คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาตลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 203 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาตลาดโภคภัณฑ์: ราคาปานกลางไม่ใช่ตัวชี้วัด ราคาซื้อขายที่แตกต่างกันได้หากอยู่ในกรอบราคาตลาด
ราคาตลาดของโภคภัณฑ์นั้น. อาจไม่มีราคาตายตัวหรือมีราคาเดียว การจำหน่ายโภคภัณฑ์ราคาสูงต่ำผิดกันก็อาจอยู่ภายในกรอบของราคาตลาด ฉะนั้น การจำหน่ายโภคภัณฑ์สูงหรือต่ำกว่าราคาปานกลาง จึงมิใช่แสดงว่าราคาที่จำหน่ายนั้นมิใช่ราคาตลาดและราคาตลาดมิใช่หมายถึงราคาปานกลางของการจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766-767/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระหนี้กู้ยืมที่เป็นโมฆะ หากมิได้ตกลงราคาตลาดของทรัพย์สิน
ข้อสัญญาเด็ดขาดว่า เมื่อผู้กู้ไม่ใช้เงินต้องโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้ให้กู้โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าสิทธิแห่งการเช่านั้นมีราคาเท่าใดในท้องตลาดในเวลาส่งมอบย่อมขัดกับมาตรา 656 วรรคสอง ย่อมเป็นโมฆะตามวรรคสาม ตามนัยฎีกาที่ 779/2497 ผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิฟ้องให้โอนสิทธิการเช่าดังกล่าว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองจำนวนเงินกู้ในสัญญากู้ และผลกระทบของการไม่ฟ้องขอให้ชำระหนี้ด้วยทรัพย์สินตามราคาตลาด
จำเลยรับว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้เงิน 4,000 บาทและสัญญามีข้อความว่า จำเลยรับเงินไปครบถ้วนแล้วดังนี้จำเลยจะขอนำสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปเพียง 3850บาท ไม่ได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
สัญญากู้มีข้อความว่า ถ้าเกินกำหนดจำเลยยอมไปโอนกรรมสิทธิที่นาให้แก่โจทก์ แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยโอนชดใช้หนี้โจทก์โดยมิได้คำนึงถึงราคาตลาดโจทก์ได้ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกู้คืนด้วยตามมาตรา 656 วรรคสอง และ สามนั้น ข้อตกลงที่เป็นโมฆะก็เฉพาะในเรื่องคิดราคาทรัพย์ที่ชำระหนี้แทนเงิน หาทำให้สัญญากู้เสียไปทั้งฉบับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1482-1483/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน คำนวณจากราคาตลาดเมื่อจำเลยผัดผ่อน
การให้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีผิดสัญญา ก็เพื่อที่จะชดใช้ และให้ความพอใจแก่ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสำหรับความเสียหายที่ฝ่ายนั้นได้รับ ฉะนั้น จึงต้องกำหนดจำนวนเงินที่จะให้ให้เพียงพอที่จะทำให้ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญากลับไปอยู่ในฐานะเดิมเช่นเดียวกับเมื่อไม่มีการผิดสัญญาเกิดขึ้น
คดีโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ให้โจทก์ตามสัญญาจะขาย ถ้าจำเลยโอนที่ให้โจทก์ โจทก์ก็ย่อมได้ที่ถ้าหากที่นั้นมีราคามากกว่าราคาที่ตกลงไว้ในสัญญาราคาที่ผิดกันนั้น ย่อมเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์สูญเสียไปจึงเป็นหลักค่าคำนวณค่าเสียหายได้
ในกรณีที่ผู้ขายที่ดินผิดสัญญา มีปัญหาว่าจะเอาราคาอันใด เมื่อได้ไปเทียบกับราคาในสัญญา ป.ม.แพ่งฯมาตรา 222 ไม่ได้กำหนดข้อนี้ไว้ ทั้งเป็นกรณีไม่ได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้ในสัญญา จึงไม่เข้ามาตรา 380 เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อครบกำหนดโอนตามสัญญา จำเลยผัดผ่อนเรื่อยมาเพิ่งมาปฏิเสธไม่ยอมขายในภายหลัง จึงจะถือเอาราคาที่ดินในวันที่ครบกำหนดโอนตามสัญญาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายผิดสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากราคาตลาด ณ วันผิดนัด ไม่ใช่ ณ วันฟ้อง
กรณีผิดสัญญาซ้อขายนั้น ค่าเสียหายต้องคำนวณจากราคาในตลาดที่ผิดกันกับราคาในสัญญา+วันที่มีการผิดนัด ไม่ใช่คำนวณจากราคาในวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายผิดสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากราคาตลาด ณ วันผิดนัด ไม่ใช่วันฟ้อง
กรณีผิดสัญญาซื้อขายนั้น ค่าเสียหายต้องคำนวณจากราคาในตลาดที่ผิดกันกับราคาในสัญญาในวันที่มีการผิดนัด ไม่ใช่คำนวณจากราคาในวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาสูบเกินราคาตลาดในพื้นที่ที่ยังไม่ได้กำหนดเขตจำหน่าย: ไม่ผิดตามกฎหมาย
จำหน่ายยาสูบสูงกว่าราคาตลาดก่อนมีประกาศกำหนดท้องที่นั้นว่าเป็นในเขตต์หรือนอกเขตต์จำหน่ายยาสูบ ไม่มีความผิดตามกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การประเมินภาษีจากสินค้าขาดจากรายงาน, ราคาตลาด, และการแก้ไขเลขที่หนังสือแจ้งการประเมิน
