คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายมือชื่อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อในเอกกู้ยืม: ชื่อเล่นใช้ได้ตามกฎหมาย หากแสดงเจตนาชัดเจน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญา การใช้ชื่อเล่นแทนชื่อจริง และการกู้ยืมเงิน
จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากัน เขียนจดหมายถึงโจทก์ข้อความในจดหมายดังกล่าวฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจำเลยทั้งสองเขียนชื่อเล่น ของจำเลยทั้งสองไว้ในตอนท้ายจดหมาย ด้วยตัวอักษรหวัดแกมบรรจงถือว่า เป็นการลงลายมือชื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อหลายแบบไม่อาจใช้พิสูจน์ความผิด พยานหลักฐานอื่นเพียงพอวินิจฉัยได้
เมื่อพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วแม้ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจลายมือชื่อจำเลยในเอกสารก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย เพราะจำเลยเบิกความรับอยู่แล้วว่าลายมือชื่อจำเลยแตก ต่างกันบ้าง และตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยให้ไว้แก่ธนาคารโจทก์กับตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยขอให้ศาลหมายเรียกมาจากธนาคารอื่นก็ไม่เหมือนกัน แสดงว่าจำเลยเขียนลายมือชื่อหลายแบบจึงไม่จำเป็นต้องให้พยานผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีลายมือชื่อ แม้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ก็ไม่เป็นประโยชน์ หากพยานหลักฐานอื่นเพียงพอต่อการวินิจฉัย
เมื่อพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมาพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วแม้ผู้เชี่ยวชาญจะตรวจลายมือชื่อจำเลยในเอกสารก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย เพราะจำเลยเบิกความรับอยู่แล้วว่าลายมือชื่อจำเลยแตกต่างกันบ้าง และตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยให้ไว้แก่ธนาคารโจทก์กับตัวอย่างลายมือชื่อที่จำเลยขอให้ศาลหมายเรียกมาจากธนาคารอื่นก็ไม่เหมือนกัน แสดงว่าจำเลยเขียนลายมือชื่อหลายแบบ จึงไม่จำเป็นต้องให้พยานผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบมูลหนี้เดิมและการแปลงหนี้ใหม่ การฟ้องตามสัญญากู้โดยมีหลักฐานลายมือชื่อ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์และได้รับเงินกู้ไปแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่าเดิมสามีจำเลยกู้เงินโจทก์ไป จำเลยรู้เห็นด้วย เมื่อสามีจำเลยถึงแก่กรรมจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้ให้โจทก์ไว้ แต่จำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญากู้นั้น จึงเป็นการนำสืบถึงมูลหนี้ของสัญญากู้ซึ่งโจทก์มีสิทธินำสืบได้โดยไม่ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้องและไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดีโดยแนบสำเนาหนังสือสัญญากู้มาท้ายฟ้อง เมื่อคำให้การและทางนำสืบจำเลยยอมรับว่าได้ทำหนังสือสัญญากู้ฉบับพิพาทไว้ให้โจทก์จริง ดังนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามคำรับของจำเลยแล้วว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ตามฟ้อง กรณีไม่จำต้องยกเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทขึ้นวินิจฉัย โจทก์จึงไม่จำต้องเสียค่าอ้างเอกสารสัญญากู้ฉบับพิพาทดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความต้องทำตามแบบฟอร์มและลงลายมือชื่อในคำรับทนายความ มิฉะนั้นถือว่ายังมิได้รับเป็นทนายความ
น. ทนายโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์และตามคำฟ้องผู้ยื่นฟ้องรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันยื่นฟ้องว่า น. ลงชื่อเป็นโจทก์โดยมิได้ลงชื่อคำรับเป็นทนายความในใบแต่ง ทนายความ ให้แก้ไขภายใน 7 วันนับแต่วันมีคำสั่งแต่ทนายโจทก์ไม่รอฟังคำสั่งในวันนั้นก็ต้องถือว่าทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งแล้ว ฉะนั้นเมื่อทนายโจทก์ไม่ได้ลงชื่อในคำรับเป็นทนายความภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและจำหน่ายคดีจากสารบบความเสียได้ การตั้งทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61 ต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความ ตามแบบพิมพ์ใบแต่ง ทนายความกำหนดให้ผู้ที่รับเป็นทนายความลงลายมือชื่อไว้ในคำรับทนายความด้วยเมื่อทนายโจทก์ยื่นใบแต่ง ทนายความต่อศาลพร้อมคำฟ้อง แต่ไม่มีลายมือชื่อในคำรับเป็นทนายความ มีแต่ลายมือชื่อที่รับรองลายมือชื่อโจทก์เท่านั้นจะถือว่าทนายโจทก์ได้รับเป็นทนายความโดยปริยายแล้วหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน โดยการตรวจพิสูจน์ของพยานผู้เชี่ยวชาญมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคล
โจทก์มีสัญญากู้มาแสดงต่อศาล โดยสัญญากู้ดังกล่าวกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจโดยผู้เชี่ยวชาญของศาลทำการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและรายงานว่าลายมือชื่อในสัญญากู้กับลายมือชื่อของจำเลยน่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือปลอม และมีแต่พยานบุคคลมาสืบว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยนั้น ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างการพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญการตรวจพิสูจน์ลายมือตามหลักวิชาการได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารมอบอำนาจโดยสุจริต แม้ลายมือชื่อและตราประทับจะคล้ายคลึงกับของจริง ไม่ถือเป็นความประมาทเลินเละ
คดีก่อนจำเลยที่5ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลยที่3ขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทและศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดในคดีดังกล่าวว่าจำเลยที่5ไม่มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นในการปลอมใบมอบอำนาจคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์คดีนี้ตามป.วิ.พ.มาตรา145โจทก์จะมาอ้างในคดีนี้อีกว่าจำเลยที่5ได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำปลอมหนังสือมอบอำนาจที่ใช้ในการขายที่ดินพิพาทให้กับโจทก์หาได้ไม่ กรมที่ดินได้วางระเบียบเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นเกี่ยวแก่การมอบอำนาจไว้ว่า"ฯโดยที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบลายมือชื่อมิใช่ผู้ชำนาญการพิเศษโดยเฉพาะการตรวจสอบจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำได้...ฯลฯ...การตรวจสอบลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ...ให้ตรวจสอบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับของเดิมพอที่จะเชื่อถือได้หรือไม่...ฯลฯ..."ดังนี้เมื่อลายมือชื่อปลอมของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมกับลายมือชื่อที่แท้จริงของผู้มอบอำนาจมีลักษณะตัวอักษรช่องไฟและลีลาในการเขียนคล้ายคลึงกันมากในสายตาของวิญญูชนย่อมถือได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันการที่เจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจปลอมเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงจึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทเลินเล่อ กรมที่ดินวางระเบียบว่า"หนังสือมอบอำนาจควรมีพยานอย่างน้อย1คนถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายมือต้องมีพยาน2คน...ฯลฯ..."เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจนอกจากจะมีผู้รับมอบอำนาจลงชื่อเป็นพยานคนหนึ่งแล้วยังมีลายมือชื่อพยานอื่นอีกเช่นนี้แม้จะตัดลายมือชื่อพยานที่เป็นผู้รับมอบอำนาจออกไปใบมอบอำนาจนั้นก็ยังสมบูรณ์อยู่เมื่อไม่มีระเบียบให้เจ้าพนักงานผู้ตรวจสอบใบมอบอำนาจถ่ายบัตรประจำตัวของผู้มอบอำนาจติดเรื่องไว้การที่เจ้าพนักงานไม่ได้กระทำเช่นนั้นจึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคนประมาทเลินเล่อถึงกับเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียหาย โจทก์เบิกความเพียงว่าหากจำเลยที่3ตรวจดวงตราเขตบางรักที่ประทับก็จะรู้ว่าเป็นตราปลอมส่วนจำเลยที่4ก็เคยเห็นดวงตราเขตบางรักเสมอๆแต่มิได้นำสืบให้เห็นว่าดวงตราที่แท้จริงของเขตบางรักเป็นอย่างไรคำเบิกความของโจทก์จึงเป็นเพียงความเข้าใจหรือการคาดคะเนของโจทก์เองเป็นการเลื่อนลอยกรณียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่3ที่4กระทำละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คและการระบุผู้เสียหายในคดีเช็ค: ผลของลายมือชื่อหลังเช็คและการเปลี่ยนมือ
โจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งให้รับอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ดังนี้ ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์บางข้อรวมในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยรวมกันไปแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายก็ไม่มีประโยชน์ที่จะแยกสั่งคำร้องอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ข้ออื่นของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
เดิมโจทก์ร่วมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือต่อมาโจทก์ร่วมลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทมอบให้ น.นำเข้าบัญชีของ น.เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และโจทก์ร่วมรับเช็คพิพาทคืนจาก น.แล้วร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ดังนี้เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ผู้ถือย่อมเป็นผู้ทรง แม้โจทก์ร่วมกับ น.จะมีข้อตกลงกันเป็นอย่างอื่น ก็จะผูกพันเฉพาะโจทก์ร่วมกับ น.เท่านั้นเมื่อ น.ถือเช็คดังกล่าวไปเข้าบัญชีของตนที่ธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็ค น.ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหาย หาใช่โจทก์ร่วมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมบูรณ์ของพินัยกรรมแบบธรรมดา: การลงลายมือชื่อและลายพิมพ์นิ้วมือของพยาน
พินัยกรรมแบบธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้พยานรับรองพินัยกรรมโดยลงลายพิมพ์นิ้วมือย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656และ1666 พินัยกรรมซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือไว้มีพยานรับรองพินัยกรรมสองคนคนหนึ่งลงลายพิมพ์นิ้วมืออีกคนหนึ่งลงลายมือชื่อและมีพ.ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่เมื่อปรากฏว่าพ.อยู่รู้เห็นการทำพินัยกรรมมาแต่ต้นจนกระทั่งผู้ทำพินัยกรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือต่อหน้าพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองพินัยกรรมที่สมบูรณ์คนหนึ่งแล้วพ.จึงลงลายมือชื่อในฐานะผู้ปกครองท้องที่แม้จะไม่ได้เขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อของพ.ก็ถือได้ว่าพ.เป็นพยานรับรองพินัยกรรมอีกคนหนึ่งเพราะพยานในพินัยกรรมไม่จำต้องเขียนคำว่าพยานไว้ท้ายชื่อเป็นแต่เพียงมีข้อความให้เห็นได้ว่าเป็นพยานก็ถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมจึงสมบูรณ์(อ้างฎีกาที่363/2492) พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมขณะทำพินัยกรรมไม่จำต้องลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมอีกหนหนึ่งเพราะถือได้ว่าพยานทำหน้าที่สองฐานะคือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9,1665และตามมาตรา1656(อ้างฎีกาที่111/2497) ฎีกาโจทก์ที่ว่าพินัยกรรมแบบธรรมดาจะต้องมีลายมือชื่อผู้เขียนกำกับไว้และระบุด้วยว่าเป็นผู้เขียนประเด็นดังกล่าวน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยโดยลึกซึ้งเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างใดเพียงแต่เสนอความเห็นว่าน่าจะต้องได้รับการวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ให้ลึกซึ้งเท่านั้นเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
of 39