พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของป.วิ.พ.มาตรา144จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้วโจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม2525หรือไม่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเป็นคนละประเด็นกันกรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา144.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเลขที่เช็คในคำฟ้อง: ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. จึงไม่ต้องอยู่ในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
ภายหลังการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ของเช็คในคำฟ้อง การขอแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องแก้ไขรายละเอียด หาใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอแก้ในระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเลขที่เช็คในคำฟ้อง: ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. จึงไม่อยู่ในกรอบเวลามาตรา 180
ภายหลังการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเลขที่ของเช็คในคำฟ้อง การขอแก้ไขดังกล่าวเป็นเรื่องแก้ไขรายละเอียด หาใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอแก้ในระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141-1144/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์ตามคำพิพากษา: ระยะเวลาการขอเฉลี่ยหนี้และการตีความ 'อายัด' ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติถึงระยะเวลายื่นขอเฉลี่ยของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ว่า "ในกรณีอายัดทรัพย์สินให้ยื่นคำขอเสียก่อนที่มีการชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ และไม่ว่ากรณีใด ๆ ห้ามมิให้ยื่นคำขอช้ากว่าสามเดือนนับแต่วันอายัด" คำว่า อายัด ในมาตรานี้ หมายถึงการอายัดของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะเป็นการเฉลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน หามีผลรวมถึงการอายัดชั่วคราวก่อนคำพิพากษาด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2936-2938/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งห้ามยื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งไม่รับฟ้อง และไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การ มีคำสั่ง ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ ย่อมมิใช่คำสั่งไม่รับหรือให้คืนคำคู่ความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 แต่เป็น คำสั่งซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องความสามารถในการฟ้องคดี ไม่ใช่การแก้ไขคำฟ้อง อยู่ภายใต้มาตรา 56 ป.วิ.พ.
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถไม่ใช่แก้ไขคำฟ้องจึงไม่อยู่ในบังคับของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179,180 แต่อยู่ภายใต้บังคับของ มาตรา 56 คือศาล อาจสั่งให้แก้ไขเสียให้บริบูรณ์ก่อนมีคำพิพากษา สามีโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลขอให้ความยินยอม และให้สัตยาบันการที่โจทก์ ได้ดำเนินคดีมาแต่ต้น โดยยื่นก่อนเริ่มลงมือสืบพยาน ถือว่า เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานเอกสารจากการสอบสวน: ใช้ประกอบคำพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90
สำนวนการสอบสวนเป็นพยานเอกสารที่คู่ความมีสิทธิอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 จึงรับฟังประกอบคำพยานโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารในสำนวนคดีล้มละลายเป็นเอกสารในสำนวนคดีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90(1) ไม่ต้องส่งสำเนาให้คู่ความ
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา90(1)
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
การที่ผู้ร้องอ้างเอกสารซึ่งเป็นคำให้การของผู้คัดค้านในสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) ซึ่งผู้ร้องไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้คัดค้านก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีหุ้นส่วนเดิมด้วยข้อหาเดิม แม้เปลี่ยนแปลงคำขอท้ายฟ้อง เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าหุ้นส่วนทำไม้กับโจทก์ 39 ราย ถ้าทำไม้เสร็จรายใดก็คิดบัญชีกัน จำเลยไม่คิดบัญชีแบ่งผลกำไรให้ จึงขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุที่จะต้องเลิกห้างหุ้นส่วนและไม่มีเหตุที่จะต้องชำระบัญชี ส่วนในเรื่องคิดบัญชีกันนั้น เป็นข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีหลังจากทำไม้หุ้นส่วนเสร็จแล้ว โจทก์ชอบที่จะเสนอคดีอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และไม่ได้ขอบังคับให้จำเลยใช้เงินคืน จึงไม่วินิจฉัยข้อพิพาทโต้เถียงกันในชั้นคิดบัญชีให้ และพิพากษายกฟ้อง โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งผลกำไรขอให้ใช้คืน ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ก็ถือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้ด้วยกันและจำเลยไม่ยอมแบ่งกำไรซึ่งเป็นข้อ้อางเดียวกันกับที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีก่อน แม้ข้อหาของโจกท์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี และข้อหาในคดีนี้เป็นเรื่องให้ใช้เงินคืนก็ตาม ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน คือ โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนทำไม้กันหรือไม่ โจทก์ชอบที่จะเสนอข้อหาดังกล่าวรวมไปในฟ้องในคราวเดียวกัน แต่โจทก์มิได้กระทำโดยเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลฎีกาในคดีก่อนจึงไม่รับวินิจฉัยข้อหาเรื่องนี้ให้ การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยมูลฐานและข้ออ้างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ
การที่จะฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 148 (3) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนอนุญาตไว้ในคำพิพากษา มิใช่ถ้าคำพิพากษาในคดีก่อนไม่ได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องว่ากล่าวอีกแล้ว โจทก์จะฟ้องได้ มิฉะนั้นบทบัญญัติเรื่องห้ามฟ้องซ้ำที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกของมาตรานี้ย่อมไร้ผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 103/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสิทธิในที่ดิน การแสดงสิทธิโดยผู้รับมรดก ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิที่ชอบฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า สามีจำเลยเคยไปร้องเรียนต่อนายอำเภอว่าโจทก์บุกรุกเข้าครอบครองที่ดินตามตราจองของสามีจำเลยเพื่อจะคลุมเอาที่ดินของโจทก์เป็นของสามีจำเลยเสียดังนี้ ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิเพื่อจะแย่งเอาที่ดินของโจทก์โดยชัดแจ้งอยู่แล้วเมื่อสามีจำเลยตาย จำเลยเป็นผู้รับมรดกของสามี ยังมาแสดงสิทธิโดยขอให้โจทก์ออกไปจากที่ดินดังกล่าว แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลยสืบต่อจากสามีอีก การกระทำของจำเลยดังนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่ดินเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว การโต้แย้งสิทธินั้นไม่จำต้องถึงกับลงมือใช้กำลังกายเข้ายื้อแย่งหรือบุกรุกเข้าไปในที่ดินเพียงการกระทำของสามีจำเลยที่ไปร้องเรียนต่อนายอำเภออันต่อเนื่องมาถึงการกระทำของจำเลยเท่าที่กล่าวในฟ้องโจทก์ก็ชอบที่จะเสนอคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เพื่อขจัดข้อโต้แย้งและแสดงสิทธิของโจทก์ได้