก็ได้กระทำการโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์เช่นนี้ ศาลก็ยังอาจจะลงโทษจำเลยฐานทำอันตรายแก่กายถึงสาหัสโดยประมาทได้เพราะเป็นเรื่องอยู่ในฟ้องแล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578-1580/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานปล้นทรัพย์ต้องสอดคล้องกับการกระทำจริง หากฟ้องไม่ได้ระบุการใช้ปืนยิง จะลงโทษตามมาตราที่กำหนดการใช้ปืนไม่ได้
บรรยายฟ้องเรื่องปล้นทรัพย์ว่า จำเลยกับพวกใช้ปืน มีด และไม้เป็นอาวุธทำร้ายเจ้าทรัพย์เป็นอันตรายแก่ร่างกาย โดยมิได้บรรยายว่า ใช้อาวุธปืนยิง ดังนี้จะลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ไม่ได้
of 33