คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความหลังพิทักษ์ทรัพย์: อำนาจของนิติบุคคลแยกจากลูกหนี้
การห้ามลูกหนี้กระทำการตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 ไม่มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือทำกิจการแทนผู้อื่นด้วย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องต่อศาลจึงเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกออกไปอีกส่วนหนึ่งจากจำเลยที่ 2 นั้น ย่อมมีอำนาจกระทำได้ไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจากสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย แต่ไม่มีทรัพย์ใดที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
นอกจากจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังมีหนี้สินอื่นอีก โดยที่จำเลยมีเพียงเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ส่วนทรัพย์สินอื่นไม่มีพอที่จะชำระหนี้ จึงสมควรให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าจัดการทรัพย์สินของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการนับระยะเวลาขอพิจารณาใหม่: ความสัมพันธ์ระหว่างมารดา-บุตรและการสันนิษฐานการรับรู้
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งหกเด็ดขาดเมื่อวันที่ 21มีนาคม 2529 จำเลยที่ 6 ศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา วันที่30 พฤศจิกายน 2529 จำเลยที่ 6 กลับมาประเทศไทยซึ่งจำเลยที่ 6มีภูมิลำเนาอยู่แห่งเดียวกับจำเลยที่ 2 ผู้เป็นมารดาและจำเลยที่ 5ซึ่งเป็นพี่ชาย ดังนี้ จำเลยที่ 6 จะต้องได้พบกับจำเลยที่ 2อย่างช้า ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และจำเลยที่ 2 จะต้องแจ้งเรื่องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้จำเลยที่ 6 ทราบการที่จำเลยที่ 6 มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 14 ตุลาคม2530 จึงพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ยังใช้ได้ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาล-ชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วยพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น ต้องนำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายล้มละลาย กล่าวคือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไปและต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้นกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้ ส่วนกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วเป็นต้นว่ากรณีคำขอรับชำระหนี้ กรณีการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินโดยการมีหนังสือแจ้งความไปยังบุคคลที่เป็นหนี้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 และกรณีอื่น ๆ อีกซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ กระบวนพิจารณาเหล่านี้ย่อมดำเนินต่อไปได้ตามวิธีพิจารณาคดีล้มละลายในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเหล่านั้นใหม่ในกรณีที่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไปโดยผลของคำพิพากษาศาลสูง เว้นแต่กรณีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นผลโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลสูง กรณีคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้แต่เดิม ไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมายจึงไม่ถูกเพิกถอนไปด้วยและยังคงใช้ได้อยู่ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นยังคงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิมผู้ร้องไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่ ทั้งกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นกำหนดระยะเวลาให้กระทำก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้สิ้นสุดลง แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งแรกแล้ว แม้จะเป็นการยื่นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองก็ถือว่าได้ยื่นไว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ยังคงใช้ได้ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น ต้องนำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายล้มละลาย กล่าวคือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไปและต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้น กระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้ส่วนกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้นว่ากรณีคำขอรับชำระหนี้ กรณีการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินโดยการมีหนังสือแจ้งความไปยังบุคคลที่เป็นหนี้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119และกรณีอื่น ๆ อีกซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ กระบวนพิจารณาเหล่านี้ย่อมดำเนินต่อไปได้ตามวิธีพิจารณาคดีล้มละลายในเรื่องนั้น ๆโดยไม่ต้องไปเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเหล่านั้นใหม่ในกรณีที่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไปโดยผลของคำพิพากษาศาลสูงเว้นแต่กรณีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นผลโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลสูง กรณีคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้แต่เดิม ไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมายจึงไม่ถูกเพิกถอนไปด้วยและยังคงใช้ได้อยู่ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นยังคงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิมผู้ร้องไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่ ทั้งกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นกำหนดระยะเวลาให้กระทำก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้สิ้นสุดลง แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งแรกแล้ว แม้จะเป็นการยื่นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองก็ถือว่าได้ยื่นไว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตามเงื่อนไข ฯลฯ ข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้น และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือต่อศาลผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลัง โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ชำระหนี้ภาษีอากรครบถ้วนหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถือเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ ทำให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วน และภายในเวลาที่กำหนดลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคแต่คดีที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็ม จำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากรจึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตาม เงื่อนไข ฯลฯข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้นและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้ นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตาม ข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้า ภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลผู้เสียภาษีอากรต้อง ขอถอน อุทธรณ์หรือถอน ฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูก ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูก แจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้ รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลังโดย ไม่ต้องขอถอน ฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดย เสมอภาค คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว คือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้อง ยกเลิกการล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จำเลยอ้างถูกหลอกลวง
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเหตุให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย เมื่อทางนำสืบของจำเลยต่าง กับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ แต่ ทางนำสืบของจำเลยดังกล่าวเจือสมกับคำพยานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และเป็นหนี้กำหนดจำนวนได้ แน่นอนและถึง กำหนดชำระแล้ว จำเลยมีเงินเดือนเดือน ละ 5,000 บาท ไม่มีทรัพย์อื่นใด อีก ดังนี้ จำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่แสดงว่าไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้.
of 38