คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 858 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าหลังสมรส: การโอนสิทธิและละเมิดสิทธิแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา33ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตามแต่เมื่อโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อส.สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลงการที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้วจึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรงแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์แห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2519 และการสืบสันดานรับมรดก
ห. กับ จ.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยต่างมีสินเดิมมาด้วยกันบุคคลทั้งสองได้ทรัพย์พิพาทมาในระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้ ห. ถึงแก่ความตายในปี2532เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ใหม่ประกาศใช้แล้วก็ตามการแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายได้2ส่วนหญิงได้1ส่วนจะแบ่งคนละส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดของคดีหย่าและแบ่งสินสมรสเมื่อคู่สมรสเสียชีวิตระหว่างการพิจารณาคดี
คดีฟ้องหย่าและแบ่งสินสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ตายก่อนคดีถึงที่สุดเนื่องจากมีการขอพิจารณาใหม่ ซึ่งมีผลให้การสมรสสิ้นสุดลงเสียก่อนที่คำพิพากษาให้หย่าและแบ่งสินสมรสจะถึงที่สุด จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไป ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินระหว่างการล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้เหนือการโอนสินสมรสหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้มาระหว่างสมรสของผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้ จึงเป็นสินสมรส การที่ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าว ผู้คัดค้านที่ 1 กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน การที่ผู้คัดค้านที่ 1 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วย เมื่อการโอนได้กระทำขึ้นภายหลังจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกอยู่แก่ผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22, 24 นิติกรรมการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้จึงฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับ ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนของลูกหนี้ได้ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 หรือไม่เพราะศาลมิได้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
คำว่าการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 นั้น หมายถึงการโอนหรือกระทำใด ๆ ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ หาใช่การโอนหรือการกระทำใด ๆ หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทที่ซื้อมาในระหว่างสมรส และการโอนให้คู่สมรสเป็นสินสมรส
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนด โจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: การโอนขายที่ดินที่ได้มาจากการประมูลระหว่างสมรส และผลของการโอนต่อ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์นำเงินที่ทำมาหาได้ในระหว่างสมรสซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล และใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว แต่จำเลยที่ 1 เกรงว่าจะมีปัญหาในการแบ่งที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์มีบุตรที่เกิดจากภริยาคนก่อนจึงขอลงชื่อในโฉนดโจทก์ยินยอมจึงได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกันมาจึงเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสเมื่อมีการขายทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม และสิทธิในการร้องกล่าวอ้างในคดีบังคับคดี
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยและจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้ว จำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท การที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทจึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย หาใช่จำเลยได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 แต่ประการเดียวไม่ผู้ร้องจึงชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทนจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปการที่ผู้ร้องร้องว่าโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการซื้อขายที่พิพาทไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้องและนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องเข้ามาในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7556/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรสและการบังคับคดี: การร้องกล่าวอ้างสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกขายโดยคู่สมรสโดยไม่ยินยอม
ในคดีเดิมศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำสัญญาขายที่พิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลย และจำเลยครอบครองยึดถือเพื่อตนแล้วจำเลยจึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท ดังนั้นการที่จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผลจากสัญญาซื้อขายที่โจทก์ตกลงขายและส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยนั่นเองการได้สิทธิครอบครองที่พิพาทของจำเลยย่อมเป็นการได้สิทธิมาตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้นผู้ร้องชอบที่จะกล่าวอ้างได้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ร้อง โจทก์ขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทให้โจทก์จดทะเบียนโอนแก่จำเลย หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน คดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกร้องเข้ามาในชั้นนี้ว่า โจทก์นำที่พิพาทซึ่ง เป็นสินสมรสไปขายให้แก่จำเลยโดยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาโจทก์มิได้ให้ความยินยอม เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นว่าการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ผูกพันที่พิพาทอันเป็นสินสมรสในส่วนของผู้ร้อง และนับได้ว่าเป็นสิทธิอื่น ๆ ที่ผู้ร้องอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย ซึ่งการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องกล่าวอ้างเข้ามาในคดีนี้ได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับคำร้องของผู้ร้องไว้ไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7536/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการสิ้นสุดการสมรสด้วยการเสียชีวิต และขอบเขตของสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อ น.ถึงแก่ความตาย การสมรสย่อมสิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 การคิดส่วนทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับจำเลย มีผลตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในข้อบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625สินสมรสของ น.กับจำเลยจึงแยกออกจากกันทันทีในวันที่น.ตาย สินสมรสครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของ น. ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1533 ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังจากแยกสินสมรสแล้วว่ายอมนำทรัพย์มรดกของ น. ชำระให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการรับมรดกในส่วนสินสมรสและทรัพย์มรดกของทายาทที่ไม่ชอบ
จำเลยไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของ ว. จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ว. และข้อความในบันทึกถ้อยคำการไม่รับมรดกตามเอกสารหมายจ.8 หรือ ล.2 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าไม่ประสงค์จะยกที่ดินและ ห้องแถวพิพาทที่เป็นส่วนสินสมรสของโจทก์ให้แก่จำเลย ที่ดินและห้องแถวพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสของโจทก์จึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย สำหรับมรดกในส่วนสินสมรสของ ว. ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 การที่จำเลยไปแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเป็นบุตรของ ว. และขอรับมรดกของ ว.เป็นการไม่ชอบโจทก์ในฐานะสามีของว.ซึ่งเป็นทายาทของ ว. ชอบที่จะขอให้เพิกถอนการรับมรดกที่ดินและห้องแถวพิพาทของจำเลยเสียได้
of 86