พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีสมคบทำผิด: การสอบสวนผู้สมคบและผู้จับโดยใช้คำพยานเดิมเป็นไปตามกฎหมาย
ได้มีการสอบสวนความผิดในคดีอาญาเรื่องหนึ่งจนถึงแก่ได้มีการฟ้องร้องผู้กระทำผิดต่อศาลศาลพิพากษาลงโทษไปแล้วภายหลังจับผู้ที่สมคบกระทำความผิดนั้นได้ พนักงานสอบสวนจึงได้สอบสวนตัวผู้สมคบนั้นกับผู้จับประกอบเพียงเท่านั้นส่วนพยานอื่นถือเอาคำพยานในสำนวนการสอบสวนเดิมมิได้เรียกพยานเหล่านั้นมาสอบใหม่อีกดังนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าคดีสำหรับผู้สมคบนี้ได้มีการสอบสวนชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีอาญาต้องห้ามตามกฎหมาย หากพนักงานสอบสวนยังมิได้สอบสวนในความผิดนั้น
อัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนมา ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2 ปาก โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่า จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน & ขอบเขตการใช้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ระบุไว้นั้นได้ เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานในเมื่อเห็นว่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น แต่ไม่ได้บังคับว่าการกระทำเหล่านี้พนักงานสอบสวนจะต้องจัดทำด้วยตนเอง ฉะนั้นพนักงานสอบสวนอาจให้ผู้ในบังคับบัญชาไปกระทำแทนในสิ่งเล็กน้อยก็ได้
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาลและโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยาน นั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาลและโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยาน นั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา: ต้องแสดงเจตนาเพื่อตรวจสอบประวัติหรือสอบสวนหลักฐาน
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยขัดคำสั่งของพนักงานสอบสวน ไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลยลงในแผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือในฐานะเป็นผู้ต้องหาในคดีผิด พระราชบัญญัติยาสูบ ขอให้ลงโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) เพียงเท่านี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการสั่งให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อตรวจสอบเรื่องเคยต้องโทษหรือว่าเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนหลักฐาน อันเป็นข้อสาระสำคัญ ที่จะแสดงว่า ได้สั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 ฉะนั้นจึงยังลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้พยานและจำเลยต่างอยู่ในจังหวัดที่แตกต่างกัน
พยานโจทก์ซึ่งเป็นตำรวจจับผู้เล่นการพะนันแล้วต่างก็เขียนคำให้การของตนส่งให้กรมการอำเภอเจ้าของที่ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำการสอบสวนแล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนต่อไป มีถามจดคำให้การของผู้ต้องหาเสร็จแล้วส่งเรื่องให้อัยการดังนี้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 516/2481)
(อ้างฎีกาที่ 516/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย: ตำรวจจับกุมและส่งคำให้การให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
พยานโจทก์ซึ่งเป็นตำรวจจับผู้เล่นการพนันแล้ว ต่างก็เขียนคำให้การของตนส่งให้กรมการอำเภอเจ้าของที่ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำการสอบสวน แล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนต่อไป มีถาม จดคำให้การของผู้ต้องหาเสร็จแล้วส่งเรื่องให้อัยการ ดังนี้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างฎีกาที่ 516/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญา: การสอบถามข้อเท็จจริงเฉพาะเจาะจงไม่ถือว่าการสอบสวนเสียไป
การที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบสวนเสียก่อนที่พนักงานอัยการนำคดีขึ้นฟ้องร้องนั้น ก็เพื่อประสงค์จะมิให้มีการฟ้องร้องกันง่าย ๆ ปราศจากหลักฐานเพราะจะเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยนำสุกรออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาตและทราบประกาศแล้ว จำเลยรับว่าได้นำสุกรออกนอกเขตและได้ทราบประกาศแล้วจริง แต่สู้ว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในข้อที่จำเลยได้ทราบประกาศหรือไม่ แม้คดีจะได้ความว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนข้อที่จำเลยทราบประกาศหรือไม่ ก็ยังถือได้ว่าได้มีการสอบสวนแล้ว และไม่เป็นเหตุที่จะให้ถือว่าการสอบสวนนั้นเสียไปแต่อย่างใด หรือจะถือว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ทำการสอบสวนก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยนำสุกรออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาตและทราบประกาศแล้ว จำเลยรับว่าได้นำสุกรออกนอกเขตและได้ทราบประกาศแล้วจริง แต่สู้ว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในข้อที่จำเลยได้ทราบประกาศหรือไม่ แม้คดีจะได้ความว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนข้อที่จำเลยทราบประกาศหรือไม่ ก็ยังถือได้ว่าได้มีการสอบสวนแล้ว และไม่เป็นเหตุที่จะให้ถือว่าการสอบสวนนั้นเสียไปแต่อย่างใด หรือจะถือว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ทำการสอบสวนก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญา: ความสมบูรณ์ของการสอบสวนและการรับคำให้การของจำเลย
การที่กฎหมายบัญญัติให้มีการสอบสวนเสียก่อนที่พนักงานอัยการนำคดีขึ้นฟ้องร้องนั้น ก็เพื่อประสงค์จะมิให้มีการฟ้องร้องกันง่ายๆ ปราศจากหลักฐานเพราะจะเป็นการเดือดร้อนแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยนำสุกรออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาตและทราบประกาศแล้ว จำเลยรับว่าได้นำสุกรออกนอกเขตและได้ทราบประกาศแล้วจริง แต่สู้ว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในข้อที่จำเลยได้ทราบประกาศหรือไม่ แม้คดีจะได้ความว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนข้อที่จำเลยทราบประกาศหรือไม่ ก็ยังถือได้ว่าได้มีการสอบสวนแล้ว และไม่เป็นเหตุที่จะให้ถือว่าการสอบสวนนั้นเสียไปแต่อย่างใด หรือจะถือว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ทำการสอบสวนก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยนำสุกรออกนอกเขตโดยไม่ได้รับอนุญาตและทราบประกาศแล้ว จำเลยรับว่าได้นำสุกรออกนอกเขตและได้ทราบประกาศแล้วจริง แต่สู้ว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในข้อที่จำเลยได้ทราบประกาศหรือไม่ แม้คดีจะได้ความว่าพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนข้อที่จำเลยทราบประกาศหรือไม่ ก็ยังถือได้ว่าได้มีการสอบสวนแล้ว และไม่เป็นเหตุที่จะให้ถือว่าการสอบสวนนั้นเสียไปแต่อย่างใด หรือจะถือว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้ทำการสอบสวนก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีลักทรัพย์ และไม่มีความเสียหายจากรายงานเท็จ จึงไม่มีความผิด
จำเลยเป็นเลขานุการกรมเชื้อเพลิง มีหน้าที่แต่ทำหนังสือราชการ ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนสืบสวนความผิดเรื่องผู้ร้ายลัก หรือยักยอกทรัพย์ของกรมเชื้อเพลิง หน้าที่พิเศษที่จำเลยได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกรรมการสอบสวนหรือสืบสวนเรื่องผู้ร้ายลักหรือยักยอกแผ่นเหล็กของกรมเชื้อเพลิงนั้น จำเลยได้รับแต่งตั้งภายหลังเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยได้เรียกหรือรับสินบลจาก ส. และ ง. ซึ่งรับซื้อแผ่นเหล็กของกรมเชื้อเพลิง จึงถือไม่ได้ว่าขณะจำเลยกระทำการตามฟ้องจำเลยมีอำนาจหน้าที่ดังฟ้อง
ความผิดฐานรายงานเท็จ เมื่อไม่ปรากฎว่า การที่จำเลยรายงานเท็จดังฟ้องได้เกิดความเสียหาย หรืออาจจะเสียหายแก่กรมเชื้อเพลิงได้อย่างไร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
ความผิดฐานรายงานเท็จ เมื่อไม่ปรากฎว่า การที่จำเลยรายงานเท็จดังฟ้องได้เกิดความเสียหาย หรืออาจจะเสียหายแก่กรมเชื้อเพลิงได้อย่างไร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนก่อนฟ้อง และ คำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ตามกฎหมายไม่ได้บังคับไว้ว่า ฟ้องต้องบรรยายไว้ด้วยว่าได้มีการสอบสวนแล้ว เมื่อคดีปรากฏว่า ก่อนฟ้องได้มีการสอบสวนแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้
ฉ้อโกงทรัพย์ของการไฟฟ้าหลวงสามเสน ซึ่งขึ้นอยู่แก่กรมโยธาเทศบาลครั้งนั้นยังเป็นกรมโยธาธิการ) อธิบดีแห่งกรมดังกล่าวย่อมร้องทุกข์ได้
คำร้องทุกข์ของอธิบดีกรมโยธาธิการ ซึ่งมีข้อความว่า '.....ได้ทราบจากเจ้าพนักงานสอบสวนว่า คดีนายเทื้อมกับพวกซึ่งต้องหาว่า ทุจริตต่อหน้าที่และปลอมหนังสือนั้นได้มีข้อหาเพิ่มเติมอีกว่า ทำการฉ้อโกงทรัพย์ด้วยฉันในฐานะเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการจึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ฉันขอมอบคดีฐานฉ้อโกงให้ตำรวจและอัยการดำเนินคดีต่อไป (ลงชื่อ ล. บูรกัมโกวิท)' เป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยมาตรา 123 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว
ฉ้อโกงทรัพย์ของการไฟฟ้าหลวงสามเสน ซึ่งขึ้นอยู่แก่กรมโยธาเทศบาลครั้งนั้นยังเป็นกรมโยธาธิการ) อธิบดีแห่งกรมดังกล่าวย่อมร้องทุกข์ได้
คำร้องทุกข์ของอธิบดีกรมโยธาธิการ ซึ่งมีข้อความว่า '.....ได้ทราบจากเจ้าพนักงานสอบสวนว่า คดีนายเทื้อมกับพวกซึ่งต้องหาว่า ทุจริตต่อหน้าที่และปลอมหนังสือนั้นได้มีข้อหาเพิ่มเติมอีกว่า ทำการฉ้อโกงทรัพย์ด้วยฉันในฐานะเป็นอธิบดีกรมโยธาธิการจึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ฉันขอมอบคดีฐานฉ้อโกงให้ตำรวจและอัยการดำเนินคดีต่อไป (ลงชื่อ ล. บูรกัมโกวิท)' เป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วยมาตรา 123 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว