พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมมอบที่นาเมื่อไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด ถือเป็นการสละสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. ม.1377
สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ขายฝากที่นาพิพาทแก่จำเลยมีกำหนดไถ่ 1 ปี ถ้าไม่ไถ่ถอนตามกำหนด โจทก์ยอมมอบที่นาให้จำเลยถือครองกรรมสิทธิ์ต่อไป และจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้ต่อไปในภายหลังดังนี้ ข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาสละการครอบครองของโจทก์ในเมื่อโจทก์ไม่ไถ่ถอนภายในเวลาที่กำหนดสิทธิครอบครองที่นาพิพาทของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. ม.1377
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2945/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความสละสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ: มีผลผูกพันลูกจ้าง
เมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุลูกจ้างได้ทำข้อตกลงกับนายจ้างเป็นหนังสือว่า ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยและเงินผลประโยชน์เนื่องจากการปลดเกษียณจากนายจ้างแล้วลูกจ้างรับรองว่าจะไม่ใช้สิทธิเรียกเงินอื่นใดจากนายจ้างอีกต่อไป ดังนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่หมายความว่าลูกจ้างยอมสละสิทธิเรียกร้องเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากนายจ้างทุกประเภทซึ่งรวมทั้งเงินบำเหน็จที่ยังขาดอยู่ด้วย ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินบำเหน็จที่ยังขาดจากนายจ้างอีกต่อไป
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การที่ลูกจ้างยอมสละสิทธิในการรับเงินบำเหน็จนั้นเป็นเรื่องลูกจ้างยอมสละสิทธิในจำนวนเงินที่ลูกจ้างจะพึงได้รับจากนายจ้างเท่านั้น ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีอยู่อย่างไร คู่กรณีก็คงปล่อยให้เป็นไปตามเดิม จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น ศาลไม่ต้องวินิจฉัยเรื่องการตรวจพิสูจน์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2627/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิขอตรวจพิสูจน์หลักฐาน และดุลพินิจศาลในการตรวจพิสูจน์เอกสาร
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งเอกสารสัญญากู้ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ตรวจพิสูจน์ ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในเรื่องนี้ คงมีคำสั่งในคำร้องของจำเลยฉบับเดียวกันนี้เพียงว่า ให้นำสำนวนคดีที่จำเลยอ้างมาผูกรวมไว้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานจำเลยจนจำเลยแถลงหมดพยานไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษา โดยไม่มีฝ่ายใดหยิบยกเรื่องการตรวจพิสูจน์เอกสารขึ้นเพื่อการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกเลยดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละแล้วซึ่งการขอให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารและการนำสืบโดยผู้ชำนาญการพิเศษ ทั้งถือได้ว่าการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้เสร็จสิ้นแล้ว การที่จำเลยยกเอาข้อที่ตนได้สละ และมิได้เป็นข้อที่ว่ากันมาแต่ในศาลชั้นต้นมาเป็นข้ออุทธรณ์เพื่อขอให้มีการสืบพยานจำเลยในข้อนี้ จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ที่แก้ไขใหม่ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นเป็นการสมควร ซึ่งย่อมขึ้นอยู่แก่พฤติการณ์ของคดีแต่ละกรณี มิใช่เป็นการบังคับให้จำต้องกระทำเสมอไป ดังที่บัญญัติไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 99 และมาตรา 129ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องจากสัญญา: การฟ้องเพิกสัญญาฉ้อฉลแล้วทิ้งฟ้องไม่กระทบสิทธิเดิม
การฉ้อฉลหมายถึงนิติกรรมอันลูกหนี้ได้ทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และบุคคลที่จะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้คือเจ้าหนี้ หาใช่ตัวผู้ทำนิติกรรมนั้นเองไม่ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาแบ่งปันมรดกไปฟ้องคดีในอีกศาลหนึ่ง ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาแบ่งปันมรดกที่ตนได้ทำกับจำเลยไว้ แล้วทิ้งฟ้องจนศาลจำหน่ายคดีนั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้องนั้นและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 และย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสัญญาแบ่งปันมรดกคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจากฟ้องเพิกถอนสัญญาฉ้อฉล ย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม
