พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ต้องมีการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น การมีชื่อในโฉนดไม่ถือเป็นการครอบครอง
ความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 นั้น นอกจากจะมีการเบียดบังเอาทรัพย์ไปโดยทุจริตแล้ว จะต้องได้ความด้วยว่า ผู้ที่เบียดบังนั้นได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลย (หุ้นส่วนของห้างโจทก์) เป็นแต่เพียงมีชื่อในโฉนดพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงเท่านั้น โดยจำเลยมิได้เข้าเกี่ยวข้องครอบครองที่ดินโฉนดพิพาทแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นตามความแห่งมาตรา 352 แม้จำเลยเอาที่ดินโฉนดดังกล่าวไปทำสัญญาขายฝากให้แก่ผู้มีชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากโจทก์ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานยักยอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจร เป็นยักยอกทรัพย์ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ดูแลศาสนสมบัติของวัด
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากลักทรัพย์/รับของโจรเป็นยักยอก เนื่องจากผู้ดูแลรักษาคือเจ้าอาวาส และการกระทำเข้าข่ายยักยอกทรัพย์
พระพุทธรูปซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด จึงอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 37(1) จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาพระพุทธรูปเป็นของตนหรือของจำเลยที่ 2 โดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ในการเบียดบังเอาพระพุทธรูป มีความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำความผิดเกี่ยวกับการยักยอกด้วยข้อเท็จจริงในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192และการยกฟ้องนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยการเบียดบังข้าวเปลือกของผู้รับฝาก แม้เป็นสังกมะทรัพย์ก็ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยทำสัญญาขายข้าวเปลือกซึ่งเก็บไว้ในยุ้งของ ส.ให้โจทก์ร่วม และทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกจำนวนนั้นไว้จากโจทก์ร่วม จะนำไปส่งมอบให้ภายหลังดังนี้เห็นได้ว่าข้าวเปลือกได้โอนไปเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อจำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมโดยเก็บไว้ในยุ้งที่จำเลยเช่าไว้จึงเป็นผู้ครอบครองข้าวเปลือกซึ่งเป็นของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยขนเอาข้าวเปลือกไปเสีย และปฏิเสธฝืนพยานหลักฐานว่าไม่มีข้าวเปลือกของจำเลยอยู่ในยุ้งดังกล่าวและจำเลยไม่เคยขายและรับฝากข้าว เปลือกจากโจทก์ร่วม เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์แม้ข้าวเปลือกจะเป็นสังกมะทรัพย์ซึ่งอาจใช้ข้าวประเภทและชนิดเดียวกันมี ปริมาณจำกัดแทนกันได้แต่ก็มิใช่ว่าผู้รับฝากจะเอาไปเป็นประโยชน์สำหรับตนได้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์จากสัญญาขายและรับฝาก: การเบียดบังข้าวเปลือกของผู้อื่นเป็นความผิดอาญา
จำเลยทำสัญญาขายข้าวเปลือกซึ่งเก็บไว้ในยุ้งของ ส. ให้โจทก์ร่วม และทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกจำนวนนั้นไว้จากโจทก์ร่วมจะนำไปส่งมอบให้ภายหลังดังนี้เห็นได้ว่าข้าวเปลือกได้โอนไปเป็นของโจทก์ร่วมแล้วเมื่อจำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมโดยเก็บไว้ในยุ้งที่จำเลยเช่าไว้ จึงเป็นผู้ครอบครองข้าวเปลือกซึ่งเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อจำเลยขนเอาข้าวเปลือกไปเสียและปฏิเสธฝืนพยานหลักฐานว่าไม่มีข้าวเปลือกของจำเลยอยู่ในยุ้งดังกล่าว และจำเลยไม่เคยขายและรับฝากข้าวเปลือกจากโจทก์ร่วมเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์แม้ข้าวเปลือกจะเป็นสังกมะทรัพย์ซึ่งอาจใช้ข้าวประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากัน แทนกันได้แต่ก็มิใช่ว่าผู้รับฝากจะเอาไปเป็นประโยชน์สำหรับตนได้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิทธิ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ vs. ยักยอกทรัพย์: การเก็บทรัพย์ที่ตกหล่นและรู้เจ้าของเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
การที่ถุงกระดาษใส่เงินและทรัพย์มีค่าของผู้เสียหายตกอยู่บนทางในเวลากลางวัน ขณะผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์จะกลับบ้าน โดยผู้เสียหายไม่ทราบว่าตกตรงไหน แต่คาดหมายได้ว่าตกในระหว่างทางที่ผ่านมาซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 3 เส้น ทันทีที่ผู้เสียหายรู้ตัวก็กลับรถไปตามหา และตามไปจนพบจุดที่ถุงกระดาษตก แต่ปรากฏว่าจำเลยเก็บไปเสียก่อนแล้วนั้น จำเลยย่อมรู้หรือควรรู้ว่าอยู่ในระหว่างเวลาที่เจ้าทรัพย์ติดตามหา การที่จำเลยเก็บเอาไปจึงเป็นการฉวยโอกาสเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของเจ้าทรัพย์ ก่อนที่เจ้าทรัพย์จะติดตามมาทัน เมื่อผู้เสียหายตามไปพบและขอคืน จำเลยก็ไม่ยอมคืน เป็นการแสดงเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์สินหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี ยักยอกทรัพย์ แม้รายละเอียดทรัพย์แตกต่างเล็กน้อย ศาลไม่ถือว่าเป็นข้อแตกต่างสาระสำคัญ
ฟ้องบรรยายว่า จำเลยยักยอกเงินที่ผู้เสียหายมอบให้นำไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยยักยอกเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้เสียหายเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมอบให้นำไปฝากเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด เงินจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ก็เป็นเงินที่อยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ และผู้ว่าคดีโจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้รับมอบเงินจากผู้เสียหายถือว่าจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์/ยักยอกทรัพย์ แม้ข้อเท็จจริงในฟ้องต่างกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ หากไม่ถึงสารสำคัญ
ฟ้องบรรยายว่า จำเลยยักยอกเงินที่ผู้เสียหายมอบให้นำไปเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ผู้เสียหายเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมอบให้นำไปฝากเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด เงินจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด แต่ก็เป็นเงินที่อยู่ในความครอบครองรับผิดชอบของผู้เสียหาย ผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ และผู้ว่าคดีโจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีดังกล่าวไม่ถือว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความแตกต่างกับข้อเท็จจริงในฟ้องในข้อสารสำคัญ ทั้งจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้รับมอบเงินจากผู้เสียหายถือว่าจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการยักยอกทรัพย์ แม้คดีอาญาจะระงับด้วยการยอมความ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาว่า จำเลยยักยอกเงิน ขอให้ลงโทษและให้จำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ไปขายเสีย แล้วเบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกที่ขายได้เป็นของจำเลย เป็นความผิดฐานยักยอก แต่โจทก์จำเลยได้แสดงเจตนาเลิกคดีอาญาต่อกัน ได้ชื่อว่ายอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับไป พิพากษายกฟ้องโจทก์ในทางอาญา แต่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีอาญาเป็นอันถึงที่สุดแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46) เมื่อข้อเท็จจริงในทางอาญาได้ความว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้แล้วนำไปขายแก่บุคคลอื่น เบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าข้าวเปลือกนั้นให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการยักยอกทรัพย์ แม้คดีอาญาจะยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาว่า จำเลยยักยอกเงินขอให้ลงโทษและให้จำเลยใช้เงินคืนแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ไปขายเสีย แล้วเบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกที่ขายได้เป็นของจำเลย เป็นความผิดฐานยักยอก แต่โจทก์จำเลยได้แสดงเจตนาเลิกคดีอาญาต่อกัน ได้ชื่อว่ายอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิฟ้องคดีอาญาจึงระงับไปพิพากษายกฟ้องโจทก์ในทางอาญาแต่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ในคดีส่วนแพ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีอาญาเป็นอันถึงที่สุดแล้ว ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46) เมื่อข้อเท็จจริงในทางอาญาได้ความว่า จำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ไว้แล้วนำไปขายแก่บุคคลอื่น เบียดบังเอาเงินค่าข้าวเปลือกไว้ จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าข้าวเปลือกนั้นให้โจทก์