พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถูกโต้แย้งจากการครอบครอง: การร้องขอเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีในศาลชั้นต้น ถือได้ว่าเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามมาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องขอของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล สิทธิบำนาญถูกบังคับคดีได้
การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงทบวงกรมใด รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียงกำกับโดยทั่วไปหามีอำนาจร่วมจัดกิจกรรมและควบคุมดูแลโดยตรงไม่ แสดงอยู่ในตัวว่าเป็นการแยกกิจการการรถไฟฯ ออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก ทั้งการรถไฟฯยังจัดทำงบประมาณประจำปีของตนเอง ไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดินอีกด้วยจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟฯ ซึ่งผู้ว่าการรถไฟฯ มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอนเลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือนและรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟฯ ซึ่งมิใช่เงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)ไม่ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีต่อการรถไฟฯผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(3) เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์600,000 บาท การที่ถูกอายัดยอดเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เพียงเดือนละ8,000 บาทเศษ จึงนับว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้ แม้ไม่มีทรัพย์สินให้บังคับคดี
หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ และโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วและไม่ชำระหนี้ จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสามมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(9) แม้โจทก์จะยังมิได้นำยึดทรัพย์จำเลยทั้งสามตามหมายบังคับคดี แต่โจทก์ก็นำสืบว่าจำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินให้บังคับชำระหนี้ได้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 3 อ้างว่าตนรับราชการมีเงินเดือน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยที่ 3 มิได้นำเงินเดือนดังกล่าวมาผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์แต่อย่างใดประกอบกับเงินเดือนของจำเลยที่ 3 ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้ ทั้งการที่อ้างว่าได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินของ ป. ในราคา 6 ล้านบาทเศษ โดยได้วางมัดจำเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษแล้วนั้น ก็ปรากฏจากบันทึกตกลงในสัญญาดังกล่าวว่าจำเลยที่ 3 ตกลงรับโอนที่ดินในวันที่ที่ระบุไว้ พร้อมกับชำระราคาที่ดินที่เหลืออีก 2 ล้านบาทเศษ หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าสัญญาเป็นอันเลิกกันและ ป. สามารถริบเงินมัดจำได้ ซึ่งเมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 3 ก็มิได้รับโอนและชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือสัญญาดังกล่าวเป็นอันเลิกกัน จำเลยที่ 3 จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จะโอนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ฉะนั้น ที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่าพร้อมที่จะโอนที่ดินแปลงดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์จึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2422/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องคัดค้านการบังคับคดีของบุคคลภายนอกที่เสนอราคาซื้อทรัพย์แต่ถูกสมยอมกัน
แม้ผู้ร้องจะมิใช่บุคคลตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280บัญญัติไว้ โดยมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัดและมิใช่บุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิอันได้จดทะเบียนไว้โดยชอบ หรือได้ยื่นคำร้องขอตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 288,289 และ 290 อันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าบุคคลอื่นนอกจากนี้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีไม่ได้ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาคนหนึ่งในการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี และอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีสมยอมกับโจทก์และผู้คัดค้านโดยมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริตและฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เป็นเหตุให้ผู้ร้องต้องเสียหายโดยเสียโอกาสในการเสนอราคาให้สูงขึ้น ดังนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นบุคคลภายนอกที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต ทายาทรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถส่งมอบให้ได้ ให้จำเลยใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาท ดังนี้ เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการบังคับคดีหน้าที่และความรับผิด ย่อมตกทอดแก่ทายาทเพื่อให้การบังคับคดีเสร็จสิ้นไปเท่านั้น กรณีไม่ใช่เรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 44 เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินคดีโดยแต่งตั้งทนายความต่อสู้คดีมาแต่ต้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่อ้างว่าผิดระเบียบในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: สิทธิของทายาทจำกัดเฉพาะการดำเนินคดีให้เสร็จสิ้น ไม่ใช่การเพิกถอนกระบวนพิจารณา
จำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการบังคับคดี หน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600เพื่อให้การบังคับเสร็จสิ้นไปเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องคดีค้างพิจารณาอันจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 และ 44
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของข้าราชการ: เงินค่าป่วยการที่ไม่ใช่เงินเดือนและไม่อยู่ในข่ายได้รับการคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เจตนารมย์ของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าป่วยการของข้าราชการการเมืองมิใช่เงินเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จึงบังคับคดีได้
เจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของเทศมนตรี: เงินค่าป่วยการไม่ใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
ค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับจากเทศบาลนคร ซึ่งให้เหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา มีลักษณะไม่คงที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ เงินดังกล่าวมิใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) แม้ตำแหน่งเทศมนตรีที่จำเลยดำรงอยู่จะถือว่าเป็นข้าราชการการเมือง แต่เมื่อเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งมิได้อยู่ในความหมายหรือคำว่า "เงินเดือน"ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่เงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามกฎหมาย หากไม่มีหลักฐาน ศาลไม่สามารถบังคับคดีได้
เอกสารที่มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและมีข้อความว่า " ข้าพเจ้า ด. เจ้าของรถได้นำรถจำนองไว้กับ ช. เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท" และลงลายมือชื่อไว้ ข้อความตามเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ไป เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้นๆ อันจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินนี้มีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติที่กฎหมายบังคับไว้สำหรับการก่อให้เกิดหนี้นั้นๆ อันจะฟ้องร้องขอให้บังคับคดีกันได้หรือไม่ โดยต้องพิเคราะห์แยกต่างหากจากการส่งมอบรถยนต์เป็นประกันอันเรียกว่า จำนำ เมื่อการกู้ยืมเงินนี้มีจำนวนเงินเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป แต่มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญแล้ว จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653