การฉ้อฉลหมายถึงนิติกรรมอันลูกหนี้ได้ทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และบุคคลที่จะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้คือเจ้าหนี้ หาใช่ตัวผู้ทำนิติกรรมนั้นเองไม่ การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาแบ่งปันมรดกไปฟ้องคดีในอีกศาลหนึ่ง ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาแบ่งปันมรดกที่ตนได้ทำกับจำเลยไว้ แล้วทิ้งฟ้องจนศาลจำหน่ายคดีนั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้องนั้น และทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 และย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสัญญาแบ่งปันมรดกคดีนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญากันโดยปริยาย: การงดชำระราคาและปล่อยเวลาผ่านไปนานถือเป็นการสละสิทธิ
จำเลยแบ่งขายที่ดิน ส.ค. 1 ให้แก่โจทก์โดยโจทก์ชำระเงินให้ในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็น 10 งวดโดยออกเป็นเช็ค 10 ฉบับ มอบให้จำเลยไว้มีข้อตกลงว่าหากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดก็ยอมให้จำเลยริบเงินมัดจำถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องบังคับและยอมใช้ค่าเสียหายต่อมานายอำเภอมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าที่ดินที่โจทก์รับซื้อไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ให้โจทก์ระงับการปลูกสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวโจทก์จึงระงับการก่อสร้างและสั่งอายัดเช็คค่าที่ดินที่ค้างรวม 8 ฉบับ หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยก็มิได้ฟ้องร้องว่ากล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งอายัดเช็คเป็นการงดชำระราคาค่าที่พิพาทที่ยังเหลือรวม8 ฉบับ มิได้เรียกร้องหรือว่ากล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายหรือเรียกเงินมัดจำและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับตามเช็ค 2 ฉบับ คืนจากจำเลย คงปล่อยเวลาให้ล่วงไปถึง 6 ปี ฝ่ายจำเลยก็มิได้เรียกร้องหรือว่ากล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเช่นกันตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วโดยปริยายและไม่ติดใจเรียกร้องอะไรแก่กันแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องว่ากล่าวจำเลยว่ากระทำผิดสัญญา (อ้างคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 136/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังอายุความสิ้นสุด และผลกระทบต่อการยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 นั้น ต้องกระทำกันขึ้นก่อนที่กำหนดอายุความนั้นจะสิ้นสุดลง ส่วนการรับสภาพหนี้ที่กระทำหลังจากอายุความสิ้นสุดลงแล้วนั้นถือว่าลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วตามมาตรา 192 จะยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าชดเชยแรงงาน: การจ่ายเงินบำเหน็จสูงกว่าค่าชดเชยตามระเบียบข้อบังคับ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิเรียกร้อง
นโยบายทั่วไปเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ว่า พนักงานผู้ซึ่งได้รับการปลดเพราะเกษียณอายุจะได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายซึ่งบริษัท (จำเลย)มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะมีขึ้นในอนาคตหรือเงินบำเหน็จมีจำนวนเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายเป็นมูลฐานการคำนวณหนึ่งเดือนต่อจำนวนหนึ่งปีแห่งการทำงานบริบูรณ์ต่อเนื่องกันทุก ๆ ปี การทำงานให้แก่บริษัทตามแต่จำนวนเงินใดจะมากกว่ากันโดยบริษัทจะเป็นผู้ออกเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ โจทก์ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุจำนวนเงินบำเหน็จมากกว่าค่าชดเชย โจทก์จึงเลือกรับเงินบำเหน็จและลงลายมือชื่อสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับดังกล่าวมีผลเป็นการจ่ายค่าชดเชย ด้วยการสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ไม่มีผลใช้บังคับโจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลย