คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พฤติการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 790 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานบุคคลและการพิจารณาพฤติการณ์ก่อนลงมือ
เหตุเกิดเวลากลางวัน ก่อนเกิดเหตุ เด็กชาย ส. อายุ13 ปีพบกับจำเลยกับพวก จำเลยถาม หาไร่ของผู้ตายและให้เด็กชาย ส.ไปตามผู้ตายมาพบ เมื่อผู้ตายกับโจทก์ร่วมมาพบจำเลยได้พูดคุยกันนานประมาณ 10 นาที จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย การที่คนร้ายนั่งพูดคุยกับผู้ตายนานถึง 10 นาที จึงใช้อาวุธปืนยิงนั้น ไม่ใช่เป็นข้อพิรุธ เพราะคนร้ายจะยิงผู้ตายเมื่อไรก็เป็นการเลือกหาโอกาสของคนร้ายเอง มิใช่ว่าเมื่อคนร้ายพบผู้ตายที่คนร้ายประสงค์จะฆ่าแล้วจะต้องลงมือฆ่าในทันที พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน โดยพิจารณาจากพฤติการณ์และพยานหลักฐานที่ไม่สอดคล้องกัน
การที่จำเลยถูกจับกุมโดยไม่ทันรู้ตัว หากจำเลยเป็นเจ้าของอาวุธปืนสั้นจริง จำเลยน่าจะพกติดตัวไว้หรือเหวี่ยงอาวุธปืนสั้นทิ้งเมื่อจวนตัว จึงไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะต้องนั่งทับอาวุธปืนสั้นไว้ดังที่โจทก์นำสืบ นอกจากนี้จำเลยก็มีอาวุธปืนลูกซองยาวชนิดกึ่งอัตโนมัติบรรจุ 5 นัด ซึ่งมีอานุภาพร้ายแรงไว้ป้องกันตัวอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีอาวุธปืนสั้นอีก และถ้าจำเลยถูกจับพร้อมอาวุธปืนสั้นจริงจำเลยน่าจะรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานของกลางเช่นเดียวกับอาวุธปืนยาว แต่จำเลยกลับให้การปฏิเสธตั้งแต่ในชั้นจับกุมตลอดมาจนชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคงที่จะฟังว่าสินตำรวจตรี ป.กับพวกได้จับกุมจำเลยพร้อมกับอาวุธปืนสั้นซึ่งบรรจุกระสุน 3 นัด รูปคดีมีเหตุสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองจำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนสั้นโดยมีได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนสั้นโดยไม่มีใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงการชี้แนวเขต และประวัติการบุกรุกเดิมบ่งชี้เจตนา
โจทก์ร่วมนำพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินและพนักงานสอบสวน ไปทำการรังวัดสอบเขต จำเลยที่ 1 มีพิรุธไม่กล้าที่จะนำชี้แสดง แนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่าเป็นที่ดินได้รับยกให้จาก บ.ให้ปรากฏแน่ชัดได้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องทราบดีว่าที่ดินส่วนนี้เป็นของโจทก์ร่วม ทั้งยังปรากฏว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เคยบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมมาก่อน และศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ไปแล้วจึงเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนา ที่จะบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วมอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3999/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินเจตนาการกระทำ: จากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย เนื่องจากพฤติการณ์แสดงเจตนาให้หยุดการกระทำมากกว่ามุ่งหวังเอาชีวิต
บันทึกการจับกุมที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจลงชื่อ 16 คนแม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ลงชื่อในบันทึกการจับกุมทั้งหมดจะไปร่วมจับกุมด้วยหรือไม่ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 คนร่วมทำการจับคนร้ายจริง แม้บันทึกบางส่วนจะไม่เป็นจริงก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียไป จำเลยเข้าแย่งกระเป๋าจากผู้เสียหาย นาย อ.ซึ่งนั่งติดกับผู้เสียหายได้ช่วยเหลือผู้เสียหาย ในขณะที่มีการแย่งกระเป๋ากันอยู่ จำเลยก็อยู่ใกล้นาย อ.ทั้งมือจำเลยก็ไม่มีอะไรขัดขวางไม่ให้เคลื่อนไหว จำเลยย่อมมีโอกาสยิง นาย อ. ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้การที่จำเลยยิงที่มือนาย อ. เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าประสงค์จะให้นาย อ. ปล่อยกระเป๋า มิใช่ประสงค์จะฆ่านาย อ. จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 เท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289,339,340 ตรี ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 296 ซึ่งเป็นความผิดตามที่รวมอยู่ในการกระทำข้อหาพยายามฆ่า ศาลมีอำนาจลงโทษตามความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งริบอาวุธปืน: ปืนมีทะเบียนใช้ทำผิดได้ริบหรือไม่ พิจารณาจากพฤติการณ์
จำเลยพาอาวุธปืนของจำเลยที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ ไปในหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้พกติดตัวไป และยิงปืนในหมู่บ้านเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ และ ป.อ.มาตรา 371,376, อาวุธปืนเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิด หรือทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งอยู่ในดุลพินิจ หรืออำนาจของศาลที่จะสั่งริบหรือไม่ก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันปล้นทรัพย์: พฤติการณ์เป็นตัวการร่วม แม้จะอ้างเหตุผลอื่น
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตบศรีษะ ผู้เสียหาย แล้วจำเลยที่ 4ใช้อาวุธปืนขู่ผู้เสียหายให้นั่งกับพื้น เมื่อเก็บอาวุธปืนแล้วได้นำ ผู้เสียหายไปขึ้นรถยนต์ จำเลยที่ 3 เป็นคนขับ จำเลยที่ 4 นั่งหน้า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นั่งประกบผู้เสียหายซึ่งนั่งกลางที่เบาะหลัง แล้วขับรถไปด้วยกันเมื่อทำร้ายผู้เสียหายจนได้เงินและปล่อย ผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสี่ก็หลบหนีไปด้วยกัน ถือได้ว่าจำเลย ทั้งสี่เป็นตัวการร่วมในการปล้นทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการยิงอาวุธปืนในสถานการณ์วิวาท ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์การกระทำและผลที่เกิดขึ้น
จำเลยทั้งสามกับพวกผู้เสียหายทะเลาะกันในร้านอาหาร ต่างลุกขึ้นทำท่าจะทำร้ายกัน แล้วจำเลยที่ 2 ชักปืนออกจากเอวยิงไปทางโต๊ะของผู้เสียหายเพียง 1 นัด โดยมิได้ยิงซ้ำทั้งที่มีกระสุนบรรจุอยู่อีก 5 นัด และพอผู้เสียหายกับพวกพากันวิ่งหนีขึ้นชั้นลอย จำเลยที่ 2ก็มิได้ไล่ตามไป ยิงนัดแรกแล้วก็ตามพวกออกจากร้านทันที สาเหตุที่ทะเลาะกันก็ไม่ร้ายแรงถึงกับต้องฆ่ากัน จำเลยที่ 2 น่าจะกระทำเพื่อต้องการข่มอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้นโดยไม่ประสงค์ต่อผลที่จะฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การที่จำเลยที่ 2 ใช้ปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงยิงไปทางกลุ่มผู้เสียหายซึ่งมีประมาณ 10 คน โดยไม่ใยดีว่ากระสุนปืนจะถูกผู้ใดหรือไม่ แม้จะเป็นการยิงเพียงนัดเดียวก็อาจถูกผู้อื่นถึงแก่ความตายได้ ดังจะเห็นได้จากการยิงในครั้งนี้ทำให้กระสุนปืนถูกแขนขวาของผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์จ้างแรงงาน: แม้มีเอกสารจ้างเหมา หากพฤติการณ์เป็นจ้างแรงงาน ศาลยึดพฤติการณ์จริง
จำเลยที่ 3 มีหน้าที่ขับรถยนต์ตามคำสั่งของบริษัทจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2สั่งให้จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จากที่ทำการของจำเลยที่ 1ไปส่งยังที่ทำการของจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปขายเดือนละประมาณ 10 คันคันละเที่ยว จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างให้เที่ยวละ 550 บาท ระหว่างปฏิบัติงานอยู่กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จะไปขับรถยนต์ที่อื่นไม่ได้เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ทำการงานให้แก่จำเลยที่ 2 และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นรายเที่ยว ก็เป็นเพียงวิธีการคำนวณสินจ้างและกำหนดการจ่ายเงิน เมื่องานที่ทำแล้วเสร็จเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 เมื่อจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างและได้ทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมเจ้าพนักงานป่าไม้: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นเหตุสมควรในการจับกุม
โจทก์ทั้งสองเป็นผู้นำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้สักผ่านด่านตรวจออกไปนอกเขตอุทยานแห่งชาติเป็นประจำแทนทุกวัน โดยนำผ่านด่านเพียงครั้งละ 1 ชิ้น เป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ผิดกฎหมาย การที่โจทก์ทั้งสองได้กระทำมาเป็นเวลานานและโดยเฉพาะเดือนสิงหาคม 2530 ได้มีการนำสิ่งประดิษฐ์ทำด้วยไม้สักผ่านด่านเฉพาะโจทก์ที่ 1 จำนวน 25 เที่ยว โจทก์ที่ 6 จำนวน 20 เที่ยว เมื่อนำพฤติการณ์ดังกล่าวมาประกอบกับการกระทำของโจทก์ทั้งสองในวันที่ถูกจับ เป็นเหตุผลให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดผู้มีอำนาจจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ เชื่อว่าโจทก์ทั้งสองน่าจะเป็นผู้ค้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยได้จับกุมโจทก์ทั้งสองในการขับรถผ่านด่าน แม้จะมีสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้สักเพียง 1 ชิ้น แต่พฤติการณ์ที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาจนถึงวันถูกจับกุม เป็นเหตุผลอันสมควรที่ชี้ให้เห็นว่า โจทก์ทั้งสองน่าจะมีการกระทำอันผิดกฎหมาย การที่จำเลยจับโจทก์ทั้งสองด้วยเหตุผลจากพฤติการณ์ของโจทก์ทั้งสองเอง จึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่จงใจแกล้งจับโจทก์ทั้งสองหรือประมาทเลินเล่อ จึงมิใช่เป็นการละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3266/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมผู้ต้องสงสัยค้าไม้หวงห้าม: พฤติการณ์หลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นเหตุสมควรในการจับกุม
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้นำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้สักผ่านด่านอยู่เป็นประจำแทบทุกวันเป็นเวลานาน โดยนำผ่านด่านเพียงครั้ง 1 ชิ้น กรณีเช่นนี้ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าเป็นการหลีกเลี่ยง กฎหมาย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์น่าจะ เป็นผู้ค้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยจับโจทก์ด้วยเหตุผลจากพฤติการณ์ของโจทก์เองจึงเป็น การกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่จงใจแกล้งจับโจทก์ หรือประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด จึงมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
of 79