พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย
การให้หรือคำมั่นว่าจะให้ที่ดินจะต้องได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา526บันทึกข้อตกลงระหว่างป. กับจำเลยที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่พิพาทยินยอมยกที่ดังกล่าวส่วนหนึ่งให้โจทก์ด้วยแต่มิได้จดทะเบียนจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทโดยอาศัยบันทึกดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ แม้การซื้อขายที่ดินต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แต่หากไม่มีข้อพิพาทก็ไม่ต้องบังคับ
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น ต้องให้ คชก.รับทราบและวินิจฉัย และต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไป หากจะต้องปฎิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้น ถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกัน ก็หาต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ คชก.ตำบล แต่ คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัย เพราะประธาน คชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับได้ ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไป การที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5329/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละอายุความด้วยการผ่อนผันหนี้และแปลงหนี้เป็นหนี้เงินกู้ ทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาใหม่
หลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความแล้วจำเลยทำหนังสือขอผ่อนผันการชำระหนี้ถึงโจทก์แจ้งว่าตามที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยยินยอมชำระหนี้ให้โจทก์โดยการผ่อนชำระและจำเลยยอมสละประโยชน์แห่งอายุความของสิทธิเรียกร้องดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 แม้หนังสือดังกล่าวจะมีข้อความว่าจำเลยขอแปลงหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้โดยขอให้งดคิดดอกเบี้ยหนี้เงินกู้ใหม่ไว้1ปีด้วยก็ตามแต่ก็มิได้มีข้อกำหนดว่าหากโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะมีผลอย่างไรการที่โจทก์ไม่ตกลงด้วยในการงดคิดดอกเบี้ยจึงไม่มีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของการแสดงเจตนาสละประโยชน์แห่งอายุความของจำเลย จำเลยทำหนังสือสัญญาแปลงหนี้จากหนี้เดิมตามตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นหนี้เงินกู้แม้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะขาดอายุความแล้วแต่เมื่อโจทก์จำเลยยังมีหนี้เดิมต่อกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญากู้ที่แปลงหนี้มาก็ย่อมมีมูลหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันกันตามหนังสือสัญญาแปลงหนี้ดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ หนี้ตามสัญญากู้ที่จำเลยตกลงกับโจทก์แปลงมาจากหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือแปลงหนี้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้นเมื่อโจทก์เรียกร้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีและการบังคับตามฟ้องแย้ง กรณีผลตรวจลายมือชื่อเป็นผลผูกพัน และการจดทะเบียนเช่า
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574ที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าอีกคดีหนึ่งและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าโจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่1และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ของบุคคลภายนอก
โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์ยอมถอนอายัดที่ดินพร้อมบ้านตามฟ้องพร้อมทั้งมีหนังสือถึงกรมที่ดินแจ้งการถอนอายัดจนจำเลยที่ 3 สามารถทำนิติกรรมในบ้านและที่ดินได้ จำเลยที่ 3 จะต้องนำเงินมาชำระแก่โจทก์จำนวน 800,000 บาท ภายใน 1 เดือน นับแต่โจทก์มีหนังสือถึงกรมที่ดินแจ้งการถอนอายัด จำเลยที่ 3 ผิดนัดโจทก์บังคับคดีได้ทันทีในยอดเงิน 800,000 บาท โดยยอมให้ยึดที่ดินพร้อมบ้านตามฟ้องออกขายทอดตลาดดังนี้การที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้ทำให้จำเลยที่ 2 เสียหาย และมิใช่เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2ให้การว่าขายที่ดินพร้อมบ้านตามฟ้องแก่จำเลยที่ 3 โดยสุจริต ทั้งคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นก็ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการทำนิติกรรมของคู่สมรส: ขอบเขตและผลผูกพันของหนังสือยินยอมที่ให้ความยินยอมตลอดไป
ความยินยอมให้ทำนิติกรรมของสามีภริยาไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายจะให้ความยินยอมเป็นการล่วงหน้าและตลอดไปไม่ได้และโดยสภาพแล้วความยินยอมให้ทำนิติกรรมผู้ให้ความยินยอมสามารถให้ความยินยอมเฉพาะเรื่องเฉพาะรายหรือตลอดไปได้ หนังสือให้ความยินยอมมีข้อความว่าจำเลยยินยอมให้จ.สามีทำนิติกรรมในการกู้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีค้ำประกันและมีข้อความต่อไปอีกว่าหรือทำนิติกรรมอื่นใดที่เกี่ยวข้องได้โดยจำเลยตกลงให้ความยินยอมในการกระทำนั้นตลอดไปสัญญาค้ำประกันที่จ. ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับโดยชอบจำเลยไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก: ผลผูกพันเมื่อเงื่อนไขผ่อนชำระไม่เป็นผล
จำเลยเป็นเจ้าของเรือที่เข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นเหตุให้ลูกเรือถูกจับกุม คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติค่าใช้สอยจากเงินงบกลางให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกรมประมงโจทก์นำไปชำระค่าปรับ ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการรับลูกเรือกลับประเทศไทย โจทก์ทวงถามลูกเรือให้ชำระหนี้แล้ว ลูกเรือไม่ชำระ โจทก์ได้ทวงถามจากจำเลยให้ชำระ จำเลยทำหนังสือยอมชดใช้ให้โดยขอผ่อนชำระ หนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งจำเลยเป็นบุคคลภายนอกผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ลูกเรือค้างชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้ตามหนังสือสัญญาที่จำเลยยอมชดใช้เงินแก่โจทก์มีเงื่อนไขว่าต้องผ่อนชำระ ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลย มิใช่เป็นเงื่อนไขอันบังคับไว้ให้สัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้ที่ลูกเรือค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิม (182 ใหม่)เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลของการไม่ตกลงเงื่อนไขผ่อนชำระ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่าตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน13คนซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกลับประเทศไทยนั้นจำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ1,000บาทเป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง13คนระงับไปแต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าวส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงจึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาประนีประนอมยอมความกับหนี้เดียวกัน แม้ระบุชื่อบริษัทต่างกัน
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วมีใจความว่า จำเลยและหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.เป็นหนี้ค่าอาหารสัตว์กับบริษัท จ. โจทก์ขอรับผิดชดใช้หนี้ร่วมกับจำเลยครึ่งหนึ่ง ทั้งนี้ไม่เกินวงเงิน1,550,000 บาท หากบริษัทบังคับให้จำเลยชำระหนี้แล้ว โจทก์ไม่ยอมรับผิดในหนี้ดังกล่าวก็ยอมให้จำเลยบังคับคดีได้ทันที โดยไม่ได้ระบุถึงหนี้ค่าอาหารสัตว์ของบริษัท ก.จำกัดก็ตาม แต่เมื่อบริษัท ก.เป็นบริษัทในเครือของบริษัท จ.ค้าขายสินค้าประเภทเดียวกัน มีที่อยู่ที่เดียวกับบริษัท จ.มีกรรมการบริหารชุดเดียวกันและตามใบกำกับสินค้าแต่ละฉบับก็เป็นแบบพิมพ์เหมือนกันซึ่งมีทั้งออกในนามทั้งสองบริษัท แต่มีระบุว่าให้สั่งจ่ายเงินค่าสินค้าในนามบริษัท ก.เท่านั้น หนี้สินตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระบุว่าเป็นหนี้บริษัท จ. ก็คือหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยชำระให้บริษัท ก. นั่นเอง เมื่อจำเลยชำระหนี้แก่บริษัท ก. แล้ว โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยครึ่งหนึ่งตามข้อประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยได้ทวงถามโจทก์แล้ว โจทก์เพิกเฉย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัด ผิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยชอบจะใช้สิทธิบังคับคดีแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อคดีล้มละลายอื่นที่มีโจทก์เดียวกัน
ขณะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ล้มละลายในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่ง ของศาลชั้นต้นไปก่อนแล้ว แม้โจทก์ในคดีนี้กับโจทก์ในคดี ดังกล่าวจะเป็นคนเดียวกัน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่ และใช้ยันแก่โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จึงต้องจำหน่ายคดีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 15