คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแขวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ. 2499: บทบาทอัยการและผู้ว่าคดี, ศาลต้องรับฟ้อง
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวง ธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์ (ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรี และพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราว คงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เมื่อพนักงานอัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญา ศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (2) ที่ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเอง แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 เท่านั้น ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงตาม พ.ร.บ.ศาลแขวงฯ พ.ศ.2499: บทบาทผู้ว่าคดีและอัยการ
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์(ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรีและพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราวคงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เช่นนี้เมื่ออัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญาศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14(2) ที่ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเองแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 เท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ.2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โทษกักขัง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ศาลแขวงลงโทษกักขัง
ศาลแขวงลงโทษกักขังจำเลย 2 เดือน จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โทษกักขังไม่ใช่โทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 726/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โทษกักขัง: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
ศาลแขวงลงโทษกักขังจำเลย 2 เดือนจำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โทษกักขังไม่ใช่โทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: การลดโทษและขอบเขตการพิจารณาคดี
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาท เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจา หากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงคดีปรับเกินสองพันบาท: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาได้หากลดโทษแล้วไม่เกินเกณฑ์
คดีที่มีโทษปรับเกินกว่าสองพันบาทเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงด้วยวาจาหากศาลจะวางโทษและลดโทษแล้วเหลือโทษปรับไม่ถึงสองพันบาท ศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในการพิพากษายกฟ้องคดีไม่มีมูล แม้เป็นคดีเกินอำนาจ
คดีเกินอำนาจศาลแขวง เมื่อศาลแขวงไต่สวนแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวง ๆ มาตรา 14 จะทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่ง ก็มีผลอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในการพิพากษายกฟ้องคดีไม่มีมูล แม้เป็นคดีเกินอำนาจ
คดีเกินอำนาจศาลแขวง เมื่อศาลแขวงไต่สวนแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 14 จะทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งก็มีผลอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์ในคดีศาลแขวง: ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ ยกเว้นสิทธิจำเลย
คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะทำการพิจารณาพิพากษาได้นั้น เมื่อศาลแขวงได้ทำการพิจารณาพิพากษาแล้ว การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 ม. 22 กรณีเช่นนี้ฝ่ายโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีในศาลแขวง: สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะทำการพิจารณาพิพากษาได้นั้นเมื่อศาลแขวงได้ทำการพิจารณาพิพากษาแล้วการที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาจึงต้องบังคับตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 กรณีเช่นนี้ฝ่ายโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เลย
of 25