พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนด้วยการอ้างความศักดิ์สิทธิ์ของเด็กและหลอกลวงให้หลงเชื่อในน้ำมนต์เพื่อหวังผลประโยชน์
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่าเด็กชาย ว. บุตรของตน เทพให้มาเกิดได้รับยกย่อง ว่าเป็นอาจารย์น้อย เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ รักษาโรคต่าง ๆได้ประชาชนที่ไปรับการรักษาต้องนำเงิน 12 บาทพร้อมด้วยดอกไม้ธูป เทียนใส่จานไปยื่นให้จำเลย โดยนำไปวางไว้ที่ขันน้ำจำนวน 6 ใบแล้วจำเลยที่ 1 จะจุดเทียนหยด น้ำตา เทียนในขันและบอกว่าน้ำดังกล่าวเป็นน้ำมนต์ใช้รักษาโรคได้ ซึ่งมีจำเลยที่ 2 คอยช่วย ตัก น้ำเพื่อใช้ทำน้ำมนต์ จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้หยิบเอาดอกไม้ธูป เทียนและเงิน 12 บาทไป การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่สายตา ประชาชนและเป็นการร่วมกันโดยทุจริตโดยกระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง มีความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 343.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงมีสิทธิฟ้องร้องได้
จำเลยหลอกลวงภริยาว่า มีงานให้สามีทำที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย ภริยาหลงเชื่อจึงจ่ายเงินตามจำนวนที่จำเลยเรียกร้องให้แก่จำเลยไป ดังนี้ ภริยาเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลย ภริยาจึงมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสำคัญกว่าจำนวนผู้เสียหาย ในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
การกระทำใดเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่มิได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนเป็นข้อสำคัญ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4054/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงหลายกรรมต่างกัน การกระทำแต่ละครั้งเป็นความผิดสำเร็จ
คดีฉ้อโกงโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในการหลอกลวงบริษัทผู้เสียหายและได้รับสินค้าจากผู้เสียหายไปในแต่ละวันหรือแต่ละครั้งรวม 48 ครั้งไว้ชัดแจ้ง จำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อผู้เสียหายส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยโดยหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยแต่ละครั้งไป จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงฐานฉ้อโกงประชาชน แต่พิพากษาจำเลยมีความผิดฐานหลอกลวง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา341,343,83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม มาตรา341,83,91 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องดังนี้เมื่อความผิดตามมาตรา 343 ฐานฉ้อโกงประชาชน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง: ผู้เสียหายต้องถูกกระทำโดยตรง, ความเสียหายเกิดจากการหลอกลวง ไม่ใช่การจ่ายเงินตามสัญญา
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยนำบัตรเครดิต (บัตรวีซ่า) ที่โจทก์ออกให้และห้ามจำเลยใช้ ไปใช้ต่อสถานที่รับบริการบัตรเครดิตโดยปกปิดความจริงที่ควรจะต้องแจ้งว่าจำเลยไม่มีสิทธิจะใช้บัตรเครดิตดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินแก่สถานบริการนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินไปเพราะการปกปิดข้อความจริงต่อเจ้าของสถานบริการ ทรัพย์สินที่จำเลยได้ไปก็มิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์
การที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่สถานที่รับบริการการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยซื้อสินค้าหรือใช้บริการแทนจำเลยตามสัญญาที่โจทก์มีกับสถานที่รับบริการบัตรเครดิต เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับในทางแพ่งไม่ใช่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยหลอกลวงหรือปกปิดไม่แจ้งความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานบริการนั้น ๆ กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ แม้โจทก์จะต้องจ่ายเงินให้แก่สถานบริการ ก็ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2 (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่จำเลยนำบัตรเครดิต (บัตรวีซ่า) ที่โจทก์ออกให้และห้ามจำเลยใช้ ไปใช้ต่อสถานที่รับบริการบัตรเครดิตโดยปกปิดความจริงที่ควรจะต้องแจ้งว่าจำเลยไม่มีสิทธิจะใช้บัตรเครดิตดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินแก่สถานบริการนั้น จำเลยได้ทรัพย์สินไปเพราะการปกปิดข้อความจริงต่อเจ้าของสถานบริการ ทรัพย์สินที่จำเลยได้ไปก็มิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์
