พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดินเพื่อค่านายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศ ชำระหนี้แล้ว ศาลยืนหยัดคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน เท่ากับจำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10953/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์, ข่มขืนใจ, และใช้อาวุธปืนข่มขู่ ศาลยืนตามคำพิพากษาอุทธรณ์
ความผิดข้อหาพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านโดยไม่มีเหตุสมควร เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้บทที่ลงโทษจำเลยจาก พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง เป็น ป.อ. มาตรา 371 ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดและกำหนดโทษปรับ 100 บาท อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ความผิดดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4840/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (ไหล่ทาง) โดยไม่ชอบ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมให้รื้อถอน
ที่พิพาทเป็นไหล่ทางของทางหลวงอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) กรมธนารักษ์ซึ่งรับมอบที่พิพาทคืนจากกรมทางหลวงและจังหวัดฉะเชิงเทราผู้รับมอบช่วงจากกรมธนารักษ์เพื่อดูแลรักษาไม่มีอำนาจนำที่พิพาทไปให้เอกชนรายใดใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะตัว แม้กรมทางหลวงจะหมดความจำเป็นในการใช้สอยและส่งคืนแล้ว แต่ที่พิพาทอยู่ในเขตทางหลวงมิใช่ที่ราชพัสดุตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 2 ประกอบข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และแม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ก็ตาม ที่พิพาทก็ยังเป็นไหล่ทางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงอยู่และยังคงสภาพเดิม เว้นแต่ทางราชการจะเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) แล้วเท่านั้น ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในที่พิพาท การที่จังหวัดฉะเชิงเทราอนุญาตให้จำเลยเช่าที่พิพาทจึงเป็นการให้เช่าโดยปราศจากอำนาจ สัญญาเช่าดังกล่าวไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิครอบครองเหนือที่พิพาทตามสัญญาเช่าได้
การที่จำเลยสร้างเพิงบนไหล่ทางหลวงพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ล้อมรั้วสังกะสีปิดกั้นระหว่างทางหลวงกับที่ดินของโจทก์ ย่อมกระทบสิทธิของโจทก์ในอันที่จะใช้ทางหลวงนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนขนย้ายเพิงและทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
การที่จำเลยสร้างเพิงบนไหล่ทางหลวงพิพาทซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ล้อมรั้วสังกะสีปิดกั้นระหว่างทางหลวงกับที่ดินของโจทก์ ย่อมกระทบสิทธิของโจทก์ในอันที่จะใช้ทางหลวงนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนขนย้ายเพิงและทรัพย์สินออกไปจากที่พิพาทและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ศาลยืนคำพิพากษาเดิม
ในส่วนของรูปลักษณะนั้น แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีเฉพาะอักษรโรมันคำว่า "Petto" กับอักษรไทยคำว่า "เพ็ทโต" ไม่มีรูปประกอบ ในขณะที่เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 มีอักษรโรมันคำว่า "PETTOR" กับรูปสุนัขประดิษฐ์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายมีอักษรโรมันเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า และเมื่อเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 มีอักษรโรมันอยู่ด้านบนภายในริบบิ้นและมีรูปสุนัขประดิษฐ์อยู่ภายในวงกลม ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม ถือเป็นคำประดิษฐ์และเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายจึงมีส่วนคล้ายกันในอักษรโรมัน 5 ตัว คือ P, E, T, T และ O ซึ่งจัดวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกันทั้งหมดแม้จะมีความแตกต่างกันที่ตัว R ตัวสุดท้าย แต่ความแตกต่างดังกล่าวนี้ สาธารณชนที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจไม่สังเกตเห็นได้ และถึงแม้สาธารณชนที่คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษก็อาจไม่สังเกตเห็นความแตกต่างเช่นกัน เพราะคำดังกล่าวเป็นคำประดิษฐ์ไม่ใช่คำที่รู้จักคุ้นเคยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 จึงมีความคล้ายกันในส่วนของอักษรโรมันดังกล่าว
สำหรับเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกว่า "เพ็ด-โต" ส่วนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 อาจเรียกว่า "เพ็ด-โต" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ทั้งนี้ การพิจารณาเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนแต่ต้องพิจารณาตามเสียงเรียกขานที่สาธารณชนซึ่งเป็นคนไทยอาจเรียกขานได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าคล้ายกันทั้งในส่วนของรูปลักษณะและเสียงเรียกขาน ทั้งยังใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงมีมาก
นอกจากนี้การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณารายคำขอ ไม่ต้องพิจารณาว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อปรากฏว่ามีรายการสินค้าที่เหมือนกันแล้ว ก็ชอบที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
สำหรับเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกว่า "เพ็ด-โต" ส่วนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค102801 อาจเรียกว่า "เพ็ด-โต" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ทั้งนี้ การพิจารณาเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องเรียกขานตามที่ผู้ขอจดทะเบียนระบุคำอ่านไว้ในคำขอจดทะเบียนแต่ต้องพิจารณาตามเสียงเรียกขานที่สาธารณชนซึ่งเป็นคนไทยอาจเรียกขานได้ เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าคล้ายกันทั้งในส่วนของรูปลักษณะและเสียงเรียกขาน ทั้งยังใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงมีมาก
นอกจากนี้การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณารายคำขอ ไม่ต้องพิจารณาว่าสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อปรากฏว่ามีรายการสินค้าที่เหมือนกันแล้ว ก็ชอบที่จะไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8692/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี: มูลละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ vs. ผิดสัญญาจ้างแรงงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยอ้างถึงการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เพียงประการเดียว ดังจะเห็นได้จากข้อหาหรือฐานความผิดหน้าฟ้อง โจทก์ระบุว่าผิดสัญญาจ้างแรงงาน ละเมิด เรียกค่าเสียหาย และบรรยายฟ้องถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่า จำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดำเนินงานตามที่โจทก์มอบหมาย อนุมัติ และให้ความเห็นชอบ และระบุถึงการปฏิบัติงานของจำเลยว่าเป็นการผิดข้อบังคับองค์การสะพานปลา เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ทำให้โจทก์เสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดทั้งมูลละเมิดและมูลสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น แม้ว่าผู้อำนวยการโจทก์จะทราบผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 และโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 เกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคสอง ก็ตาม แต่ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เหตุคดีนี้เกิดเมื่อเดือนเมษายน 2540 เมื่อนับถึงวันฟ้อง ฟ้องโจทก์ในเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10787/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานเนื่องจากขาดคุณสมบัติ แม้มี พ.ร.บ.ล้างมลทิน ศาลยืนคำสั่งเลิกจ้างชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เคยถูกจำเลยลงโทษทางวินัยไล่ออกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 ต่อมาโจทก์เปลี่ยนชื่อแล้วกลับมาสมัครงานกับจำเลยอีกครั้งในวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 จำเลยมีคำสั่งรับโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2532 ซึ่งตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 ที่ใช้อยู่เดิมในขณะที่โจทก์สมัครงานและระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 ซึ่งประกาศใช้ในขณะที่จำเลยมีคำสั่งรับโจทก์เข้าทำงานระบุให้การถูกไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจเป็นการขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานของจำเลย ต่อมาจำเลยได้รับหนังสือร้องเรียนจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนแล้วพบว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติการเป็นพนักงานของจำเลยตั้งแต่วันสมัครงานดังกล่าว จำเลยจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เมื่อปี 2547 หลังจากที่ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งผลของ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มีได้เฉพาะสิทธิประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเท่านั้น ดังนั้น แม้ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ขณะโจทก์เข้าทำงานเมื่อปี 2532 โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2522 และระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัด พุทธศักราช 2532 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุโจทก์ขาดคุณสมบัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10662/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่งอกริมตลิ่งกรรมสิทธิ์เป็นของเจ้าของที่ดินเดิม แม้เกิดจากเขื่อนหิน ศาลพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ที่งอกที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นสร้างเขื่อนหินยื่นลงไปในทะเลทำให้เกิดการสะสมของตะกอนทรายแล้วเกิดที่งอกจากที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนหินดังกล่าวย่อมถือได้ว่าที่งอกของที่ดินของโจทก์เป็นที่งอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โจทก์จึงเป็นเจ้าของที่งอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่น้ำทะเลท่วมถึง ต่อมามีท่าเทียบเรือของเอกชนก่อสร้างยื่นลงไปในทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงยังคงเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่ตอนหลังกลับให้การว่า หากฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว คำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของโจทก์ อันเป็นการขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ เท่ากับว่าจำเลยที่ 1 มิได้ให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้กลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ในส่วนที่ให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท แก่โจทก์นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่ให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากที่ดินพิพาท อันเป็นคำขอประธานเท่านั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตในชั้นฎีกาอีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ดังนั้น การจะพิจารณาว่าข้อตกลงในสัญญาหรือในสัญญาสำเร็จรูปนั้น เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากนั้นได้เปรียบผู้บริโภคหรือคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรหรือไม่ และในมาตรา 4 วรรคสาม ได้กำหนดข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพิจารณาสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขไว้ 9 ข้อ โดยกำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมโดยไม่จำกัดจำนวนและเป็นการค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างตลอดไปตรวจที่ยังคงทำงานกับโจทก์หรือมีหนี้สินค้างชำระ ก็เป็นเงื่อนไขทั่วไปตามสัญญาค้ำประกัน ส่วนในข้อ 6 ระบุให้ผู้ค้ำประกันไม่ยกข้อต่อสู้เพื่อให้หลุดพ้นความรับผิดกรณีที่โจทก์กระทำการอันเป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิในเรื่องจำนอง จำนำ บุริมสิทธิ ดังที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 697 หรือสละสิทธิในการยกอายุความขึ้นต่อสู้ ก็เป็นการทำสัญญายกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันคดีนี้มิได้มีส่วนเกี่ยวกับสัญญาในข้อ 6 ส่วนสัญญาข้ออื่นนอกจากนี้มิได้มีผลให้จำเลยที่ 2 รับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ตามสัญญาข้ออื่นก็เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำท้าทางกฎหมาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้เครื่องมือมีความไม่มั่นคงเล็กน้อย หากสามารถตั้งระยะตามที่ตกลงได้
คู่ความท้ากันว่าหากโจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะชุดป้อนกระดาษของเครื่องพิมพ์ขนาด 102 เซนติเมตร ในการตั้งระยะเครื่องซีดี 74 ตามใบสั่งซ่อมได้ระยะ 45.5 เซนติเมตร หรือ 455 มิลลิเมตร แล้ว จำเลยทั้งสองยอมแพ้ ยอมจ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์ หากโจทก์ไม่สามารถตั้งได้ โจทก์ขอยอมแพ้ ดังนั้น ประเด็นในการท้ากันจึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะในการตั้งระยะดังกล่าวได้หรือไม่เท่านั้น โดยมิได้มีเงื่อนไขว่าห้ามมีตัวนอตหรือสกรูขยับได้หรือต้องตรงตามมาตรฐานของเครื่องเพื่อตรงตามความต้องการของลูกค้าตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะในการตั้งระยะดังกล่าวได้ตรงตามคำท้าแล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำท้าได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีและจ่ายเงินตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ การบุกรุกและทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ว่า บาดแผลที่ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับจากการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย และจำเลยทั้งสี่ได้กระทำความผิดฐานบุกรุกเพราะประสงค์จะเจรจากับผู้เสียหายที่ 2 ที่ทำร้ายร่างกายบุตรหลานของจำเลยทั้งสี่ถือว่ามีเหตุอันควรอันเป็นการฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้การรับสารภาพแล้ว ข้อเท็จจริงจึงรับฟ้องได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15