คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยานหลักฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อโต้แย้งเรื่องพยานหลักฐานในข้อหาพรากผู้เยาว์ และยืนยันอำนาจฟ้อง
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน คดีสำหรับข้อหานี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การจับและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน เพราะการจับเป็นวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำผิด ส่วนการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120 บัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน ไม่ปรากฏว่าคดีนี้ไม่ได้มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบอย่างไร ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลในการทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินโทษ
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้มือตบหน้าเพียง 2 ครั้งส่วนการที่กระดูกต้นแขนซ้ายของผู้เสียหายหักอาจเกิดจากผู้เสียหายวิ่งล้มลง มิได้เกิดจากจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด จึงฟังได้เพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 และการที่ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย 2ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทุ่มหินใส่เรือ: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยกับเหตุการณ์ต่อเนื่อง
จำเลยยืนอยู่บนสะพานใช้ก้อนหินที่มีขนาดน้ำหนักถึง1 กิโลกรัมเศษ และครึ่งกิโลกรัมจำนวนหลายก้อนทุ่มลงมาในหมู่ผู้เสียหายจำนวนมากที่อยู่ในเรือซึ่งมีพื้นที่จำกัดที่แล่นลอดใต้สะพาน จำเลยย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ว่าก้อนหินอาจถูกศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเป็นผลทำให้ถึงตายได้ แต่จำเลยก็หาได้ใยดีต่อผลที่จะเกิดขึ้นไม่จึงถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจไม่ครบอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
การจะปิดอากรแสตมป์ลงในใบมอบอำนาจเป็นจำนวนเท่าใดนั้น บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของประมวลรัษฎากรกำหนดในข้อ 7 ว่า (ข) การมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่า ครั้งเดียว ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ส่วน (ค) การมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคล หลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ให้ติดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ผู้รับมอบอำนาจคือ ส. หรือ ข. คนใดคนหนึ่งฟ้องคดีแพ่ง และกระทำการอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จึงเป็นกรณีการมอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบอำนาจคนละ 30 บาท รวม 60 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจนั้นเพียง 30 บาท จึงเป็นการปิดอากรแสตมป์ในเอกสารดังกล่าวไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย หนังสือมอบอำนาจดังกล่าว จึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน มีผลให้ไม่อาจใช้เป็นพยาน หลักฐานในคดีนี้ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุในลักษณะคดี: พยานหลักฐานจำเลยแต่ละคนแตกต่างกัน ไม่เชื่อมโยงกัน จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดี สำหรับคดีนี้พยานหลักฐานที่ใช้วินิจฉัยจำเลยที่ 5 แตกต่างจากจำเลยที่ 6 คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสองแยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกัน รวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6 มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีปล้นทรัพย์ ต้องอาศัยพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน และไม่ถือเป็นเหตุในลักษณะคดีหากพยานไม่เชื่อมโยง
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดี สำหรับคดีนี้พยานหลักฐานที่ใช้วินิจฉัยจำเลยที่ 5 แตกต่างจากจำเลยที่ 6 คำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสองแยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกัน รวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยทั้งสองด้วย ดังนั้น พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6 มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคนในคดีปล้นทรัพย์ และเหตุในลักษณะคดี
ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดจะเป็นเหตุในลักษณะคดีหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อเท็จจริงใดที่รับฟังต้องฟังถึงจำเลยคนอื่นเช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุในลักษณะคดีเมื่อคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 6แยกกันเป็นคนละส่วนและมีข้อที่แตกต่างกันรวมทั้งพยานอื่นที่เกี่ยวข้องกับจำเลยด้วย พยานหลักฐานที่จะใช้วินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์จึงแตกต่างไปจากจำเลยที่ 6มิใช่พยานชุดเดียวกันทั้งหมด จึงไม่เป็นเหตุในลักษณะคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้มีผลยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 6ที่มิได้อุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันการทำงานที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ยังใช้เป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือค้ำประกันรายพิพาทมีข้อความว่าจำเลยที่ 3 ตกลงค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์หากจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นและจำเลยที่ 3 ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ดังนี้เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 118 ดังนั้น แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประโยชน์แห่งความสงสัยในคดีอาญา ต้องพิจารณาพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายอย่างละเอียด ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งของพยานหลักฐาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองที่บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" หมายความว่า เมื่อศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงในคดีตามที่โจทก์และจำเลยต่างนำสืบแล้ว เห็นได้ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากความสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลจึงจะยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยมิใช่แต่เพียงว่าเมื่อข้อเท็จจริงตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแตกต่างหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงตาม พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบต่อสู้แล้ว จะให้รับฟังเลยว่าพยานหลักฐาน ของโจทก์มีเหตุสงสัยแล้วยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน และโทษไม่เกิน 5 ปี
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ก่อนพิมพ์จริง ++
++ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ++
++ ความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้วคงจำคุก 1 ปี 4 เดือนจึงเป็นความผิดที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่าที่พยานโจทก์อ้างว่า จำเลยให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพื่อมิให้จับกุมนางดวงใจ แสงอาวุธ ซึ่งเป็นภริยาของจำเลย เป็นพฤติการณ์ที่เป็นพิรุธไม่น่าเชื่อเพราะไม่มีเหตุจูงใจที่จำเลยจะต้องทำเช่นนั้น เป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่เชื่อว่าจำเลยได้มอบเงินจำนวน 18,450 บาท ให้แก่ร้อยตำรวจโทคมกริช ศรีสองเมือง เพื่อไม่ให้จับกุมจำเลย จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ++
++ ส่วนความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานจำหน่ายเฮโรอีน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวและเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทที่มีอัตราโทษเท่ากันตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่ง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 4 ปี ต่างจากที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำต่างกรรมกัน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 4 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 3 ปีก็ตาม แต่ก็เป็นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย และโทษที่ศาลอุทธรณ์จำคุกจำเลยก็ไม่เกิน5 ปี ความผิดส่วนนี้จึงเป็นความผิดที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งเช่นกัน การที่จำเลยฎีกาว่า นอกจากสิบตำรวจตรีโกมินทร์ สุวรรณฤกษ์พยานโจทก์อื่นไม่มีผู้ใดเห็น การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนของจำเลย แต่อย่างใด ทั้งเมื่อพิจารณาจำนวนเมทแอมเฟตามีน 92 เม็ดและเฮโรอีน 5 หลอด นั้นรวมกันแล้วต้องใช้เงินล่อซื้อเกือบ 30,000 บาทการที่สิบตำรวจตรีโกมินทร์มีเงินไปล่อซื้อเพียง 10,000 บาท จำเลยคงไม่ยอมจำหน่ายให้แน่นอน แต่เป็นเรื่องที่มีการสร้างพยานหลักฐานขึ้นมาให้น่าเชื่อถือเท่านั้น ทั้งบันทึกเอกสารหมาย จ.3 จ.4 และ จ.5ก็มีข้อบกพร่องเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์ไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8ที่วินิจฉัยเชื่อว่า จำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนให้แก่สิบตำรวจตรีโกมินทร์ที่ปลอมตัวเข้าไปล่อซื้อและเจ้าพนักงานตำรวจอื่นได้เข้าจับกุมจำเลยได้พร้อมเงินที่ล่อซื้อ จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นเช่นกัน ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยขึ้นมาจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 259