การที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่สถานที่รับบริการการใช้บัตรเครดิตที่จำเลยซื้อสินค้าหรือใช้บริการแทนจำเลยตามสัญญาที่โจทก์มีกับสถานที่รับบริการบัตรเครดิต เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับในทางแพ่งไม่ใช่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจากการที่จำเลยหลอกลวงหรือปกปิดไม่แจ้งความจริงการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยตรงต่อสถานบริการนั้น ๆ กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อโจทก์ แม้โจทก์จะต้องจ่ายเงินให้แก่สถานบริการ ก็ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายตามมาตรา 2 (4) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดส่งไปทำงานต่างประเทศ
ผู้เสียหายมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายกับนายว.ไปทำงานต่างประเทศได้ตามที่กล่าวอ้างเมื่อจำเลยไม่สามารถจัดส่งไปทำงานตามที่กล่าวอ้างได้ผู้เสียหายขอเงินคืนจำเลยกลับปฏิเสธว่าไม่เคยรับเงินจากผู้เสียหายเช่นนี้กรณีถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้เสียทรัพย์สิน แม้จ่ายเงินคราวเดียวกัน ก็ถือเป็นความผิดหลายกรรม
จำเลยพูดชักชวนหลอกลวง จ.และ ส.คนละคราว แม้จะได้จ่ายเงินค่าบริการของแต่ละคนให้จำเลยไปคราวเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้เสียทรัพย์ ผู้กระทำผิดหลายกรรม
จำเลยพูดชักชวนหลอกลวงจ.และส.คนละคราวแม้จะได้จ่ายเงินค่าบริการของแต่ละคนให้จำเลยไปคราวเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงเพื่อยึดโฉนดที่ดินและการโกงเจ้าหนี้ ต้องมีเจตนาทุจริตและองค์ประกอบความผิดครบถ้วน จึงจะมีความผิด
มารดาจำเลยที่ 1 เคยกู้ยืมเงินโจทก์ และมอบโฉนดที่ดินให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หลังจากมารดาจำเลยถึงแก่กรรมแล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ยอมชำระหนี้แทนมารดาโดยจะโอนที่ดินให้โจทก์ทั้งแปลงต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอยืมโฉนดดังกล่าวจากโจทก์อ้างว่าจะนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอรับมรดก และเจ้าพนักงานที่ดินได้ขอโฉนดดังกล่าวไว้เพื่อประกาศรับมรดกให้ครบ 60 วันเสียก่อน ซึ่งความจริงได้มีการประกาศเพื่อรับมรดกมาก่อนและครบกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดินก็คืนโฉนดให้ในวันนั้นเอง แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองเฉพาะส่วนของตนกับบุคคลอื่น ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้เอาโฉนดที่ดินมาเพื่อใช้รับมรดกอย่างเดียวตามที่บอกกล่าวไว้ในตอนขอรับเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์ แต่โจทก์ก็มอบให้ด้วยความสมัครใจของตนเองเพราะประสงค์จะให้จำเลยที่ 1 รับมรดกที่ดินนั้นแล้วโอนให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ หากจำเลยทั้งสองจะได้หลอกลวงโจทก์ในเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินยึดโฉนดที่ดินไว้เพื่อประกาศรับมรดก 60 วันจริง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะไม่ส่งโฉนดที่ดินคืนโจทก์เท่านั้น หาใช่เป็นการหลอกลวงเพื่อเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์ไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341.
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยได้กระทำการโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม มาตรา 350
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยได้กระทำการโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม มาตรา 350