พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อลูมิเนียมฟอยล์และลามิเนตฟอยล์เป็นของใช้ที่ต้องเสียภาษีการค้า พิจารณาจากสภาพการใช้งานจริง
อลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์ (PLAINFOIL หรือ FOIL) และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษ (LAMINATEDFOIL) ที่โจทก์ผลิตขึ้นมานั้น จะเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 บัญชีที่ 1 แห่ง พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากการใช้ในสภาพปกติของสินค้าดังกล่าวนั้นว่าจะนำไปเป็นของใช้ในตัวของมันเองได้ในทันทีหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ใช้จะต้องนำของนั้นไปปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับความประสงค์พิเศษของผู้ใช้หรือเพื่อให้รู้แหล่งกำเนิดและชนิดของสินค้านั้นๆหรือไม่ โจทก์ต้องผลิตอลูมิเนียมทั้งสองชนิดดังกล่าวให้มีความหนา ความบาง ความกว้าง ความยาว และอื่นๆตามคำสั่งของลูกค้า แสดงว่าเป็นสิ่งของที่พร้อมจะนำไปใช้จึงมีสภาพที่แท้จริงเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ห่อหรือบรรจุของหรือสินค้าอื่น โดยความมุ่งหมายเพื่อเก็บความร้อน ความชื้น และเก็บกลิ่น แม้ลูกค้าที่สั่งซื้อไปใช้อุตสาหกรรมหีบห่อ เช่นพวกซอง ถุงใส่ของ โดยการนำไปพิมพ์ข้อความ เคลือบสี หรือนำไปผนึกเพื่อป้องกันมิให้ความชื้นเข้าไปได้ โดยนำไปทำเป็นซองหรือแผงเพื่อบรรจุสินค้า ก็เป็นเพียงการปรับปรุงอลูมิเนียมแผ่นเปลวชนิดฟอยล์และอลูมิเนียมแผ่นเปลวผนึกด้วยกระดาษให้เหมาะสมกับสภาพที่จะเอาไปห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าของลูกค้า เพื่อให้เกิดความสวยงาม ให้มีความคงทนในการเก็บรักษา ให้รู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายในเป็นอะไร ให้รู้แหล่งกำเนิดของผู้ผลิต อลูมิเนียมทั้งสองชนิดนั้นมิได้คลายสภาพเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นใหม่ ยังคงมีสภาพเป็นของใช้ที่ใช้ห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้าอื่นที่ใช้ได้ทันทีในตัวของมันอยู่นั่นเอง จึงเป็นของใช้เฉพาะที่ผลิตจากโลหะตามหมวด 9 ของบัญชีที่ 1 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น (ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 5(8) ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนั้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์หลังประนีประนอมยอมความ ถือเป็นการค้าเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
บริษัท ก. ซึ่งดำเนินกิจการจัดสรรที่ดินและบ้านขาย เป็นหนี้ธนาคารโจทก์จึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยบริษัท ก. ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 374 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จัดสรรขายนั้นให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ และในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้มีข้อตกลงว่า เมื่อผู้ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายใดได้ชำระราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ตกลงซื้อให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อนั้น อาคารใดที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยโจทก์รับจะดำเนินการก่อสร้างให้เรียบร้อย เมื่อโจทก์จำหน่ายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปหมดแล้ว ถ้าได้เงินเกินกว่าจำนวนที่บริษัท ก. เป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยเท่าใด โจทก์ยอมแบ่งเงินส่วนที่เกินนั้นแก่บริษัท ก. ครึ่งหนึ่งต่อมาเมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากบริษัท ก. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ได้ดำเนินการจัดการก่อสร้าง ปรับปรุง เพิ่มเติมอาคารจนแล้วเสร็จแล้วขายไป พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นรายรับตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องนำรายรับนี้มาเสียภาษีการค้า
การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่กิจการที่ผิดกฎหมาย เพียงแต่มีกฎหมายห้ามบุคคลบางประเภทไม่ให้กระทำเท่านั้นฉะนั้น การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 หรือไม่ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรไม่
การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่กิจการที่ผิดกฎหมาย เพียงแต่มีกฎหมายห้ามบุคคลบางประเภทไม่ให้กระทำเท่านั้นฉะนั้น การประกอบกิจการค้าอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์จะเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 หรือไม่ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อแลกหุ้นถือเป็นการค้า หากำไร ต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไร จึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน
โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรและการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าวเช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นถือเป็นการค้าและต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร และการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้ จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าว เช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้น ที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทภาษีการค้าสำหรับตะเกียงแค้มปิ้งแก๊ส: สินค้าใช้กับแก๊สประเภท 2 หรือสินค้าทั่วไปประเภท 1
ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นสองส่วน คือส่วนถังแก๊สกับส่วนตะเกียงซึ่งต่อกับถังแก๊ส จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าเพราะตะเกียงนี้ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สจึงมีลักษณะเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งซึ่งใช้กับแก๊สตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 2 (ข) หาใช่ชนิด 1 (ก) ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 (3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนกประเภทสินค้า (ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊ส) เพื่อเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สแบ่งส่วนใหญ่ออกเป็นสองส่วน คือส่วนถังแก๊สกับส่วนตะเกียงซึ่งต่อกับถังแก๊ส จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในที่ซึ่งไม่มีไฟฟ้าเพราะตะเกียงนี้ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ตะเกียงแค้มปิ้งแก๊สจึงมีลักษณะเป็นเครื่องใช้อย่างหนึ่งซึ่งใช้กับแก๊สตามความหมายในบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 1 ชนิด 2(ข) หาใช่ชนิด 1(ก) ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89ทวิ ได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าเสียเบี้ยปรับในกรณียื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด และในวรรคท้ายบัญญัติว่า เบี้ยปรับตามมาตรานี้อาจงดหรือลดลงได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี โจทก์มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่ากรณีของโจทก์ต้องด้วยระเบียบดังกล่าวอย่างไร จึงไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยงดเบี้ยปรับให้โจทก์ได้ และไม่ปรากฏว่ากรณีต้องด้วยเหตุที่จะงดหรือลดเงินเพิ่มตามมาตรา 89ทวิ ได้อย่างไร จึงไม่มีเหตุที่ศาลสั่งงดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับรายรับดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว ไม่ใช่เพียงถึงกำหนดชำระ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า นั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3)
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยธนาคารเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้านั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3) ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: การผลิตถุงเท้าเพื่อขาย แม้ทำสัญญาจ้างหรือซื้อขายกับราชการ ถือเป็นผู้ผลิตต้องเสียภาษี
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆการขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้าส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มีคุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญ เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบกโดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็นค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: กิจการโรงงานทอถุงเท้าถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆ การขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้า ส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มี คุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญเห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบก โดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็น ค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้ มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตาม บัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้