พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งมรดกโดยเปิดเผย และการไม่สมควรเพิกถอนผู้จัดการมรดก
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และ ซื้อที่ดินให้วัดอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อ จัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกยินยอมไม่คัดค้าน และจำเลยได้จัดการ มรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอม ไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งแต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วและจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคนในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกและฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้วนอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก เมื่อจำเลยมิได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทุจริตหรือความไม่สามารถอันเป็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะ ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีมรดกหลังผู้คัดค้านถึงแก่ความตาย: ผลกระทบต่อคำพิพากษาและฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านร่วมกับผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ด. ผู้ตาย กับให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้คัดค้านอุทธรณ์ และต่อมาผู้คัดค้านถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าผู้คัดค้านถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์เมื่อรูปคดีเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก และมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของด. ผู้ตายอยู่ก่อน อันเป็นสิทธิและหน้าที่เฉพาะตัวของผู้คัดค้านซึ่งไม่อาจรับมรดกความแทนที่กันได้ กรณีเช่นนี้ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้คัดค้านออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งได้อ่านภายหลังที่ผู้คัดค้านถึงแก่ความตายไปแล้วจึงไม่ชอบต้องยกเสีย และเป็นผลให้คดีไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะฎีกาศาลฎีกาไม่อาจรับไว้วินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และอายุความมรดก: กรณีฟ้องแบ่งมรดกที่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกเนื้อที่ 119.45 ตารางวา ราคา 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าแม้จะฟ้องรวมกันมาโดยมิได้ระบุส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับในคำฟ้องเดียวกันก็ตามแต่สิทธิของโจทก์แต่ละคนที่จะได้รับมรดกมีจำนวนเพียงคนละ 23.89 ตารางวา ราคา200,000 บาท ดังนั้น ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันคือคนละ 200,000บาท เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล.เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ได้ครอบครองแทน ล.ล.ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล.นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่น มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล.เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ได้ครอบครองแทน ล.ล.ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล.นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่น มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเงินส่วนตัวให้ผู้อื่นโดยเสน่หา ไม่เป็นมรดก
พระครู น.ผู้มรณภาพมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารรวม 2 บัญชี บัญชีแรกเป็นมูลนิธิวัด ต.ของวัดโจทก์ ผู้มีสิทธิถอนเงินได้แก่ผู้มรณภาพร่วมกับกรรมการวัดอีก2 คน ส่วนอีกบัญชีฝากในนามส่วนตัว ผู้มรณภาพเป็นผู้ลงนามถอนเงินได้เอง เงินที่ยกให้นี้ถอนจากบัญชีเงินฝากส่วนตัว เมื่อเป็นเงินส่วนตัวของผู้มรณภาพ ผู้มรณภาพย่อมจะยกให้แก่ผู้ใดก็ได้
เมื่อพระครู น.ผู้มรณภาพได้ยกเงินจำนวนตามฟ้องให้แก่จำเลยโดยเสน่หา กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของจำเลยนับแต่วันรับการยกให้ เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ของผู้มรณภาพอีกต่อไป จึงไม่เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแม้จำเลยจะมิได้ออกเงินช่วยค่าพยาบาลรักษาผู้มรณภาพ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้
เมื่อพระครู น.ผู้มรณภาพได้ยกเงินจำนวนตามฟ้องให้แก่จำเลยโดยเสน่หา กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของจำเลยนับแต่วันรับการยกให้ เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ของผู้มรณภาพอีกต่อไป จึงไม่เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแม้จำเลยจะมิได้ออกเงินช่วยค่าพยาบาลรักษาผู้มรณภาพ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาและการตกเป็นของผู้อื่น มิใช่ส่วนหนึ่งของมรดก
พระครูน.ผู้มรณภาพมีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารรวม 2 บัญชีบัญชีแรกเป็นมูลนิธิวัดต.ของวัดโจทก์ ผู้มีสิทธิถอนเงินได้แก่ผู้มรณภาพร่วมกับกรรมการวัดอีก 2 คน ส่วนอีกบัญชีฝากในนามส่วนตัวผู้มรณภาพเป็นผู้ลงนามถอนเงินได้เอง เงินที่ยกให้นี้ถอนจากบัญชีเงินฝากส่วนตัว เมื่อเป็นเงินส่วนตัวของผู้มรณภาพผู้มรณภาพย่อมจะยกให้แก่ผู้ใดก็ได้ เมื่อพระครูน.ผู้มรณภาพได้ยกเงินจำนวนตามฟ้องให้แก่จำเลยโดยเสน่หา กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของจำเลยนับแต่วันรับการยกให้ เงินจำนวนนี้ไม่ใช่ของผู้มรณภาพอีกต่อไปจึงไม่เป็นมรดกตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาแม้จำเลยจะมิได้ออกเงินช่วยค่าพยาบาลรักษาผู้มรณภาพ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกถูกจำกัดเนื่องจากสถานะทายาทลำดับที่ 4 และการอ้างสิทธิเกินขอบเขตคำร้อง
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างสิทธิขอตั้งผู้จัดการมรดกเพียงว่าผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกเพียงผู้เดียวโดยมิได้อ้างสิทธิหรือส่วนได้เสียอย่างอื่น เมื่อปรากฎตามคำร้องขอนั้นชัดแจ้งว่า เจ้ามรดกยังมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่อีก 2 คน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3)ซึ่งยัง มีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดาเดียวกับเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทอันดับ 4 ตามมาตรา 1629(4)ดังนี้ ผู้ร้องจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่งและเมื่อผู้ร้องมิใช่ทายาทของเจ้ามรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1713(1) จึงไม่อาจร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกได้ และแม้ทายาทของเจ้ามรดกที่มีชีวิตอยู่ดังกล่าวถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถอยู่ในความอนุบาลของผู้ร้อง และทายาทนั้นไม่สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ และหากไม่มีผู้จัดการมรดกจะทำให้ทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกเกิดความเสียหายได้ก็ตามแต่เมื่อผู้ร้องอ้างสิทธิในการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกตามมาตรา 1713(1) ชัดแจ้งอยู่แล้ว การที่จะไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องยังมีสิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิของการเป็นทายาทโดยธรรม ย่อมไม่อาจกระทำได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกคำร้องขอและนอกประเด็น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่จำต้องทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์, การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์, สิทธิในการจัดการมรดกของทายาทโดยธรรม
พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเอง ทั้งฉบับ แต่ไม่ระบุวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมอันเป็นการทำพินัยกรรมที่ไม่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1657 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ไม่มีพินัยกรรม และเมื่อการจัดการมรดกมีเหตุขัดข้อง ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713 แม้เอกสารฉบับพิพาทพร้อมคำแปลจะมีข้อความว่า ป.เจ้ามรดกเป็นผู้ทำ และมีลักษณะเป็นพินัยกรรมแบบทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับ โดยผู้ทำลงวัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตนในเอกสารอย่างถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเท่านั้น ไม่ใช่ต้นฉบับเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93กรณีไม่อาจฟังว่า ป. เจ้ามรดกทำพินัยกรรมนั้นไว้จริง เมื่อเอกสารที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเอกสารการรับเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันระหว่าง ป. เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นเพียงสัญญารับบุตรบุญธรรมเพราะ ป.เจ้ามรดกไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอรับบุตรบุญธรรม ทั้งไม่ปรากฎว่า ป. เจ้ามรดกได้รับอนุมัติจากศาลปกครองในการรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ดังนั้น เมื่อการรับบุตรบุญธรรมของ ป. ไม่สมบูรณ์ และ ไม่มีผลตามกฎหมาย และเมื่อ ป.เจ้ามรดก ไม่ได้จดทะเบียนรับผู้คัดค้านเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายของประเทศไทย ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ทายาทของ ป.ทั้งเมื่อไม่ปรากฎว่าผู้คัดค้านเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ ป. ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ป. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิมากกว่าผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกตามพินัยกรรม, อายุความ, และสถานะทายาทที่ถูกตัดสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย ซึ่งตามกฎหมายเจ้ามรดกและจำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ จ.สามีของโจทก์ที่ 1 เพียงหนึ่งในสี่ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดไม่เกินไปจากส่วนที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าของ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมได้ ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับตามกฎหมาย ขณะทำพินัยกรรมไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกทราบว่า จ.สามีของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ไม่มีทางได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทย เนื่องจากเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวเช่นเดียวกันเคยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยมาก่อน จึงเข้าใจว่า จ. คงขออนุญาตรับมรดกในส่วนของที่ดินพิพาทได้เช่นเดียวกันทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 46 ก็บัญญัติให้คนต่างด้าวมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ตามสนธิสัญญาต่าง ๆ และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้ จ.จะไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ถือครองที่ดินได้ จ. ก็ยังมีสิทธินำที่ดินพิพาทซึ่งรับมรดกมาจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 94 ดังนี้พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงมิได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ แม้จำเลยจะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นทั้งหมดโดยจำเลยไม่ได้รับมรดกเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ยกอายุความ 10 ปีตามมาตรา 1755 มาใช้ยันต่อ จ. ผู้รับพินัยกรรมและโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของลูกหนี้ แม้ยังมิได้แบ่งปัน
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. เมื่อ จ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใด ที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ จ. จำเลยที่ 2 จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้ อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้ว แม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่ 2 กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่น ๆ จะร้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด