พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คตามกฎหมายเช็คคือวันที่ลงในเช็ค แม้ทำสัญญากู้ก่อน แต่หากเช็คตรงกับวันครบกำหนดหนี้ก็ถือเป็นวันออกเช็ค
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 วันออกเช็คย่อมหมายถึงวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ แม้จำเลยจะเขียนเช็คพิพาทก่อนที่ได้ทำสัญญากู้เงินแต่เมื่อวันที่ลงในเช็คตรงกับวันครบกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายหาใช่ขณะที่ออกเช็คพิพาทจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ แต่หนี้นั้นยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงลดหนี้กับการถอนฟ้อง, การยักยอกเงินค่าเบี้ยประกัน, และการกำหนดโทษ
จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและควบคุมตัวดำเนินคดีสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงเป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ร่วมยังติดใจหนี้อีกเพียง 381,699 บาท และจะถอนคำร้องทุกข์ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมแล้วไม่มีข้อความว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีต่อจำเลยในทันที การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ร่วมจนครบจึงถือเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ร่วมจึงไม่ถูกผูกพันที่ต้องถอนคำร้องทุกข์และถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในหนี้บางส่วน โดยยังติดใจในหนี้อีกเพียง 381,699 บาท การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยนำเงินมาชำระแก่โจทก์ร่วมเพียง 30,000 บาทจึงเหลือเงินจำนวน 351,699 บาท ที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า จำเลยทำผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีเหตุอันจำเป็นบังคับ จำเลยใช้เงินคืนโจทก์ร่วมบางส่วนแล้ว การรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จำเลยจะใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่เคยรู้สึกสำนึกผิด ทั้งจำเลยได้ยักยอกเงินค่าเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระให้แก่โจทก์ร่วมมีจำนวน 84 ราย เป็นเงินจำนวน 763,399 บาท โทษจำคุก6 เดือน จึงเหมาะสมและไม่มีเหตุรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้, อัตราดอกเบี้ย, เจตนาสละอายุความ: สิทธิของสถาบันการเงินในการคิดดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. และผลของการรับสภาพหนี้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้นความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 (2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามป.พ.พ.มาตรา 193/24
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 (2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาทจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19.5 ต่อปี ตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามป.พ.พ.มาตรา 193/24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้, การลดอัตราดอกเบี้ย, และการสละอายุความของหนี้
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีโจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้เท่านั้น แม้ว่าสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้ ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้นจำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนและให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 7 มีนาคม 2527 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาผูกพันจากการรับรองตั๋วแลกเงิน: อายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
ลูกหนี้ที่ 3 เป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินให้แก่บริษัท ซ.มีเจ้าหนี้เป็นผู้รับรองตั๋วแลกเงินตามคำขอของลูกหนี้ที่ 3โดยมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ต้องรับผิดใช้เงินตามตั๋วแลกเงินดังกล่าว ลูกหนี้ที่ 3 ยินยอมรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้จนครบพร้อมด้วยดอกเบี้ยต่อมาเจ้าหนี้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ.ตามจำนวนในตั๋วแลกเงิน แต่ลูกหนี้ที่ 3 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ดังนี้เมื่อคำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินให้แก่บริษัท ซ. ทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ที่ 3 ได้ออกตั๋วแลกเงิน จึงถือได้ว่าเป็นคำเสนอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ให้เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 3 รับผิดต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินในตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่าย อีกทั้งลูกหนี้ที่ 3 ยังเสนอ ให้สิทธิต่อเจ้าหนี้ยินยอมจะชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วนหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ที่ 3ยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ที่ 3 และยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่ 3 ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ที่ 3 ทราบล่วงหน้าอีกด้วยการที่เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ที่ 3ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ที่ 3 เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้ที่ 3 แล้ว เกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้อง อันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ที่ 3 ได้ตกลง ไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการรับรองตั๋วแลกเงิน: สัญญาผูกพันเกิดจากคำขอรับรองและเจตนาของเจ้าหนี้ ทำให้มีอายุความ 10 ปี
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และ วันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7 มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ. ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้ รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืน ตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย นอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใดๆที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงิน ไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝาก ของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับเจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัทซ. ตามที่ลูกหนี้ ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนอง ความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบ การขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรอง ตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่)คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องครอบคลุมเฉพาะประเด็นแห่งคดี การทำสัญญาเกี่ยวกับหนี้อื่นย่อมไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5325/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คคืนเนื่องจากผิดสัญญาซื้อขาย การบอกเลิกสัญญายังไม่ถึงที่สุด ไม่ทำให้หนี้ตามเช็คสิ้นผลผูกพัน
จำเลยและภริยาทำสัญญาซื้อขายที่ดิน พร้อมกิจการ รวมทั้งอุปกรณ์การผลิตและจำหน่ายทรายจากโจทก์ โดยชำระราคาด้วยเงินสดบางส่วน ส่วนที่เหลือชำระด้วยเช็คซึ่งมีเช็คพิพาทของจำเลยอยู่ด้วย โจทก์ได้โอนและมอบทรัพย์สินตามสัญญาดังกล่าวแก่จำเลยและภริยาแล้วตั้งแต่ก่อนเช็คพิพาทถึงกำหนดใช้เงิน แต่เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง แม้จำเลยยังมีข้อต่อสู้คดีอยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใดการบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด กรณีจึงแตกต่างจากการที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว จึงถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยออกให้แก่โจทก์เพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบบริษัทไม่ทำให้หนี้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้มีการควบบริษัท
การควบบริษัทจำกัดเข้ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1243 มีผลให้บริษัทใหม่ได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบเข้ากันเท่านั้น แต่การควบบริษัทจำกัดเข้ากันมิใช่เป็นเรื่องการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ทั้งการควบบริษัทจำกัดเข้ากัน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1240 ก็บัญญัติเฉพาะแต่เจ้าหนี้ของบริษัทเท่านั้นที่บริษัทจะต้องบอกกล่าวให้ทราบและให้โอกาสคัดค้านการควบบริษัท แต่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดบังคับว่าจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เป็นลูกหนี้ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4999/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด การซื้อขายคอนกรีต และการรับผิดชอบหนี้ แม้มิได้ระบุในฟ้อง โจทก์นำสืบได้
แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์ แต่การสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อเพื่อใช้ในการสร้างบ้านเรือนแถวให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 นำรายจ่ายค่าวัสดุนี้ไปหักจากบัญชีของจำเลยที่ 1 ดังนั้นจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จของโจทก์โดยตรงแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะเป็นผู้สั่งซื้อจากโจทก์ แต่ตามพฤติการณ์แล้วจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อจำเลยที่ 1 นั่นเอง จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะมิได้ กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน โจทก์ก็นำสืบในเรื่องนี้ได้เพราะ เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขาย กันอาจทำโดยตนเองหรือมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น