พบผลลัพธ์ทั้งหมด 286 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันกรรมการชุดใหม่ย่อมผูกพันบริษัท แม้มติเดิมจะผิดระเบียบ
ที่ประชุมใหญ่สามัญของบริษัทได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เป็นกรรมการและลงมติให้คณะกรรมการชุดใหม่ให้สัตยาบันการกระทำของคณะกรรมการชุดเก่าได้ ดังนี้ แม้มติที่ประชุมใหญ่วิสามัญซึ่งเรียกประชุมโดยคณะกรรมการชุดเก่าจะผิดระเบียบก็ตาม มติดังกล่าวก็ไม่เสียไปเพราะคณะกรรมการชุดใหม่ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทย่อมมีอำนาจให้สัตยาบันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินโดยบริษัทที่มีกรรมการเป็นชาวต่างชาติ และผลกระทบของประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 และ 97
โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและทำการก่อสร้างโกดังขึ้นบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเป็นเพราะกรรมการคนหนึ่งในบริษัทโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึงตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนคนต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ ที่พิพาทรายนี้ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 แม้ต่อมามีคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 (5) เสียก็ตามคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าวก็หามีผลย้อนหลังไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินได้แต่อย่างใด ผลต่อไปต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 96 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องนี้โดยเฉพาะจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่พิพาทเสีย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินกรณีมีบุคคลต่างด้าวเป็นกรรมการบริษัท: การโอนชื่อและผลกระทบจากคำสั่งคณะปฏิวัติ
โจทก์เป็นผู้ออกเงินซื้อที่พิพาทและทำการก่อสร้างโกดังขึ้นบนที่แปลงนี้เพื่อใช้ในกิจการของบริษัทโจทก์ เหตุที่โจทก์ไม่ลงชื่อเป็นผู้ซื้อในโฉนดเป็นเพราะกรรมการคนหนึ่งในบริษัทโจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 97 บัญญัติให้โจทก์มีฐานะเสมือนคนต่างด้าวในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน กรรมการบริษัทโจทก์จึงตกลงให้โอนโฉนดจากผู้ขายมาเป็นชื่อ ส. ต้องถือว่า ส. ได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นเจ้าของแทนนิติบุคคลซึ่งกฎหมายให้ถือเสมือนคนต่างด้าว โจทก์จะเรียกร้องเอาที่ดินมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนไม่ได้ ที่พิพาทรายนี้ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 แม้ต่อมามีคำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 ยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97(5) เสียก็ตามคำสั่งของคณะปฏิวัติดังกล่าวก็หามีผลย้อนหลังไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่ดินได้แต่อย่างใด ผลต่อไปต้องบังคับตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องนี้โดยเฉพาะจะต้องให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่พิพาทเสีย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ไม่สมบูรณ์: การลงลายมือชื่อกรรมการคนเดียวไม่ผูกพันบริษัท
จำเลยต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทโจทก์ ลงลายมือชื่อแต่ผู้เดียวเป็นการไม่ถูกต้องตามหนังสือรับรองของหอทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางถือได้ว่าจำเลยตั้งประเด็นต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์แล้ว
กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำแทนบริษัทโจทก์ได้มี 3 คนสองในสามคนมีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำแทนบริษัทได้แต่ต้องประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย ดังนี้ การลงลายมือชื่อในเอกสารที่ทำขึ้นในนามของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด จะมีผลเป็นการลงลายมือชื่อของโจทก์โดยสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อกรรมการที่ระบุชื่อไว้ลงลายมือชื่อแทนโจทก์ไม่น้อยกว่าสองคนและประทับตราด้วยแต่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย ปรากฏว่ากรรมการผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีผลสมบูรณ์เป็นการลงลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อฟ้องโจทก์ต้องยกเสีย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาว่า เป็นการกระทำของตัวแทนซึ่งกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วหรือไม่เพราะเป็นการนอกประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2513)
กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำแทนบริษัทโจทก์ได้มี 3 คนสองในสามคนมีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำแทนบริษัทได้แต่ต้องประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย ดังนี้ การลงลายมือชื่อในเอกสารที่ทำขึ้นในนามของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด จะมีผลเป็นการลงลายมือชื่อของโจทก์โดยสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อกรรมการที่ระบุชื่อไว้ลงลายมือชื่อแทนโจทก์ไม่น้อยกว่าสองคนและประทับตราด้วยแต่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย ปรากฏว่ากรรมการผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาในฐานะผู้ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีผลสมบูรณ์เป็นการลงลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นคู่สัญญาเช่าซื้อกับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อฟ้องโจทก์ต้องยกเสีย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาว่า เป็นการกระทำของตัวแทนซึ่งกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแล้วหรือไม่เพราะเป็นการนอกประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารบริษัทต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คนคือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้านและ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้วก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ: พนักงานลงนามแทนบริษัท ถือเป็นคู่สัญญาที่ถูกต้อง
สัญญาเช่าซื้อระบุชื่อบริษัทโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อกับจำเลยผู้เช่าซื้อไว้ชัดแจ้ง โดยพนักงานของบริษัทโจทก์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขายลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ เป็นการทำแทนบริษัทโจทก์ มิใช่ทำเป็นส่วนตัว ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เมื่อจำเลยลงชื่อไว้ในสัญญาและได้รับทรัพย์ที่เช่าซื้อไปแล้ว สัญญาเช่าซื้อย่อมมีผลผูกพันบริษัทโจทก์กับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ: การลงชื่อแทนบริษัทโดยพนักงานย่อมมีผลผูกพัน
สัญญาเช่าซื้อระบุชื่อบริษัทโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อกับจำเลยผู้เช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยพนักงานของบริษัทโจทก์ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อขายลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์. เป็นการทำแทนบริษัทโจทก์. มิใช่ทำเป็นส่วนตัว. ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เมื่อจำเลยลงชื่อไว้ในสัญญาและได้รับทรัพย์ที่เช่าซื้อไปแล้ว. สัญญาเช่าซื้อย่อมมีผลผูกพันบริษัทโจทก์กับจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการผู้จัดการทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัท แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาทำในนามบริษัท
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์. โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน. แม้มิได้ประทับตราบริษัท. ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วย.ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย. บริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์. จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์. ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้. เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์. จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทโจทก์. ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้. เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโดยกรรมการผู้จัดการ แม้ไม่มีตราบริษัท ก็มีผลผูกพันหากทำในนามบริษัท และจำเลยไม่โต้แย้งอำนาจกรรมการ
กรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ โดยกรรมการผู้จัดการนั้นลงชื่อแทน แม้มิได้ประทับตราบริษัทซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนนั้นจะต้องประทับตราด้วย ก็ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยบริษัทโจทก์ย่อมเอาสัญญาเช่าซื้อที่กรรมการผู้จัดการทำกับจำเลยฟ้องจำเลยได้
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 992/2497)
บริษัทโจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจากจำเลยตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและบริษัทโจทก์ ศาลจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นชี้ขาดยกฟ้องมิได้ เพราะเป็นเรื่องนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของที่ดินที่ให้เช่าพื้นที่แก่บริษัท ไม่มีสิทธิรับค่าทดแทนโดยตรง
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งได้ใช้ประกอบการค้าโดยบริษัทชาญสิริเทรดดิ้งจำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายของบริษัท โจทก์เป็นเพียงผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้หนึ่งอยู่ในบริษัทฯ จึงเรียกไม่ได้ว่าโจทก์ประกอบการค้าในตึกแถวดังกล่าว แต่บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้น เมื่อมีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ให้เวนคืนตึกแถวของโจทก์ดังกล่าว บริษัท ฯ จึงได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ประกอบการค้าภายในตึกแถวนั้นและต้องออกไปจากตึก จึงเป็นผู้เสียหายมิใช่โจทก์ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 มาตรา 14 วรรคสาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง