พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลาง (ปืน) ที่จำเลยจำหน่ายไปแล้ว ศาลไม่สามารถบังคับริบได้หากไม่มีราคาอ้างอิง
จำเลยมีปืนโดยมิได้รับอนุญาตโจทก์จึงขอให้ริบปืนและถ้าจำเลยไม่นำปืนมาส่งศาล ขอให้บังคับตาม ม. 29 แห่งกฎหมายอาญา เมื่อปรากฏว่าปืนกะบอกนี้จำเลยได้จำหน่ายไปเสียก่อนถูกจับตั้งโจทก์ก็มิได้กำหนดราคาปืนหรือนำสืบถึงราคาปืนดังนี้ศาลไม่ริบปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในความเสียหายของทรัพย์สินที่ถูกยึด ผู้รับรักษาต้องรับผิดชอบตามราคาที่ตกลง หรือราคาที่ยอมรับ
เวลาฝากของได้ตีราคาทรัพย์ไว้ เจ้าของไม่คัดค้านราคาภายหลังของนั้นหาย เจ้าของจะเรียกราคาทรัพย์เกินราคาที่ตีไว้ไม่ได้
ความรับผิด ผู้ชนะคดีต้องรับผิดชอบในการที่นำยึดทรัพย์ของผู้อื่นผิดมา
ความรับผิด ผู้ชนะคดีต้องรับผิดชอบในการที่นำยึดทรัพย์ของผู้อื่นผิดมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายของแถมสลากไม่เป็นการพนัน หากเป็นการค้าปกติและไม่มีการขึ้นราคาสูงเกินจริง
ขายของตามราคาธรรมดาแลแถมสลากให้ผู้ซื้อเพื่อจะได้มีโอกาศถูกรางวัลเป็นสิ่งของไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.การพะนัน อ้างฎีกาที่ 818/2476
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษทางอาญา: ราคาทรัพย์สินที่ถูกลักไม่เป็นเหตุให้ลดโทษตามกฎหมาย
เหตุปราณีย์ เพียงแต่ทรัพย์ที่ลักไปนั้นราคาเล็กน้อยไม่เปนเหตุให้ลดโทษตามมาตรานี้ ปัญหากฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: การงดการไต่สวน, การเพิกถอนการขายทอดตลาด, และการประเมินราคาที่สมควร
ในวันนัดไต่สวนคำร้องเพื่อขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ ศาลพิเคราะห์คำร้องของโจทก์ คำคัดค้านของผู้ซื้อทรัพย์และรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดการไต่สวน แล้วศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยในส่วนคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ว่า กรณีไม่มีเหตุให้เลื่อนคดี ให้ยกคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องขอเลื่อนคดีของโจทก์เพราะไม่มีเหตุตามคำร้องหรือไม่เชื่อว่าพยานโจทก์เจ็บป่วยจริง ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงเหตุจำเป็นที่จะให้เลื่อนคดีตามคำร้องของโจทก์ หรือสั่งให้เจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูอาการเจ็บป่วยของพยานโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41 แต่อย่างใด ทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์ คำคัดค้านของผู้ซื้อทรัพย์และรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีตามคำร้องของโจทก์ในประเด็นใด อย่างไร ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์แล้วมีคำสั่งชี้ขาดคดีตามคำร้องของโจทก์ต่อไปโดยไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดี และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
กรณีที่จะเป็นการขายทอดตลาดอันฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้คัดค้านราคาขายทอดตลาดแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดไปโดยไม่ขยายระยะเวลาขายทอดตลาด แต่ตามคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์อ้างว่า ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของโจทก์ ผู้แทนโจทก์ออกไปทำธุระส่วนตัวซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อผู้แทนโจทก์กลับเข้าห้องขายทอดตลาดอีกครั้ง ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปโดยไม่มีผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ตามกฎหมายใดที่จะต้องประกาศหรือโทรศัพท์ติดตามโจทก์เพื่อให้โจทก์มาคัดค้านราคาขายทอดตลาดก่อนแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้เป็นการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยคำร้องของโจทก์ว่าผู้แทนโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง และข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีราคาซื้อขายสูงถึง 1,000,000 บาท และผู้แทนโจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าสู้ราคาไม่ต่ำกว่า 680,000 บาท ฟังไม่ขึ้น เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยแล้วว่าการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้ มิได้เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควร ทั้งไม่มีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง มิใช่ว่าศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
กรณีที่จะเป็นการขายทอดตลาดอันฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้คัดค้านราคาขายทอดตลาดแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดไปโดยไม่ขยายระยะเวลาขายทอดตลาด แต่ตามคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์อ้างว่า ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของโจทก์ ผู้แทนโจทก์ออกไปทำธุระส่วนตัวซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อผู้แทนโจทก์กลับเข้าห้องขายทอดตลาดอีกครั้ง ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไปโดยไม่มีผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ตามกฎหมายใดที่จะต้องประกาศหรือโทรศัพท์ติดตามโจทก์เพื่อให้โจทก์มาคัดค้านราคาขายทอดตลาดก่อนแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าการดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้เป็นการอันฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยคำร้องของโจทก์ว่าผู้แทนโจทก์เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อเอง และข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าทรัพย์ที่ขายทอดตลาดมีราคาซื้อขายสูงถึง 1,000,000 บาท และผู้แทนโจทก์ได้รับมอบหมายให้เข้าสู้ราคาไม่ต่ำกว่า 680,000 บาท ฟังไม่ขึ้น เท่ากับศาลชั้นต้นมีคำวินิจฉัยแล้วว่าการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้ มิได้เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควร ทั้งไม่มีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการสู้ราคา หรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง มิใช่ว่าศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์คดีนี้จึงถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการฎีกาแก่โจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5625/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสลากเกินราคาเป็นโมฆะ แต่สิทธิเรียกร้องในส่วนที่ไม่เกินราคายังคงมีอยู่
การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติข้อห้ามและกำหนดโทษแก่ผู้ที่เสนอขายหรือขายสลากเกินราคาที่กำหนดในสลากไว้ถึง 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 9 ทวิ ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 9 ตรี ให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 39 ให้ระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท จำเลยทำสัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลกับโจทก์ โดยโจทก์ตกลงขายสลากให้แก่จำเลยในราคาฉบับละ 90 บาท หรือส่วนละ 45 บาท แต่ราคาในสลากระบุไว้เพียงฉบับละ 80 บาท หรือส่วนละ 40 บาท สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลซึ่งเกินราคาดังกล่าว จึงเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายทั้งสองฉบับข้างต้น และตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้การสมัครใจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในราคาสูงกว่าที่กำหนดในสลาก เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและการบังคับใช้กฎหมายที่ห้ามมิให้ขายสลากกินแบ่งเกินราคา โดยมีการขายเกินราคากันอย่างแพร่หลายก็ตาม หาเป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้การขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเป็นการอันไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่
สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลรวมส่วนที่ขายตามราคาที่กำหนดไว้ในสลากซึ่งไม่เป็นโมฆะอยู่ด้วยและสามารถแยกแยะจำนวนเงินของส่วนที่ขายเกินราคาออกได้แน่ชัด พฤติการณ์แห่งกรณีที่จำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวนมากไปจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายในทางการค้า ย่อมมีส่วนที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการขายเกินราคาในสลากดังกล่าว อันพึงสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสลากในส่วนที่ไม่เกินราคาจากจำเลยได้
สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลรวมส่วนที่ขายตามราคาที่กำหนดไว้ในสลากซึ่งไม่เป็นโมฆะอยู่ด้วยและสามารถแยกแยะจำนวนเงินของส่วนที่ขายเกินราคาออกได้แน่ชัด พฤติการณ์แห่งกรณีที่จำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวนมากไปจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายในทางการค้า ย่อมมีส่วนที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการขายเกินราคาในสลากดังกล่าว อันพึงสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สัญญาซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ โจทก์ยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสลากในส่วนที่ไม่เกินราคาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนทางจำเป็น: พิจารณาจากความเสียหายของที่ดิน ไม่ใช่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
การกำหนดค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคท้าย เป็นการกำหนดค่าทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ที่ดินที่ตกเป็นทางจำเป็น ไม่ได้กำหนดจากการที่ใช้ทางจำเป็นแล้วจะทำให้ที่ดินของผู้ได้สิทธิใช้ทางจำเป็นมีราคาสูงเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร เพราะไม่ใช่ความเสียหายที่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินส่วนเกินหลังส่งมอบไม่ครบตามสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยทั้งสองกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อกันไว้ด้วย แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสองว่า ให้ถือเอาจำนวนเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ จึงมิใช่การซื้อขายเหมาแปลง เมื่อจำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน และโจทก์ทั้งสามเลือกรับที่ดินที่จำเลยทั้งสองส่งมอบ โจทก์ทั้งสามจึงต้องชำระราคาค่าที่ดินตามส่วนของที่ดินที่ได้รับมอบเท่านั้น สำหรับเงินค่าที่ดินที่โจทก์ทั้งสามชำระแก่จำเลยทั้งสองเกินส่วนไป แม้จะถือว่าเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และจำต้องคืนแก่โจทก์ทั้งสามฐานลาภมิควรได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งสามรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจพิจารณาและเคาะไม้ขายได้ แม้ราคาต่ำกว่าครั้งก่อน หากสมควร
บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 คดีนี้จำเลยที่ 2 ยื่นฎีกาวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคหนึ่งแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวที่แก้ไขใหม่ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัดๆ มานั้น หากมีผู้เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้ โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า หาได้มีความหมายว่าในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัดๆ มา เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อนดังที่จำเลยที่ 2 ฎีกาไม่ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าราคาที่ผู้เสนอซื้อครั้งหลังเป็นราคาที่สมควรหรือไม่และไม่มีอำนาจเคาะไม้ขายหากเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อน การขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็จะเนิ่นช้าไปโดยไม่มีกำหนด ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่น่าจะประสงค์ให้เกิดผลเช่นนั้น ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทรัพย์จำนองรายนี้ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ในราคาที่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้ซื้อทรัพย์เสนอไว้ในครั้งก่อนแต่สูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 2 คัดค้านในการขายครั้งที่ 6 จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดครั้งพิพาทให้จำเลยที่ 2 และ ส. ผู้ซื้อทรัพย์เดิมทราบ เพื่อเข้ามาดูแลการขายทอดตลาดและรักษาสิทธิในการขายทอดตลาดครั้งพิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ได้ราคาต่ำเกินสมควรนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดครั้งพิพาทให้จำเลยที่ 2 และ ส. ผู้ซื้อทรัพย์เดิมทราบ เพื่อเข้ามาดูแลการขายทอดตลาดและรักษาสิทธิในการขายทอดตลาดครั้งพิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ได้ราคาต่ำเกินสมควรนั้น จำเลยที่ 2 มิได้ยื่นคำร้องในปัญหาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นฎีกานอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เข้าสู้ราคาประมูลที่สำคัญผิดในราคา และการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดี นิติกรรมระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นโมฆะเนื่องจากผู้ร้องสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม เท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องต้องผูกพันในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ และหากนำที่ดินพิพาทออกขายอีกครั้งหนึ่งถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมแล้ว ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทซึ่งขายทอดตลาดนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง