คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการในสัญญาค้ำประกัน ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้ว และนำไปสู่การสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่โจทก์ได้ส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในสัญญาค้ำประกันซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาที่ได้เลือกไว้เป็นการเฉพาะการนี้โดยเจตนาปรากฏชัดแจ้งตั้งแต่จำเลยที่ 3และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันและไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาที่เลือกไว้ต่อโจทก์ การส่งหนังสือทวงถามยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าวโดยทางไปรษณีย์ซึ่งมีผู้รับโดยชอบ จำนวน 2 ครั้ง ในระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน ต้องถือว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยชอบแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์จึงเข้าข้อสันนิษฐานว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีหนี้สินพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ใช่ “มัดจำ” โจทก์ไม่มีสิทธิริบเงินหรือเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่ใช่สิ่งที่คู่สัญญามอบให้ไว้แก่กันเมื่อทำสัญญา จึงมิใช่มัดจำตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกันเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันซองประกวดราคาที่ไม่ใช่ 'มัดจำ' และผลต่อสัญญาค้ำประกัน
การที่ไม่มีสิ่งใดให้ไว้เป็นมัดจำ เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมจะไม่มีมัดจำให้ริบ หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงมิใช่มัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานะเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ต่อเมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกัน แต่คดีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกันเพราะมิใช่มัดจำเสียแล้ว ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ขอบเขตความรับผิด-การอนุมัติระยะเวลาศึกษาต่อเพิ่มเติม-เบี้ยปรับสูงเกินไป
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่อต่างประเทศ: การขยายเวลาศึกษา, ภาระของผู้ค้ำประกัน, และการลดค่าเสียหาย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ค้ำประกัน ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์แก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ฝ่ายเดียวมีเหตุผลควรได้รับความเห็นใจ พิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน สมควรลดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก เงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ก็เป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, หักบัญชีเกินวงเงิน, สัญญาค้ำประกัน, บังคับจำนอง: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
การพิจารณาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ ต้องพิจารณาจากการบรรยายฟ้องเท่านั้น ไม่ต้องเอาทางนำสืบมาพิจารณาด้วย คำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ระบุให้โจทก์นำหนี้สินความรับผิดชอบไม่ว่าประเภทใด ๆ มาหักบัญชีได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เป็นข้อตกลงที่จำเลยที่ 1ยอมให้โจทก์หักบัญชีมิใช่เฉพาะแต่เงินในบัญชีเท่านั้น ถึงแม้ในบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน โจทก์ก็อาจนำหนี้สินอื่นมาหักจากบัญชีได้ ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นการบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์กล่าวอ้างและนำสืบ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 จะไม่ยกขึ้นว่ากล่าวต่อสู้ ศาลก็จะต้องยกขึ้นวินิจฉัยให้อยู่แล้ว และถึงแม้ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้โดยไม่ย้อนสำนวน คำบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 ไม่จำต้องบอกกล่าววิธีบังคับจำนองไปในคำบอกกล่าวด้วย คำแก้ฎีกาจะขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่กำหนดให้ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนน้อยเกินไปไม่ได้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้เงินคืนและการค้ำประกัน, ความสำคัญผิดในสัญญาค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นมารดาของร้อยตรี ท. เพื่อขอรับเงินบำนาญพิเศษจากโจทก์ ความจริงมิได้เป็นมารดา อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินบำนาญพิเศษให้จำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยอมจะชดใช้เงินที่รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือส่วนที่ได้รับเกินสิทธิคืนเป็นการจะชดใช้เงินคืนตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่ามีอายุความเท่าใด จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชดใช้เงินดังกล่าวคืน จึงมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1ต้องชดใช้เงินบำนาญพิเศษคืนแก่โจทก์แต่ไม่สามารถชดใช้เงินคืนได้ จำเลยที่ 2 จะชดใช้แทน จำเลยที่ 2 เข้าใจถูกต้องทุกประการที่จะยอมรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 เข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1เป็นมารดาของร้อยตรี ท. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ความเข้าใจผิดของจำเลยที่ 2 มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาค้ำประกัน ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์แม้เข้าใจผิดเรื่องทายาท ความผิดพลาดไม่กระทบสัญญาค้ำประกัน อายุความ 10 ปี
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับรองการชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการในขณะที่จำเลยที่ 1 จะรับเงินจากโจทก์สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเพียงคำเสนอที่จะก่อให้เกิดสัญญาเมื่อมีคำสนอง เพราะขณะมีการทำสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 ได้รับเข้าผูกพันตนทำสัญญาค้ำประกันเสร็จไปในวันเดียวกัน สัญญาค้ำประกันจึงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว แม้ว่าการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นมารดาของร้อยตรี ท.เพื่อขอรับเงินบำนาญพิเศษจากโจทก์ซึ่งความจริงมิได้เป็นมารดาอาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินบำนาญพิเศษให้จำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือว่าเป็นการชดใช้เงินคืนตามสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชดใช้เงินคืนจึงมีอายุความ10 ปีเช่นกัน การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันโดยเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1ผู้ขอรับเงินบำนาญพิเศษเป็นมารดาของร้อยตรี ท. นั้น มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ความเข้าใจผิดดังกล่าวมิใช่เป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาค้ำประกันจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพราะจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารฝ่ายธุรการและกำลังพล เป็นตำแหน่งที่ต้องกระทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนั้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองบริษัท, สัญญาค้ำประกัน, ตัวแทนช่วง, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, การรับคำเบิกความ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนแม้จะเป็นสำเนาแต่เจ้าพนักงานก็รับรองความถูกต้องจึงรับฟังได้ ส่วนหนังสือรับรองท้ายฟ้องโจทก์มีข้อความตรงกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทสาขาหาใช่หนังสือรับรองสาขาโจทก์ การที่ปรากฏข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์การที่ปรากฎข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์ต่าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่โจทก์อ้างประกอบคำฟ้องแสดงฐานะและอำนาจกรรมการของโจทก์เท่านั้น
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกองมรดกจากสัญญาค้ำประกันและมอบสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระและกำหนดเวลาชำระกับหากผิดนัดให้ชำระกันอย่างไรไว้ให้สามารถเข้าใจได้ ส่วนดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เกินกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม คดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ คดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นการส่วนตัวโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้อยู่ในฐานะเดียวกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา มิใช่คู่ความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ บันทึกการจำนำเงินฝากประจำ ระบุว่าภริยาจำเลยที่ 2 จำนำเงินฝากประจำของตนไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและ/หรือจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการจำนำเงินฝากเพราะเงินที่ภริยาจำเลยที่ 2ฝากประจำไว้ดังกล่าวตกแก่ผู้รับฝากไปแล้ว การที่ภริยาจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่โจทก์จึงมิใช่การจำนำเงินฝาก แต่เป็นการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาต่างหากจากสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ อันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลนี้ผูกพันตัวภริยาจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับสินสมรส จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477,1480 ที่จำเลยที่ 2จะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
of 50