พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินฝากชำระหนี้เบิกเกินบัญชี และการคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์และมิได้ชำระหนี้คืนโจทก์ โจทก์ได้หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2เข้าชำระหนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2527 เป็นเงิน 2,000,000 บาทและต่อมาได้หักทอนบัญชีกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีอยู่ 586,293.50 บาท ปรากฏตามภาพถ่ายบัญชีกระแสรายวันเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 7 ดังนี้แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่า ในวันที่ 26 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากของจำเลยที่ 2 ใช้หนี้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 เป็นหนี้อยู่จำนวนเท่าใด เมื่อหักหนี้แล้วเหลืออยู่เท่าใดก็ตาม แต่จากข้อความดังกล่าวย่อมเป็นการชัดแจ้งอยู่แล้วว่า ในวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ชำระหนี้ นั้น จำเลยที่ 1 ย่อมจะเป็นหนี้โจทก์อยู่เกินกว่า2,000,000 บาท ทั้งตามภาพถ่ายบัญชีกระแสรายวันเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ปรากฏรายการชัดแจ้งด้วยว่า ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใด ฟ้องโจทก์ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด การคำนวณค่าเสียหายและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จากโจทก์ในราคา 66,384 บาทผ่อนชำระได้ 22,128 บาท แล้วผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาได้หลังจากวันทำสัญญาเช่าซื้อแล้วถึง1 ปี 5 เดือนเศษ รถยนต์ คันที่เช่าซื้อ ย่อมทรุดโทรมเสื่อมราคาไปเพราะการใช้ของจำเลยที่ 1 ราคาในขณะที่โจทก์ติดตามยึดคืนมาได้จึงต้องต่ำกว่าขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ได้นำออกขายทอดตลาดได้เงิน13,000 บาท เมื่อนำเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วมารวมกับเงินที่โจทก์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วยังต่ำกว่าราคาเช่าซื้อ ประกอบกับตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ตลอดจนค่าเสื่อมราคาเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด การคำนวณค่าเสียหายจากรถยนต์เสื่อมสภาพ และขอบเขตการบังคับชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ จากโจทก์ในราคา 66,384 บาทผ่อนชำระได้ 22,128 บาท แล้วผิดสัญญา โจทก์บอกเลิกสัญญาและติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อ คืนมาได้ หลังจากวันทำสัญญาเช่าซื้อแล้วถึง1 ปี 5 เดือนเศษ รถยนต์ คันที่เช่าซื้อ ย่อมทรุดโทรมเสื่อมราคาไปเพราะการใช้ของจำเลยที่ 1 ราคาในขณะที่โจทก์ติดตาม ยึดคืนมาได้จึงต้องต่ำกว่าขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ได้ นำออกขายทอดตลาดได้เงิน13,000 บาท เมื่อนำเงินค่าเช่าซื้อที่ชำระแล้วมารวมกับเงินที่โจทก์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วยังต่ำ กว่าราคาเช่าซื้อ ประกอบกับตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยที่ 1 ต้อง รับผิดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆตลอดจนค่าเสื่อมราคาเมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา และจำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิผู้ให้เช่าซื้อในการเรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อโดยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้ว และมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะการไม่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้มีการเลิกสัญญา อันได้แก่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม และถ้าทรัพย์สินที่คืนมาเสียหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิผู้ให้เช่าซื้อในการเรียกค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าใช้จ่ายในการติดตามเอารถคืน
ในกรณีที่มีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อนั้น ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อ ริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้วและมีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อครอบครองทรัพย์อยู่ภายหลังจากการเลิกสัญญาตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามและถ้าทรัพย์สินที่คืนมาเสียหาย ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดนอกเหนือไปจากความเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ และต้องรับผิดสำหรับค่าใช้จ่ายในการติดตามเอารถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
ประกาศของ กระทรวงการคลัง ซึ่ง ออกโดย อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๒๓มาตรา ๓ หาใช่ข้อกฎหมายอันถือ เป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้เองได้ ไม่แต่ เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่คู่ความมีหน้าที่ต้อง นำสืบ เมื่อทางพิจารณาโจทก์ไม่สืบแสดงให้ความข้อนี้ปรากฏ ทั้งมิใช่เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เองแล้วเช่นนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ย ได้ ถึง อัตราร้อยละ ๒๐ ต่อปี อันเกินไปจากอัตราปกติตาม ที่กฎหมายกำหนดแต่ การที่จำเลยตก เป็นผู้ผิดนัดในการชำระหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย ได้ ในอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีในระหว่างเวลาผิดนัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๒๔.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน, ผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, ผิดนัดชำระหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนี้ของจำเลยเป็นหนี้ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่ง ถึง กำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตาม วันแห่งปฏิทิน คือในวันที่ครบกำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ตั๋วเงินดังกล่าว จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดย ไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๐๔ วรรคสอง และต้อง รับผิดใช้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ทันทีโดย มิต้องบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๖
สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๘ซึ่ง ความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน๕๐๐,๐๐๐ บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้อง รับผิดในดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันเดียวกันด้วย.
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ทันทีโดย มิต้องบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๖
สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ ๑๘ซึ่ง ความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน๕๐๐,๐๐๐ บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้อง รับผิดในดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันเดียวกันด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน, การผิดนัดชำระหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อัตราดอกเบี้ย
หนี้ของจำเลยเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทินคือในวันที่ครบกำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตามตั๋วเงินดังกล่าว จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204วรรคสอง และต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686
สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน 500,000 บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน 500,000 บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีตั้งแต่วันเดียวกันด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686
สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน 500,000 บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน 500,000 บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตั้งแต่วันครบกำหนดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปีตั้งแต่วันเดียวกันด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน, การผิดนัดชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
หนี้ของจำเลยเป็นหนี้ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่ง ถึง กำหนดใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋ว เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตาม วันแห่งปฏิทิน คือในวันที่ครบกำหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ตั๋วเงินดังกล่าว จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีโดย ไม่ต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคสอง และต้อง รับผิดใช้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันที่ครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ทันทีโดย มิต้องบอกกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 สัญญาค้ำประกันมีใจความว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับค้ำประกันในวงเงิน 500,000 บาท และหากมีความเสียหายแก่โจทก์อย่างใดผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้ดอกเบี้ย ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18ซึ่ง ความหมายว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในเงินต้นในวงเงิน500,000 บาท แทนลูกหนี้พร้อมทั้งดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ต้อง รับผิดในดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันครบกำหนดตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันเดียวกันด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัด: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับและค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้อง
สัญญาซื้อขายเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซิน ข้อ 8 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และวรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันแล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร ส่วนสัญญาข้อ 9 กำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาต่อผู้ขาย ยังคงยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาส่งให้แก่ผู้ซื้อต่อไป ผู้ซึ่งจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันได้ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนกว่าผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนครบถ้วน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยส่งมอบเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินทั้งหมดไม่ถูกต้องตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นเรื่องโจทก์ไม่ได้รับเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินที่ไม่ถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องตามสัญญา และโจทก์ได้ยอมรับไว้โดยจะใช้สิทธิปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง เท่านั้นหามีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับเป็นรายวันตามสัญญาข้อ 9 ไม่ แม้สัญญาซื้อขายจะได้กำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์ไว้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง โจทก์แจ้งความซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินเพื่อใช้ในราชการในการจัดซื้อจะต้องตั้งงบประมาณและต้องได้รับอนุมัติจำนวนเงินที่จะจัดซื้อจากรัฐบาล ซึ่งพ่อค้าเช่นจำเลยย่อมจะต้องทราบ เมื่อจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้สามารถซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินจากจำเลยได้ 10 เครื่อง ตามความต้องการของโจทก์ จำเลยย่อมคาดเห็นล่วงหน้าแล้วว่าถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่อาจส่งมอบเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จะต้องได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ไม่สามารถจะซื้อเครื่องกลั่นน้ำมันเบนซินที่จะใช้ทำงานได้ตามความต้องการของโจทก์ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์