พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การมีภูมิลำเนา/ประกอบธุรกิจ ต้องมีในขณะฟ้องหรือภายใน 1 ปี ก่อน
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียถือได้ว่าบริษัทจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร"ตามอนุสัญญาดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจดังนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของจำเลยสิ้นอายุไปแล้ว ไม่มีการประกอบธุรกิจ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย การที่ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2533 และกรมสรรพากรโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ก็มิใช่กรณีที่จำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีที่ยังมิได้ประเมินและแจ้งให้ทราบชัดเจน ไม่อาจนำมาฟ้องล้มละลายได้
โจทก์ไม่มีสิทธินำหนี้ค่าภาษีการค้าซึ่งยังมิได้มีการประเมินและยังไม่ได้แจ้งการประเมินให้จำเลยทราบโดยชอบมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่จำเลยไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เพราะหนี้ค่าภาษีการค้าตามฟ้องอาจถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ เพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท & ล้มละลาย: การสิ้นสุดหนี้เช็คก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด มิทำให้คดีเลิกกัน
การที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัท ฟ. แล้วโจทก์ร่วมนำเช็คพิพาทในคดีนี้ที่จำเลยลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทดังกล่าวสั่งจ่ายไปยื่นคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนเงินในเช็คที่พิพาทเช่นนี้จะถือว่า หนี้ตามเช็คที่พิพาทในคดีนี้ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อน ที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลอุทธรณ์ จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ร่วมยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทที่โจทก์ร่วมนำไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนเงินในเช็คพิพาทก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้สิ้นผลผูกพันไปแล้วก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
โจทก์ร่วมยังไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทที่โจทก์ร่วมนำไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนเงินในเช็คพิพาทก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้สิ้นผลผูกพันไปแล้วก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์มูลหนี้จริงในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำพิพากษาเป็นหลักฐาน
ในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 104 แม้จะไม่มีผู้คัดค้านคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นหรือเป็นผู้เป็นโจทก์ในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ก็มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้อ้างว่า บริษัท ผ. เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันและตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยลูกหนี้ทั้งสองเป็นผู้ค้ำประกัน แต่เจ้าหนี้ไม่มีบัญชีกระแสรายวันและตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ทั้งไม่มีหนังสือสัญญาค้ำประกันของลูกหนี้ ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจสอบสวนถึงมูลหนี้แห่งคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่เจ้าหนี้มีเพียงสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นยังไม่เพียงพอที่ให้เชื่อได้ว่าลูกหนี้ทั้งสองเป็นหนี้ตามจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ และเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 94
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา1 ฉบับ ในการอุทธรณ์หรือฎีกาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงศาลละ25 บาท เท่านั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษา1 ฉบับ ในการอุทธรณ์หรือฎีกาจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงศาลละ25 บาท เท่านั้นตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ทราบฐานะลูกหนี้แต่ยังให้กู้ยืมเพิ่มเติม ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
เจ้าหนี้ทำงานกับลูกหนี้มานานจนกระทั่งเป็นกรรมการคนหนึ่งและเป็นกรรมการผู้จัดการของลูกหนี้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของลูกหนี้ เจ้าหนี้ย่อมต้องทราบถึงฐานะและกิจการของลูกหนี้ได้ว่าตกอยู่ในสภาพเช่นไร ฉะนั้น เมื่อกิจการของลูกหนี้อยู่ในภาวะขาดทุนอีกทั้งลูกหนี้ยังค้างชำระค่าจ้างพนักงานและเจ้าหนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2536 เป็นต้นไป เจ้าหนี้ก็ยังคงให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินโดยลูกหนี้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จนถึงปี 2539 เป็นเงินทั้งสิ้น 7,900,000 บาท แสดงว่า เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินดังกล่าวโดยรู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลา ไม่มีสิทธิขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 (2) ได้อีก
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตาม มาตรา 135 (2) ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ล่าช้า ไม่มีสิทธิขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลาย แม้มีเหตุอื่นอ้าง
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้องแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้องแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลา ไม่มีสิทธิขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลาย แม้มีเหตุอื่นอ้าง
แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องดังนี้ ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 135 ได้ นอกจากนั้นเหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้นั้นล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวก็ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 135(2) ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7659/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความรับผิดทางอาญาจากเช็คเมื่อได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลาย
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะกรรมการของบริษัทเพื่อชำระหนี้แก่ผู้เสียหาย ต่อมาศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทดังกล่าวเด็ดขาด ผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับชำระหนี้เต็มตามจำนวนเงินในเช็ค ดังนี้ การที่ผู้เสียหายได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้จากเช็คตามฟ้องจากกองทรัพย์สินของบริษัทผู้ล้มละลายอย่างเต็มจำนวน มิได้หมายความว่าผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ในเช็คตามฟ้องแล้วกรณีไม่อาจถือว่าหนี้ตามเช็คที่โจทก์ฟ้องได้ระงับและสิ้นผลผูกพันไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเดือน-บำเหน็จลูกหนี้ล้มละลายไม่อยู่ในความรับผิดบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 22 และมาตรา 121โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ เงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) โจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้ การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 286(2) แต่อย่างใด
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอันจะถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ จึงไม่ใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบและการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่า ศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดีหรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยจะไม่ได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอันจะถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่มีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้ จึงไม่ใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบและการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่า ศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดีหรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย