คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มลูกหนี้ร่วม: สัญญาใหม่ไม่เป็นการแปลงหนี้เดิม แต่เพิ่ม จ. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลย
คดีนี้นำบุคคลภายนอกทำสัญญากับเจ้าหนี้ยอมใช้หนี้แทนลูกหนี้ แต่ลูกหนึ้ยังสงวนสิทธิที่จะ+ลูกหนี้ได้อยู่ตามเดิมสัญญาลงนามบุคคลภายนอกและลูหนี้เป็นผู้ให้สัญญาเจ้าหนี้จึงคืนสัญญา+ให้ไปดังนี้ สัญญา+นี้หาใช่เป็นสัญญา+หนี้โดยเปลี่ยนตัว+หนี้ไม่เป็นเพียงสัญญาเพิ่มบุคคลภายนอกเข้าในลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้+เท่านั้น
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยข้อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นตัดสินนั้นไม่ชอบ และศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาหรือวินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญในประเด็นก็มีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นพิจารณาข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยเสนหาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และฐานะลูกหนี้ร่วมของสามีภรรยา
+ในศาลชั้นต้นในฐานะ+ที่ปรึกษากฎหมายแล้ว+พิจารณาคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ในฐานะผู้พิพากษา+หาต้องด้วยข้อห้ามตามประมวลพิจารณาแพ่ง ม.11 ข้อ 5 ไม่ การยกที่ดินให้แก่กันโดย+เสนหา โดยทำหนังสือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหนี้นั้น จะนำพะยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้ยังสงวนเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิไว้หาได้ไม่ ต้องกลับด้วยข้อห้ามตามประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 (ข) สามีเป็นลูกหนี้เขาแล้วภรรยาโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสให้ผู้อื่น โดยเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบดังนี้ เจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ม.237 โดยถือว่าภรรยาตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุลูกหนี้ร่วม และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำต่อโจทก์นั้นไม่มีข้อตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลล่างทั้งสอง ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14281/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ลูกหนี้ร่วม: ผลกระทบการฟ้องคดีต่อคู่สมรสผู้ค้ำประกัน
คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดภาระหนี้เฉพาะลูกหนี้ร่วมรายหนึ่ง มิได้ทำให้ลูกหนี้ร่วมรายอื่นหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
การที่ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ชั้นต้นร่วมกับจำเลยในคดีนี้ ชำระหนี้บางส่วนให้แก่เจ้าหนี้และเจ้าหนี้มีหนังสือปลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษารายนั้นแล้วก็ตาม หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงเจตนาของเจ้าหนี้ว่าไม่ประสงค์ที่จะเรียกให้ลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษารายนั้นชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่เจ้าหนี้จนสิ้นเชิง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 เท่านั้น ไม่มีผลทำให้จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือภายหลังหักชำระหนี้แต่อย่างใดเพราะหนี้ตามคำพิพากษายังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่เหลือแก่เจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15978/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด vs. ประกันภัย: การกำหนดอายุความที่ถูกต้องสำหรับลูกหนี้ร่วม
การวินิจฉัยว่าคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่าวันที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามฟ้องอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนั้น เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าคดีโจทก์ที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อฎีกาของโจทก์ที่ 2 เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เมื่อโจทก์ที่ 2 เรียกให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 90,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ระหว่างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นมูลหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ภายหลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 ให้การปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนว่ามิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท แสดงว่าโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทก่อให้เกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งในวันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองได้พบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองที่สถานีตำรวจภูธรหนองแค โจทก์ทั้งสองจึงทราบถึงตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางละเมิดต่อจำเลยทั้งสามได้นับแต่วันดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายกระทำโดยประมาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับจำเลยที่ 3 มิได้ เหตุเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีวันที่ 12 มีนาคม 2546 คดีโจทก์ทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ ทั้งโจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ทั้งสองโดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ซึ่งมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใด ก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ดังนี้ แม้ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ 1 ปี ยกฟ้องถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยด้วยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ปัญหาข้อที่ว่าจะใช้บทบัญญัติอายุความละเมิดหรืออายุความประกันวินาศภัยมาใช้บังคับนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย: พยานหลักฐานไม่เพียงพอและผลกระทบต่อลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 2 ออกใบรับขนของทางอากาศฉบับแรกโดยระบุชื่อผู้ขายเป็นผู้ส่ง บริษัทผู้ซื้อเป็นผู้รับตราส่ง และใบรับขนของทางอากาศฉบับหลังก็ปรากฏข้อเท็จจริงต่อเนื่องกันกับการออกใบรับขนของทางอากาศฉบับแรก โดยใบรับขนของทางอากาศฉบับหลังจำเลยที่ 3 ออกให้โดยระบุจำเลยที่ 2 เป็นผู้ส่ง และจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทางในประเทศไทย อันแสดงว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งสินค้านี้ทางอากาศเพื่อนำไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 1 ดังนี้จำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้รับมอบสินค้าจากจำเลยที่ 3 เพื่อนำไปส่งมอบยังสำนักงานของผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้รับจัดการขนส่งโดยมอบหมายให้จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าจากผู้ขายแล้วดำเนินการขนส่งมาจนถึงท่าอากาศยานในประเทศแคนาดาและว่าจ้างจำเลยที่ 3 ขนส่งทางอากาศมายังประเทศไทย และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งทางบกต่อในช่วงสุดท้ายนี้ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หากสินค้าสูญหายไปในช่วงระหว่างตั้งแต่จำเลยที่ 2 รับมอบสินค้าจนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ขนส่งทางบกช่วงสุดท้ายไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย
ปัญหาว่าสินค้าสูญหายไปในช่วงการขนส่งโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักน้อยกว่าพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า สินค้าตามฟ้องสูญหายไปในระหว่างการขนส่งที่ผู้ขนส่งต้องรับผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับขนต่อโจทก์ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ในลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วม กรณีจึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ก็สมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21063/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในการใช้บัตรเครดิต และการแปลงหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
พ. และโจทก์ทำสัญญาใช้บัตรเครดิตวีซ่าชฎาทองของจำเลยที่ 1 โดย พ. ถือบัตรหลัก โจทก์ถือบัตรเสริม ตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวระบุไว้ว่า ในกรณีที่ธนาคารจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ออกบัตรเสริมแก่ผู้ถือบัตรหลักรายใดแล้ว ผู้ถือบัตรหลักและผู้ถือบัตรเสริมจะต้องร่วมกันรับผิดชอบชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรนั้นอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ตอนท้ายสัญญาในช่องผู้ให้สัญญา ย่อมเป็นการตกลงเข้าร่วมรับผิดกับ พ. ในการใช้บัตรหลักด้วยอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 297
แม้สัญญาการใช้บัตรเครดิตมีข้อตกลงกันว่า กรณีการเรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิต พ. ยินยอมให้จำเลยที่ 1 หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันของ พ. แต่พฤติการณ์ที่ พ. ขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในวันเดียวกับที่สมัครขอเป็นผู้ถือบัตรเครดิต และจำเลยที่ 1 ให้ พ. เปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่มีการใช้เช็คเพื่อเบิกถอนเงิน แสดงว่าเป็นบัญชีกระแสรายวันใช้เฉพาะเพื่อชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต จึงไม่ใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20550/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน กรณีทำละเมิดร่วมกัน ผู้เสียหายมีสิทธิเลือกฟ้องลูกหนี้รายใดรายหนึ่ง
แม้ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายที่ 1 เรียกจาก ว. จำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา จะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 และ ว. เป็นลูกหนี้ร่วมซึ่งต้องรับผิดต่อผู้เสียหายที่ 1 ในเหตุที่ร่วมกันทำละเมิดทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นกรณีที่บุคคลหลายคนจะต้องชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนต้องชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือกตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ผู้เสียหายที่ 1 จึงชอบที่จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 หรือ ว. คนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวหรือจะเลือกฟ้องทั้งสองคนก็ได้ การที่ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีนี้ และยื่นคำร้องขอให้บังคับ ว. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 336/2549 ของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครราชสีมา เป็นการบังคับชำระหนี้เอากับบุคคลคนละคนกัน จึงไม่เป็นการร้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16426/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันร่วม กรณีผิดสัญญาประกันตัว และการบังคับคดีตามสัญญา
การที่ผู้ประกันทั้งสองร่วมกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันทั้งสองผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์ของผู้ประกันทั้งสองรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญา มิได้แยกให้ผู้ประกันทั้งสองแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น ทั้งสัญญาประกันดังกล่าวก็ระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญา ดังนี้ ผู้ประกันที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญากับผู้ประกันที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อผู้ประกันทั้งสองยังชำระเบี้ยปรับไม่ครบถ้วน ผู้อำนวยการสำนักงานประจำศาลจังหวัดจันทบุรีในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ก็มีอำนาจอายัดทรัพย์ของผู้ประกันที่ 1 เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาให้ครบถ้วนได้ ข้อสัญญาที่ให้อำนาจศาลในการบังคับตามสัญญาประกัน จึงมิใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด
แม้มีการแก้ไข ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง ให้ถือเสมือนว่าผู้ประกันที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ก็เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีดังที่บัญญัติไว้ในตอนต้นของมาตราดังกล่าวเท่านั้น มิได้ทำให้ความรับผิดของผู้ประกันที่ 1 ตามสัญญาประกันในฐานะลูกหนี้ร่วมหมดสิ้นไปแต่อย่างใด
of 23