พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันผลหนังสือหย่าที่ทำไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนหย่าตามข้อตกลง
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขโฉนดเป็นหน้าที่ของผู้รับโอน
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็น เจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ความเสียหายต้องเกิดจากการทำงานในหน้าที่เท่านั้น
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5720/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดเฉพาะความเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ หากเกิดจากการกระทำส่วนตัว ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 เข้าทำงานเป็นพนักงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำงานในธนาคารแล้ว ภายหลังได้หลบหลีกหนีหายไป หรือได้ฉ้อโกง ยักยอก หรือทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย หรือสูญเสียทรัพย์สินไม่ว่าด้วยประการใด ๆจำเลยที่ 2 ตกลงชดใช้เงินให้แก่ธนาคาร" ตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าวนี้ย่อมหมายถึงความเสียหายที่โจทก์ได้รับอันเกิดจากการทำงานในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ดูแลความสงบและความปลอดภัยภายในธนาคาร ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงให้ลูกค้าของโจทก์ลงชื่อในใบถอนเงินและเป็นผู้ถอนเงินไป ก็เป็นการกระทำส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เอง ไม่ใช่การกระทำในตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน หากขัดแย้งจนจัดการมรดกไม่ได้ จึงขอให้ศาลชี้ขาดได้ ธนาคารไม่เกี่ยวข้อง
การที่จะขอให้ศาลชี้ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1726 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันแล้วมีความเห็นแตกต่างกันจนไม่สามารถจัดการมรดกได้ และเกิดมีเสียงเท่ากัน การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันละเลยเพิกเฉยไม่ยอมเข้าปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับผู้ร้องในอันที่จะจัดการมรดกนั้น มิใช่เป็นกรณีที่จะมาขอให้ศาลชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ผู้จัดการมรดกจะมาร้องขอให้ศาลออกคำสั่งเรียกให้ธนาคารส่งและแจ้งบัญชีเงินฝากรวมทั้งหลักฐานการเบิกถอนและสรรพเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตายหรือของผู้คัดค้านต่อศาลเพื่อให้ตนตรวจสอบหาได้ไม่ เป็นเรื่องที่ผู้จัดมรดกจะต้องดำเนินการเองตามสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งต้องพิจารณาจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่หน้าที่ควบคุมดูแล
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาในทางแพ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 อันได้แก่การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการปฏิบัติหน้าที่แล้วโดยมิได้ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ การที่ อ. กระทำการทุจริตรับเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวได้เป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่ 4 รู้แล้วว่าจำเลยที่ 4 จ่ายเงินโดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แต่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยที่ 4 กระทำเช่นนั้นจึงต้องร่วมรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้จ่ายด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับรถยนต์ของลูกจ้างนอกเหนือหน้าที่ ไม่ถือเป็นการขับรถในทางการจ้างของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
อ. ลูกจ้างจำเลยตำแหน่งสัตวบาล มีหน้าที่ดูแลสุกรขุน ไม่มีหน้าที่ขับรถยนต์ หลังจากเลิกงาน อ. ได้ขอยืมรถยนต์จากผู้จัดการของจำเลยขับไปรับประทานอาหารข้างนอกฟารม์ของจำเลย จึงเป็นเรื่องส่วนตัวของ อ. แม้ว่าผู้จัดการของจำเลยจะรู้เห็นยินยอมให้นำรถไปใช้ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขับรถไปในทางการที่จ้าง เมื่อ อ.ขับรถไปเกิดเหตุชนกันขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอนส่วนต่อเติมผิดแบบ แม้ไม่มีส่วนรู้เห็นในการก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเจ้าพนักงานมีคำสั่งให้รื้อถอน จำเลยที่ 2 เพิกเฉย ต่อมาจำเลยที่ 1 รับโอนอาคารพิพาทมา แม้จำเลยที่ 1 จะไม่รู้เห็นในการต่อเติมอาคารดังกล่าว แต่เมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์มีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ยอมรื้อถอน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีขอให้บังคับให้จำเลยที่ 1 รื้อถอนอาคารพิพาทได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประสบอันตรายจากการทำงานในขบวนรถไฟ: การคุ้มครองแรงงาน
ผู้ตายมีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมในขบวนรถไฟ โดยผู้ตายจะต้องเดิน ทางไปกับขบวนรถไฟด้วย การที่ให้ผู้ตายพักผ่อนหลังจากทำงานตั้งแต่เวลา 23 นาฬิกา จนถึงเวลา 4.30 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นก็เพื่อให้ผู้ตายได้มีเวลาพักผ่อนหลับนอนแล้วจะได้เริ่มปฏิบัติงานต่อจนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ตายที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟนั้นเพื่อเริ่มปฏิบัติงานต่อไป ดังนั้น การที่ผู้ตายปิดประตูรถแล้วพลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่ผู้ตายพักผ่อนหลังจากที่ได้ ทำงานมาแล้ว จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2