คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดหย่อนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินให้เช่าในอัตราค่าเช่าคิดเป็นจำนวนเงินเดือนละไม่น้อยกว่าค่างวดที่ต้องผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายอันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597-5598/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งงดออกเสียงเจ้าหนี้ vs. สิทธิคัดค้านแผนฟื้นฟูต่อศาล
ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสั่งให้เจ้าหนี้รายใดงดออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ แต่คำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีผลเฉพาะในที่ประชุมเจ้าหนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หามีผลถึงชั้นพิจารณาของศาลด้วยไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/30 และ 90/23 วรรคสอง ทั้งในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาล มาตรา 90/57 กำหนดให้ศาลพิจารณาคำชี้แจงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้ทำแผน รวมทั้งขอคัดค้านของลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 90/30 ซึ่งไม่ได้ลงมติยอมรับแผน ดังนั้นเจ้าหนี้รายนั้นจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางได้ การที่ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 285 ไว้พิจารณาก่อนที่จะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/57

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5597-5598/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการ: ศาลยืนชอบด้วยกฎหมายเมื่อเจ้าหนี้ได้รับประโยชน์มากกว่าการล้มละลาย
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/30 นำมาใช้กับการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าหนี้งดออกเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ได้ แต่การงดออกเสียงในที่ประชุมคงมีผลเฉพาะในที่ประชุมเจ้าหนี้ซึ่งเป็นการดำเนินการชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหามีผลถึงชั้นพิจารณาของศาลด้วยไม่ เพราะในการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการของศาลตามมาตรา 90/57 ให้ศาลพิจารณาข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 90/30 ซึ่งไม่ได้ลงมติยอมรับแผนด้วย การที่ศาลล้มละลายกลางรับคำร้องคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้รายที่ 285 ไว้พิจารณาก่อนที่จะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยมาตรา 90/57
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/27 และมาตรา 90/60 แสดงให้เห็นถึงความประสงค์ที่จะให้มูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ทุกประเภทซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเข้ามาอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการทั้งหมด ไม่ว่าหนี้นั้นจะเป็นหนี้ภาษีอากรใด ๆ ตามประมวลรัษฎากรหรือตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ก็ตามทั้งนี้เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการชำระสะสางภายใต้กรอบของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป หากรณีใดซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ต้องการให้หนี้ภาษีอากรมีสิทธิเหนือหนี้สามัญหรือประสงค์จะคุ้มครองหนี้ภาษีอากรเป็นพิเศษก็จะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่ได้บัญญัติให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่หนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแล้ว ภายใต้บังคับมาตรา 90/57(2) ประกอบมาตรา 130(6) สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 285 จึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ทั้งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 บัญญัติถึงผลของการที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนไว้เป็นการเฉพาะโดยชัดแจ้งแล้วตามมาตรา 90/60วรรคหนึ่ง จึงไม่อาจนำบทบัญญัติมาตรา 56 และ 77 มาใช้โดยอนุโลมได้
แผนฟื้นฟูกิจการเป็นเพียงข้อตกลงร่วมกันของบรรดาเจ้าหนี้ ลูกหนี้เกี่ยวกับวิธีการในการชำระหนี้ ตลอดจนการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 3/1 การที่เจ้าหนี้อุทธรณ์คัดค้านว่าแผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 และมิใช่กรณีต้องดำเนินการตามมาตรา 264 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการเป็นไปตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/58ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าบทบัญญัติมาตรา 90/58 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แผนฟื้นฟูกิจการจึงชอบด้วยกฎหมาย และศาลย่อมใช้ดุลพินิจให้ความเห็นชอบด้วยแผนดังกล่าวได้
ในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของศาลล้มละลายกลางเจ้าหนี้ได้ยกปัญหาว่า แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีรายการไม่ครบถ้วนตามมาตรา 90/42หรือไม่ ข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่เป็นไปตามลำดับกฎหมายว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายหรือไม่ และแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไม่มีรายละเอียดชัดเจนเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า เมื่อการดำเนินการตามแผนสำเร็จจะทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่น้อยกว่ากรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่มาในคำร้องคัดค้านแล้ว เมื่อปัญหาทั้งสามข้อเป็นเหตุสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผนการที่ศาลล้มละลายกลางไม่ได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตามข้อกำหนดคดีล้มละลายฯ
กระบวนการฟื้นฟูกิจการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับแผนด้วยมติพิเศษตามมาตรา 90/46 แล้ว กฎหมายได้กำหนดให้แผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นการกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทในทางธุรกิจเพื่อจะได้วินิจฉัยตรวจสอบในการให้ความเห็นชอบแผนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และมอบดุลพินิจให้ตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจตรวจสอบถึงเนื้อหาของแผนตลอดจนโอกาสความเป็นไปได้ในการดำเนินการตามแผน มิใช่พิจารณาแต่เพียงตรวจสอบรายการต่าง ๆ ว่ามีครบถ้วนตามรูปแบบหรือไม่ แผนฟื้นฟูกิจการของผู้ทำแผนมีรายละเอียดในแผนตั้งแต่ส่วนที่ 2 เหตุผลที่ทำให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ถึงส่วนที่ 15 ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายรวมตลอดทั้งเอกสารที่แนบมากับแผน แผนฟื้นฟูกิจการจึงมีรายการและรายละเอียดครบถ้วนตามมาตรา 90/42 ประกอบมาตรา 90/58(1)และวรรคสองแล้ว
การฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติเฉพาะเรื่องกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ตามมาตรา 90/42 ทวิ(3)ว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม และมาตรา 90/42 ตรี กำหนดว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่กลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ดังนั้นหนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 130(7) มิใช่ว่าเจ้าหนี้ในลำดับเดียวกันจะต้องแบ่งเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ทำแผนได้จัดให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันซึ่งอยู่ในลำดับตามมาตรา 130(7) ออกเป็น 7 กลุ่ม จัดให้เจ้าหนี้รายที่ 287 อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันกลุ่มที่ 4 ข้อเสนอของผู้ทำแผนในการชำระหนี้และกำหนดเงื่อนไขในการชำระหนี้ย่อมผิดแผกแตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริงและเหตุผลไม่ถือว่าข้อเสนอในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่เท่าเทียมกัน แต่สิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 287 ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 4 ชอบที่จะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน จะนำสิทธิของเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเปรียบเทียบกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดี, คุณสมบัติกรรมการ, การแต่งตั้งข้าราชการ, อำนาจศาล, ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายโดยไม่พิจารณาความพร้อมของโรงงานน้ำตาลทราย ชาวไร่อ้อย และความหวานของอ้อย แต่มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงวันประกาศราชกิจจานุเบกษาของประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าเกิดขึ้นหลังวันที่กำหนดให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย และหลังจากวันที่โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายแล้วหรือไม่ ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด จะมีผลย้อนหลังบังคับโจทก์ได้หรือไม่ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องทั้งสิ้น ฎีกาโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มิได้มีข้อกำหนดให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้น หากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมมอบหมายให้ข้าราชการในกรมที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนได้
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 198วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ได้ คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์มิใช่คำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5447/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องศาล: มูลคดีเกิดขึ้นที่ใด ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างจังหวัด
ตามบทบัญญัติมาตรา 4(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้การเสนอคำฟ้องสามารถกระทำได้ต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ที่ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี ประกอบอาชีพค้าขายส่งไรให้แก่ลูกค้าทั่วไปจำเลยเป็นลูกค้าสั่งซื้อไรจากโจทก์ ตามคำฟ้องจึงพอฟังได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ซึ่งในคำให้การจำเลยอ้างเพียงประการเดียวว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น มิได้ให้การว่ามูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรี ดังนั้น เมื่อมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชลบุรีโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดชลบุรีได้ ทั้งการฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องบรรยายมาในฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ใด เป็นเรื่องที่ศาลสามารถพิจารณาได้จากสภาพแห่งข้อหาที่ปรากฏตามคำฟ้องได้ การที่ศาลจังหวัดชลบุรีรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ปราศจากเจตนาสามีภริยา และการปล่อยเวลาเนิ่นนาน ทำให้ไม่สามารถขอให้ศาลพิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอ้างว่าได้จดทะเบียนสมรสกันหลอก ๆ เพื่อหวังประโยชน์ในทางการค้า มิได้มีเจตนาจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริง ทั้งไม่เคยอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด เหตุที่จดทะเบียนสมรสกันเนื่องจากเชื่อตามหมอดูทำนายเท่านั้น แต่ผู้ร้องทั้งสองมิได้นำพยานอื่นเข้าสืบประกอบว่าตนมิได้อยู่กินฉันสามีภริยากันจริง และมิได้ส่งสำเนาทะเบียนบ้านว่ามิได้อยู่บ้านหลังเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ร้องทั้งสองยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 3 ปีเศษ จึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ พฤติการณ์ที่นำสืบเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองยินยอมเป็นสามีภริยากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 แล้วไม่มีเหตุที่จะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสของผู้ร้องทั้งสองตกเป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ: ศาลต้องสอบถามจำเลยและพิจารณาความสุจริตของโจทก์
สาระสำคัญของการขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคสอง(1) อยู่ที่ว่าเมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้ว ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ต้องสอบถามจำเลยก่อนเท่านั้น เมื่อสอบถามจำเลยแล้ว ศาลจะอนุญาตหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยศาลต้องคำนึงถึงความสุจริตของโจทก์หรือการเอารัดเอาเปรียบในคดีเป็นสำคัญ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้ขายสิทธิการเช่าซื้อให้แก่บริษัท บ. ไปแล้ว ทั้งได้รับอนุมัติจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้ถอนฟ้องคดีนี้ได้ จึงเป็นการเชื่อว่าตนหมดอำนาจในการดำเนินคดีต่อไป ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามปกติที่มีอยู่ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้จำเลยจะคัดค้านแต่ก็มิได้ให้เหตุผลอย่างใดไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ต้องรอคำสั่งริบทรัพย์สินจากศาลก่อน
คำร้องของผู้ร้องเป็นกรณีขอคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องขอคืนของกลางได้ เมื่อคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้คืนของกลางไม่ได้ ต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองและขอให้ริบรถยนต์ของกลางเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500-501/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทนอกประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นศาล และการพิจารณาความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้
ตามคำให้การจำเลยสำนวนแรกกับคำฟ้องของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์สำนวนหลัง ต่างก็อ้างเพียงว่าการที่อาคารสถานที่เช่าถูกเพลิงไหม้ ทำให้คนไม่ไปใช้บริการในอาคารดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาอีกต่อไป สัญญาเช่าที่จำเลยผู้เช่าทำกับโจทก์ผู้ให้เช่าจึงสิ้นสุดลงทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การสำนวนแรก หรือบรรยายไว้ในคำฟ้องสำนวนหลังตอนใดเลยว่าการที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ระบบฉีดน้ำดับเพลิงฉีดใส่ป้ายโฆษณาของจำเลยเสียหายจำนวน 54 ป้าย จากป้ายที่มีอยู่ทั้งหมด 82 ป้าย ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131(2), 141 และ 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเรื่องค่าทดแทนเวนคืน ศาลตัดสินฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้อน เนื่องจากเป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทซึ่งถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นพร้อมดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่ขอเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินร้อยละ 10.75 ต่อปี ส่วนคดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเฉพาะดอกเบี้ยที่จำเลยคำนวณให้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี จากเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยเพิ่มให้โดยอ้างว่าการคำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง จะเห็นได้ว่าสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับคดีนี้กับคดีก่อนเป็นอย่างเดียวกัน มูลกรณีที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มและดอกเบี้ยก็เนื่องจากที่ดินแปลงเดียวกัน ดอกเบี้ยที่โจทก์ทั้งสองฟ้องในคดีนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่ฟ้องไว้แล้วในคดีก่อน แม้ว่ารัฐมนตรีฯ จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองมาภายหลังที่โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องก่อนแล้วก็ตาม ศาลในคดีก่อนก็ต้องพิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ทั้งสองในเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคท้าย เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกัน โจทก์ทั้งสองนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
การที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้อน ขอให้รับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาต่อไปนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
of 364