วันที่ 24 เมษายน 2550 เจ้าพนักงานประเมินเข้าตรวจสภาพกิจการของโจทก์และตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ 6,500 กิโลกรัม อีกสี่เดือนต่อมาโจทก์ส่งรายงานภาษีซื้อ - ภาษีขาย พร้อมรายงานสินค้าและวัตถุดิบคงเหลือ แสดงยอดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550 จำนวน 6,500 กิโลกรัม เจ้าพนักงานประเมินจึงตรวจยอดสินค้าคงเหลือจากรายงานสินค้าฯ โดยนำยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 บวกรายการรับตามใบกำกับภาษีซื้อ และหักรายการจ่ายตามใบกำกับภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2550 ซึ่งในรายงานสินค้าฯ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550 โจทก์ต้องบันทึกยอดสินค้าคงเหลือ 161,577 กิโลกรัม แต่ตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ 6,500 กิโลกรัม โจทก์จึงมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าฯ 155,077 กิโลกรัม ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) (จ)
ป.รัษฎากร มาตรา 79/3 (3) บัญญัติว่า "การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (จ) ที่เกิดจากสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือ 87 วรรคสอง มูลค่าฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น" และมาตรา 78/3 บัญญัติว่า "ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการในกรณีดังต่อไปนี้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (5) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (จ)..." ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณีข้อ 8 ระบุว่า "ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3)... ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดเมื่อมีการตรวจพบ" และมาตรา 79/3 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ราคาตลาดตามมาตรานี้ ให้ถือราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น..." ดังนั้น มูลค่าของฐานภาษีของโจทก์จึงต้องถือตามราคาตลาดในวันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบคือวันที่ 24 เมษายน 2550 ซึ่งตามใบกำกับภาษีขาย โจทก์ขายสินค้าเม็ดพลาสติกไป 3 ครั้ง มีราคาเฉลี่ย 45.66 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยดังกล่าวจึงนำไปใช้ในการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขาดไปจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด และค่าปรับการชำระเงินล่าช้า
กรณีที่จะถือว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุสมควร ตามบทบัญญัติในมาตรา 65 ทวิ (4) แห่ง ป.รัษฎากร หรือไม่ อย่างน้อยที่สุดโจทก์ต้องคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในระดับอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กู้มาจากผู้ให้กู้ การที่โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการทางด้านการเงินโดยประกอบกิจการธุรกิจบัตรเครดิต โดยยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตาม ป.รัษฎากร ประเภทกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และโจทก์กู้ยืมเงินมาจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศแล้วนำเงินกู้ยืมมาให้บริษัทในเครือและธนาคารในเครือของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยกู้ยืมโดยใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวผันแปรตามราคาตลาด ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ เมื่อพิจารณารายงานเศรษฐกิจและการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2541 และปี 2542 ที่โจทก์อ้างปรากฏว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเวลาปี 2541 และปี 2542 ระหว่างไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 ปรากฏอัตราดอกเบี้ย 4 ประเภท ประเภทแรก อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม (ธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง) ประเภทที่สาม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร และประเภทที่สี่ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (1 วัน) แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารมาเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ในต่างประเทศมาให้บริษัทในเครือกู้ยืมอีกต่อหนึ่ง ไม่ใช่กรณีที่โจทก์นำเงินฝากของตนเองมาให้บุคคลอื่นกู้ยืม อัตราดอกเบี้ยที่จะนำมาถือเป็นราคาตลาดสำหรับการให้กู้ยืมของโจทก์ ควรเป็นอัตราดอกเบี้ยประเภทที่สอง คืออัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารขนาดใหญ่ 5 แห่ง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมดังกล่าวมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้แก่ผู้กู้ในต่างประเทศ แม้โจทก์จะอ้างว่าจากสภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาหลังจากที่โจทก์กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศในช่วงปี 2541 ถึงปี 2542 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในประเทศลดลงทำให้โจทก์เกิดผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยนั้น ตามพฤติการณ์ของโจทก์ที่กู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศแล้วนำมาให้กู้ยืมภายในประเทศโดยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 5.7125 ถึง 6.1125 แต่ดอกเบี้ยในราคาตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในอัตราร้อยละ 14.50 ถึง 15.0 และลดลงจนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 8.25 ซึ่งยังคงเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายให้ผู้กู้ในต่างประเทศ ข้อกล่าวอ้างถึงผลขาดทุนจากอัตราดอกเบี้ยจึงไม่อาจรับฟังได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับชำระเงินล่าช้า (Late Charge /Delinquency Charge) ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบตามใบแจ้งยอดบัญชีที่โจทก์จัดส่งไปให้ ต้องเสียค่าปรับการชำระเงินล่าช้าร้อยละ 4 ต่อเดือน ของยอดค้างชำระทั้งหมด เว้นแต่ลูกค้าที่มีวงเงิน Club Payment จะเสีย Late Charge เฉพาะส่วนที่ค้างชำระเกินวงเงิน Club Payment ส่วนค่าปรับคืนเช็ค (Service fee return cheque) ในกรณีที่ลูกค้าชำระเงินด้วยเช็ค หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ต้องเสียค่าปรับเช็คคืนฉบับละ 500 บาท และค่าปรับหักบัญชีธนาคารไม่ได้ (Return direct debit fee) ลูกค้าที่ชำระเงินโดยการหักบัญชีธนาคาร หากไม่สามารถหักบัญชีได้จะต้องเสียค่าปรับครั้งละ 100 บาท นั้น ไม่ใช่ค่าบริการจากการให้บริการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกันโดยตรง ตาม พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการเฉพาะอย่างที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 246) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (2) เนื่องจากเป็นค่าตอบแทนที่เกิดจากการที่ลูกค้าของโจทก์ไม่ชำระเงินหรือชำระเงินไม่ครบถ้วนตามใบแจ้งยอดบัญชี ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากการให้บริการการใช้บัตรเครดิตที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์สิ้นสุดลงแล้ว รายรับส่วนนี้ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13706/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน การชำระหนี้ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดทรัพย์สินหลักประกัน
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตลอดจนการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการต้องไม่กระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งมีทรัพยสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น การดำเนินการอื่นใดที่เจ้าหนี้มีประกันนั้นไม่ได้ยินยอม หรือจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับชำระหนี้น้อยกว่ามูลค่าของทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันในเวลาที่มีการยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ พร้อมดอกเบี้ยและผลประโยชน์ตามสัญญาเมื่อการดำเนินการฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลง ก็ย่อมไม่อาจถือเป็นการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอย่างเพียงพอแล้วได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/14 (3) ทั้งในการพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผน เมื่อมีข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ ผู้ทำแผนมีหน้าที่พิสูจน์ว่าแผนฟื้นฟูกิจการนั้นชอบด้วยกฎหมายและศาลควรมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อเจ้าหนี้คัดค้านว่า แผนกำหนดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เมื่อการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จเป็นจำนวนน้อยกว่ามูลค่าหลักประกันที่แท้จริงนั้น ในการพิจารณาปัญหาดังกล่าวในชั้นพิจารณาแผนจึงต้องพิจารณาราคาประเมินของทรัพย์สินหลักประกันเป็นสาระสำคัญ เมื่อปรากฏตามแผนฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้ประกอบกิจการโรงแรมตั้งแต่ปี 2532 มีทรัพย์สินหลักที่จำเป็น ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป คือ ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งส่วนหนึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้โดยแผนฟื้นฟูกิจการระบุว่า ในระหว่างการดำเนินการตามแผน ถ้าลูกหนี้มิได้เป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ห้ามมิให้เจ้าหนี้ที่มีหลักประกันซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิของเจ้าหนี้ดังกล่าวที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้น แสดงว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีความจำเป็นต่อการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมิได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินหลักประกันไปในราคาบังคับขายแต่อย่างใด ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนดังกล่าว ผู้ทำแผนจึงต้องนำสืบให้ได้ว่าเมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะต้องได้รับข้อเสนอชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดปัจจุบัน ณ วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อผู้ทำแผนนำสืบให้รับฟังไม่ได้ว่า เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันจะได้รับชำระหนี้ตามแผนไม่น้อยกว่าราคาทรัพย์สินหลักประกันในราคาตลาดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 90/14 แผนจึงมิชอบ
of 21