คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 378 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดแม้ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยเป็นบิดามารดาของผู้เยาว์ เป็นผู้มีฐานะดีมีรถใช้ในกิจการ 4 คัน ได้ยินยอมให้ผู้เยาว์ซึ่งมีอายุ 19 ปี 6 เดือน ขับรถไปใช้ได้ และได้ความว่าผู้เยาว์เป็นคนสายตาสั้น ดังนี้จำเลยย่อมรู้ดีว่าการขับรถของผู้เยาว์ย่อมเกิดอันตรายได้โดยง่าย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่บิดามารดาที่จะพึงดูแลบุตร เมื่อผู้เยาว์ขับรถของจำเลยไปทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดในผลที่ผู้เยาว์กระทำละเมิดด้วย
แม้ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อมา แต่ผู้เช่าซื้อก็ชอบที่จะใช้ประโยชน์ของรถ และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อมีผู้ละเมิดทำให้รถที่เช่าซื้อเสียหาย ผู้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ละเมิดได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อตาย สิทธิดังกล่าวก็ตกทอดมายังทายาทที่จะฟ้องเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษจำเลยหญิงทอดทิ้ง มีภาระเลี้ยงดูบุตรจำนวนมาก และเป็นเพียงผู้รับฝากยาเสพติด
จำเลยเป็นหญิงถูกสามีทอดทิ้งเมื่อเกิดเหตุแล้ว มีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 8 หรือ 9 คน บุตรคนอื่นๆ ก็อยู่ร่วมบ้านกับจำเลย ซึ่งคงไม่พ้นจากความอุปการะเลี้ยงดูของจำเลย ทั้งจำเลยก็เป็นเพียงผู้รับฝากเฮโรอีนของกลางไว้จากผู้อื่นเท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับรองบุตรและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดต่อกฎหมาย
บิดาของเด็กเท่านั้นที่จะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1527 เมื่อจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วก็จะถอนมิได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1531 และเมื่อมีการจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะฟ้องขอให้ถอนการจดทะเบียนได้ก็ด้วยเหตุที่ว่าผู้ขอให้จดทะเบียนมิใช่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 เท่านั้น
จำเลยยอมให้เงินโจทก์ 20,000 บาท เป็นค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ในการที่โจทก์ยินยอมจะไปเพิกถอนการจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงที่ยุติว่าจำเลยมิใช่บิดาแท้จริงของเด็กนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมของศาลจึงขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1528 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า สามารถขอแก้ไขได้หากพฤติการณ์ทางการเงินของคู่กรณีเปลี่ยนแปลง
การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันเองในการยอมความโดยศาลมิได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น หากต่อมาปรากฏว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไปก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 ได้ (อ้างฎีกาที่ 293/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสันดานเด็กเกิดหลังการสมรสโดยไม่จดทะเบียน และการพิสูจน์ความเป็นบุตร
ชายกับหญิงแต่งงานอยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่จดทะเบียนสมรสเมื่อสามีคนก่อนตายได้ 3 เดือน มีเด็กเกิดหลังสามีคนก่อนตาย 1 ปีเศษหลังจากอยู่กินกับชายคนใหม่ 9 เดือน ไม่ขัดต่อ มาตรา 1519,1521 ชายตายก่อนเด็กเกิด 1 เดือน หญิงมารดาเด็กร้องขอและศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้วส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวาจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและการรับผิดชอบในบุตรจากกรณีข่มขืนกระทำชำเรา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และคลอดบุตรคือเด็กชาย บ. ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและรับเด็กชาย บ.เป็นบุตรรพร้อมทั้งให้มีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยกับเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วยนั้น แม้บิดาโจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจกท์และศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเพราะบิดาโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้พิพากษาว่าจำเลยมิได้ข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ ย่อมไม่ทำให้หลักฐานของคดีโจทก์ในเรื่องนี้เสียไป
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนตั้งครรภ์ ทำให้ค่าของความเป็นสาวต้องตกต่ำ และค่าใช้จ่ายในการคลอด กับแสดงว่าเด็กชาย บ. เป็นบุตรของจำเลยมีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย บ.ตั้งแต่คลอดจนถึงวันฟ้องและจ่ายต่อไปเป็นรายเดือนจนกว่าเด็กชาย บ.จะมีอายุครบ 20 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ค่าเสียหายตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิดขาดอายุความเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ตั้งประเด็นเรื่องอายุความมาในคำแก้อุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาต่อมา จำเลยก็มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาจึงไม่ประเด็นเครื่องอายุความในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดจากข่มขืนและการกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
ชายข่มขืนชำเราหญิงอายุ 15 ปี จนมีครรภ์คลอดบุตรศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายตามฟ้องของหญิง ให้ใช้นามสกุลชายให้เด็กอยู่กับหญิงและให้หญิงเป็นผู้ปกครองเด็กให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนอายุ 20 ปี ให้ใช้ค่าเสียหายแก่หญิง
ชายต่อสู้ว่าข้อหาละเมิดขาดอายุความ ศาลยกฟ้องโดยเหตุอื่นหญิงอุทธรณ์ฎีกา ชายมิได้อ้างอายุความในคำแก้อุทธรณ์ฎีกา ถือว่าชายไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
คำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชวิทยาตรวจร่างกายและเลือดของชายหญิงและเด็ก เห็นว่าไม่มีข้อปฏิเสธว่าเด็กไม่ใช่บุตรเกิดจากชายและหญิง มีน้ำหนักดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทโดยบุตรต่อบิดา และการเพิกถอนการให้ทรัพย์เนื่องจากเนรคุณ
หากจำเลยกล่าวขึ้นมึงกูต่อโจทก์ผู้เป็นบิดา ไม่นับถือโจทก์ว่าเป็นบิดา เปรียบโจทก์ว่าเป็นสุนัขและว่าโจทก์เป็นคนเลวไม่มีศีลธรรม จะฟ้องให้ต้องโทษถึงจำคุกจริงดังที่โจทก์บรรยายฟ้อง ย่อมทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงและเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ซึ่งโจทก์ย่อมฟ้องเพิกถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: พิจารณาความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของเด็ก
ตามปกติอำนาจปกครองย่อมอยู่กับบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นภริยาว่า จำเลยทะเลาะกับโจทก์แล้วหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ที่อื่น ขอให้บังคับจำเลยให้ส่งบุตรคืนแก่โจทก์ ก็เป็นการฟ้องเพื่อจะใช้อำนาจปกครองนั่นเอง แต่ศาลจะให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) หากกรณีส่อแสดงว่าการให้บุตรอยู่กับมารดาจะเป็นการเหมาะสมกว่า(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1225/2508) เมื่อได้ความว่าบุตรอายุเพียง2 ปี ยังไร้เดียงสาและได้อยู่กับจำเลยด้วยดีคลอดมา ไม่ปรากฏข้อบกพร่องเสียหาย การให้บุตรอยู่กับจำเลยระยะนี้บุตรจะได้รับความอบอุ่นมากกว่าอยู่กับโจทก์ และจำเลยก็รับว่าไม่รังเกลียดที่จะให้โจทก์เยี่ยมเยียน จึงควรให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยผู้เป็นมารดาไปก่อน หากมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาบุตรคืนได้ ชั้นนี้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
of 38