พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 และแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการรื้อถอนทรัพย์สิน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษายกฟ้องแย้ง โดยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับสิทธิการเช่าที่ดินของโจทก์ เพราะจำเลยเป็นเจ้าของบ้านพิพาทที่ปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าว แต่ไม่ได้ใช้อยู่อาศัยเอง หากให้ผู้อื่นเช่าอยู่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ที่ว่า จำเลยไม่ได้อยู่ในบ้านพิพาทฟังไม่ได้ จำเลยอยู่ในเกณฑ์ของผู้ที่จะได้รับสิทธิการเช่าที่ดินของโจทก์ อันเป็นฎีกาโต้เถียงให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท ซึ่งขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้ค่าเช่าไม่เกินเดือนละห้าพันบาท และจำเลยไม่ได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือไม่ได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่พิพาทนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องแย้งดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3740/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อถอนอาคารต่อเติมของผู้เช่า: สัญญาเช่าไม่ครอบคลุมการต่อเติม ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ
สัญญาเช่าอาคารไม่มีข้อความระบุว่าให้เช่าอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมด้วยสัญญาดังกล่าวจึงผูกพันเฉพาะตัวอาคารที่ทำสัญญา สิทธิครอบครองอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมยังคงอยู่กับผู้ให้เช่า และแม้ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ผู้เช่าครอบครองใช้สอยอาคารที่ดัดแปลงต่อเติม ก็เป็นเพียงการอนุญาตเป็นพิเศษนอกเหนือจากสัญญาเช่า ถือว่าผู้ครอบครองแทนผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดในการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ วินิจฉัยภายในกำหนด 30 วัน โดยมิได้กำหนดสภาพบังคับไว้ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนด ก็ยังเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินมีเงื่อนไข & สิทธิกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน - การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เจ้าของเดิมยกที่พิพาทให้กรมอนามัยปลูกสร้างสำนักงานผดุงครรภ์โดยมีเงื่อนไขว่าจะนำไปซื้อขาย หักโอนหรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือหน่วยราชการอื่นไม่ได้ และเมื่อหมดความประสงค์จะใช้ให้ส่งมอบที่พิพาทคืนทันที ดังนี้เจตนาของผู้ให้หาใช่เป็นการอุทิศที่พิพาทเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ตลอดไปอันมีผลให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ เมื่อการยกให้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่มีผลสมบูรณ์และย่อมไม่ผูกพันผู้ให้หรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทต่อมาในภายหลังตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,1299 วรรคแรกแม้โจทก์จะรู้ถึงสิทธิที่จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของเดิมก็ตาม ก็หาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยนิติกรรมซึ่งได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4100/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม การใช้สิทธิไม่ขัดต่อสิทธิผู้อื่น การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทาง
โจทก์จำเลยและพวกรวม 11 คน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่งซึ่งใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย ทางทิศตะวันออกของที่ดินมีทางเดินและสะพานลงสู่แม่น้ำได้โจทก์และชาวบ้านละแวกนั้นใช้เป็นท่าน้ำท่าเรือข้ามฟากร่วมกันมานานหลายสิบปี เช่นนี้ การที่จำเลยทำรั้วปิดกั้นทางเดินพิพาท จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมได้รับความเดือดร้อน แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมได้ แต่การใช้นั้นจะต้องไม่ขัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวผู้หนึ่งด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วที่จำเลยกั้นไว้แต่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์มีสิทธิรื้อถอนรั้วที่จำเลยทำไว้ออกเสียโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ.
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนรั้วที่จำเลยกั้นไว้แต่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้โจทก์มีสิทธิรื้อถอนรั้วที่จำเลยทำไว้ออกเสียโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิของเจ้าหนี้ในการขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่สาธารณะที่โจทก์มีหน้าที่ดูแลอยู่ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนขอให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนโดยจำเลยทั้งสองเสียค่าใช้จ่าย ปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2527ออกใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมมาตรา 296 ทวิ กำหนดวิธีดำเนินการบังคับคดีโดยให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอฝ่ายเดียวโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์สินนั้น ดังนั้น โจทก์ชอบที่จะดำเนินการตามวิธีการดังกล่าวนี้ จะให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารขัดข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารข้อ 35 ระบุเกี่ยวกับเรื่องชั้นลอยหรือพื้นระหว่างชั้นของอาคารว่า"...ต้องมีเนื้อที่ไม่เกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้น ๆ..." อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย48 ตารางเมตร มีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตรเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคารจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมได้ จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนดมิใช่กระทำละเมิดต่อผู้ใด จะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้หาได้ไม่ ข้ออ้างว่าการรื้อถอนจะมีผลกระทบกระเทือนต่อเจ้าของห้องข้างเคียง และการรื้อถอนโดยห้องข้างเคียงมิได้รื้อถอนส่วนที่ต่อเติมด้วยก็ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นข้อที่จะนำมาอ้างเพื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: เจ้าหนี้มีสิทธิขอศาลสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทนตนเองตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่10) พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ เป็นว่า 'ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว' ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้ จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำและการบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ถ้า จำเลยไม่รื้อถอน ให้โจทก์หรือคนที่มอบหมายจากโจทก์รื้อถอนโดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามที่โจทก์ขอในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้จะให้โจทก์รื้อเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2112/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำหลังมีคำพิพากษา – บทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนครัวที่รุกล้ำออกจากที่ดินของโจทก์ ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์รื้อถอนได้โดยค่าใช้จ่ายเป็นของจำเลย ปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่10) พ.ศ. 2527 ออกใช้บังคับซึ่งมาตรา 12 ให้เพิ่มเติมบทมาตรา 296 ทวิ เป็นว่า'ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัยหรือทรัพย์ที่ครอบครอง ถ้าลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองทรัพย์ดังกล่าว' ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการรื้อถอนครัวของจำเลยที่รุกล้ำออกไปได้ จะให้โจทก์รื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติ กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้
จำเลยต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและขัดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร ทั้งการต่อเติมอาคารดังกล่าวนั้น ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมแล้วตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก การที่จำเลยไม่ระงับการต่อเติมและรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมตามคำสั่งของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสามและวรรคสี่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)