คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีภริยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วมกันระหว่างสามีภริยาโดยไม่จดทะเบียน: การพิสูจน์เจตนาให้เป็นเจ้าของร่วม
พฤติการณ์ที่จำเลยกับบิดาโจทก์อยู่กินกันฉันท์สามีภริยาและนำเอาเงินซื้อขายที่นาเดิมของจำเลยมาซื้อแล้วทำนาที่ซื้อใหม่นี้ร่วมกันจนบิดาโจทก์ตายเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกับบิดาโจทก์ได้ร่วมเข้าทำมาหากินด้วยกัน มีเจตนาให้ทรัพย์ที่ซื้อหามาใหม่นี้เป็นทรัพย์ร่วมกัน ทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างอยู่กินร่วมกันทำนองนี้ ไม่ว่าจะใช้จ่ายเงินของฝ่ายใดซื้อหามาต้องถือว่าทั้งสองฝ่ายต่างเป็นเจ้าของร่วม (อ้างฎีกาที่ 303/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและการพิสูจน์เจตนาทุจริต
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ป.พ.พ. มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปีไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่จะต้องแบ่งตาม ป.พ.พ. ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม.164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตเป็นข้อเท็จจริง, อายุความแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
มีเจตนาทุจริตหรือไม่นั้นเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 185 เป็นบทบัญญัติเรื่องการขยายอายุความที่จะสิ้นสุดลงในระหว่างเป็นสามีภริยากันอยู่ให้ขยายต่อไปอีก 1 ปี ไม่ใช่เป็นเรื่องว่าถ้าทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตกอยู่แก่ฝ่ายใดเกิน 1 ปีแล้ว ฝ่ายนั้นจะได้กรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินระหว่างสามีที่จะต้องแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1512 นั้นไม่มีกำหนดเวลาระบุไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ม.164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาทและละทิ้งการอุปการะเลี้ยงดู
การที่จำเลยซึ่งเป็นสามีขับไล่และกล่าวประจานโจทก์(ภริยา) ว่า "พวกมึงเป็นเหล่าลักขโมยเขา เลี้ยงไม่ได้" และใช้คำหยาบล่วงเกินต่อบิดาโจทก์ว่า "มึงเอาลูกของมึงไปเลี้ยงเถิด กูเลี้ยงไม่ได้ เลี้ยงไปก็เสียสกุลบ้าน เป็นเสนียดจัญไร" เช่นนี้ เป็นการหมิ่นประมาทต่อโจทก์และต่อบุพพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ม.1500(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากสามี/ภริยา หากไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆียะกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาขายฝากที่จำเลย(ภริยาผู้ร้องสอด)ทำไว้กับโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอด(สามีจำเลย)ต่อสู้ยืนยันว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและไม่ได้ให้สัตยาบันจึงบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อโจทก์กล่าวแก้แต่เพียงว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายดังนี้ประเด็นคงมีว่าผู้ร้องสอดกับจำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นไปถึงเรื่องภริยาร้างในระหว่างภริยาทำนิติกรรมขายฝากให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่
เมื่อภริยาทำนิติกรรมผูกพันสินบริคณห์โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีและสามีไม่ได้ให้สัตยาบัน สามีจึงบอกล้างนิติกรรมนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสระหว่างสามีภริยาที่แยกกันอยู่: ที่ดินที่ได้มาระหว่างร้างกันไม่ใช่สินสมรส
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ทรัพย์ที่ภริยาได้มาระหว่างร้างกันแม้ได้มาเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ก็ไม่เป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าจากการกระทำรุนแรงและเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
ชายหญิงเป็นสามีภริยากันมากว่า 20 ปี มีแต่เหตุระหองระแหงไม่ราบรื่นตลอดมาโดยหญิงทำร้าย ด่าขับไล่และใช้ปัสสาวะสาดชายแม้เหตุหย่าบางข้อ จะขาดอายุความ 3 เดือนก็ดีก็ยังสนับสนุนเหตุหย่าที่ยังไม่ขาดอายุความได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1509 วรรคสอง และเมื่อฟังได้ว่าหญิงทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากับชายอย่างร้ายแรงชายก็มีสิทธิฟ้องหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากับหญิงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาขณะสมรสเป็นสินสมรส แม้โอนให้ภริยาเดี่ยวๆ สามีมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้
ภรรยาได้ที่ดินมาโดยการยกให้ ในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากัน ที่ดินที่ได้มานั้นย่อมเป็นสินสมรสฉะนั้นแม้ที่ดินนั้น จะมีชื่อภริยาเป็นเจ้าของในโฉนดแต่ผู้เดียว ภริยาก็ไม่มีอำนาจเอาที่ดินนั้นไปทำนิติกรรมยกให้ผู้อื่น ถ้าขืนทำไป สามีย่อมมีสิทธิบอกล้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาที่ทำระหว่างสามีภริยาตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1461 ไม่จำกัดประเภทสัญญาและมีระยะเวลาฟ้องร้องได้ภายใน 1 ปีหลังการสิ้นสุดการสมรส
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1461 ระบุไว้ว่า สัญญาใดที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามรีภริยานั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
จะบอกล้างเสียก็ได้ กฎหมายระบุคำว่าสัญญาที่ทำกันไว้ลอย ๆ จึงย่อมมีความหมายว่า สัญญาใด ๆ ที่ทำไว้ต่อกันไม่ว่า
จะเป็นสัญญาที่จะต้องปฏิบัติกันต่อไปอีกหรือไม่ ก็ย่อมอยู่ในขอบข่ายที่จะบอกล้างได้ตามความในมาตรา 1461 ได้
ทั้งสิ้น.
และตามมาตรา 1461 นี้ ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาที่ทำไว้ต่อกันได้ในเวลาใด ๆ ในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันอยู่ หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากสามีภริยากัน ฉะนั้นแม้จะทำาสัญญา
ยกกรรมสิทธิที่ดินให้แก่กันเกิน 10 ปีแล้ว แต่มาบอกล้างสัญญานั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันหย่าขาดจาก
การเป็นสามีภริยากัน คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกล้างสัญญาที่ทำระหว่างสามีภริยา และข้อยกเว้นเรื่องอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1461 ระบุไว้ว่าสัญญาใดที่สามีภริยาทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยานั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียก็ได้กฎหมายระบุคำว่าสัญญาที่ทำกันไว้ลอยๆ จึงย่อมมีความหมายว่าสัญญาใดๆ ที่ทำไว้ต่อกันไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่จะต้องปฏิบัติกันต่อไปอีกหรือไม่ ก็ย่อมอยู่ในขอบข่ายที่จะบอกล้างได้ตามความในมาตรา 1461 ได้ทั้งสิ้น
และตามมาตรา 1461 นี้ ระบุให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกล้างสัญญาที่ทำไว้ต่อกันได้ในเวลาใดๆ ในระหว่างที่เป็นสามีภรรยากันอยู่หรือภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันขาดจากสามีภริยากันฉะนั้นแม้จะทำสัญญายกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันเกิน 10 ปีแล้ว แต่มาบอกล้างสัญญานั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน คดีก็ยังไม่ขาดอายุความ
of 24